6 วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก

พอลูก ๆ เริ่มโตขึ้นและมีความคิดเป็นของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเจอกับอาการเริ่มดื้อของลูก ซึ่งจริง ๆ แล้วพฤติกรรม “ดื้อ” เป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก ๆ แต่ถ้าลูกเข้าข่ายดื้อต่อต้านแบบมีอารมณ์ฉุนเฉียวเกรี้ยวกราดที่รุนแรง โมโหง่าย ชอบเถียงพ่อแม่เป็นประจำ พฤติกรรมนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น โรคดื้อและต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder) หรือที่เรียกว่า โอดีดี (ODD)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้ให้นิยามโรคดื้อและต่อต้านนี้ว่า “เป็นรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องจากการไม่เชื่อฟัง และแสดงออกด้วยอารมณ์โกรธเป็นหลัก รวมถึงดื้อต่อต้านกับพ่อแม่เป็นประจำในระดับที่มากเกินกว่าเด็กปกติทั่วไป สังเกตจากภายนอกง่าย ๆ คือเด็กจะแสดงอาการดื้อและโกรธง่าย” ซึ่งอาการนี้มักจะพบในเด็กที่อายุ 8 ปีขึ้นไป เด็กที่มีภาวะโรคดื้อต่อต้านเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า

เด็กที่เข้าข่ายภาวะโรคดื้อและต่อต้านอาจมีอาการ

  • ปฏิเสธที่จะทำตามคำสั่งพ่อแม่หรือตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่โรงเรียน
  • มีความอดทนต่ำ โมโหง่าย ขี้หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย ก้าวร้าว และมีอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • ชอบเถียงพ่อแม่หรือคนที่โตกว่า
  • ตั้งใจก่อกวน แสดงพฤติกรรมเพื่อให้คนอื่นเกิดความรำคาญ และมักจะรู้สึกรำคาญในการกระทำของคนอื่นได้ง่ายเช่นกัน
  • ไม่ยอมรับผิด และกล่าวโทษคนอื่นในการกระทำผิดของตัวเองแทน

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นโรคดื้อและต่อต้าน

อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทางร่างกาย เช่น มีความผิดปกติของปริมาณสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทบางชนิดที่อยู่ในปริมาณที่ไม่สมดุลหรือไม่ทำงานตามปกติ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านจิตใจ

หากพบว่าลูกมีอาการเหล่านี้ต่อเนื่องกันนานกว่า 6 เดือน อาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวหรือที่โรงเรียน และส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกทำให้กลายเป็นเด็กที่มองโลกในแง่ร้าย และขาดความมั่นใจในตนเองได้ นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านบ่อยครั้งอาจมีปัญหาทางจิตและพฤติกรรมร่วมด้วย อาทิเช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit/hyperactivity disorder) วิตกกังวล (Anxiety) ซึมเศร้า (Depression) เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงดูลูกด้วยวิธีการที่เหมาะสม จึงเป็นการเตรียมรับมือและป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้านเกิดขึ้น

วิธีรับมือเมื่อเจอ "โรคดื้อและต่อต้าน" ของลูก

1.พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในสิ่งที่ต้องการให้ลูกปฏิบัติตาม

2.หลีกเลี่ยงการใช้วิธีออกคำสั่งกับลูกมากเกินไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3.ควรหากิจกรรมทำร่วมกับลูกทุกสัปดาห์ เพื่อใช้เวลาอยู่ด้วยกันกับลูก และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัว

4.กำหนดกิจกรรมหรือสร้างกิจวัตรประจำวันให้ลูกทำ เช่น การมอบหมายให้ลูกได้ทำงานบ้าน เริ่มจากงานง่าย ๆ ที่ลูกสามารถทำได้ และเพิ่มยากขึ้นตามลำดับที่เหมาะสมกับวัย

5.สร้างกติกา ข้อกำหนดที่เหมาะสม และบทลงโทษอย่างชัดเจนและมีเหตุผลเมื่อลูกทำผิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูกด้วยการชมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ภูมิใจที่ลูกรู้จักเก็บของด้วยตัวเอง หรือช่วยแม่ทำงานบ้านโดยไม่ต้องร้องขอ

วิธีเหล่านี้เป็นการช่วยแก้ปัญหาเบื้องต้นได้อีกทางหนึ่งหากพบว่าลูกมีภาวะโรคดื้อและต่อต้าน ซึ่งในระยะแรกอาจพบว่าลูกยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เต็มใจ แถมยังมีพฤติกรรมรุนแรงต่อการมีข้อจำกัดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น แต่หากพ่อแม่ควรมีความอดทนและใช้ความพยายามอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรับมือและเข้าอกเข้าใจลูก ยังไงลูกก็มีโอกาสที่จะดื้อน้อยลง และมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เป็นเด็กน่ารักที่มีสัมพันธ์กับคนในครอบครัวและคนรอบข้างอย่างดีขึ้นได้.

Source www.taamkru.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกเป็นโรคเสพติดอาหารอยู่หรือเปล่า
“โรคมารยาททางสังคมบกพร่อง” ระบาดหนัก ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น

บทความโดย

Napatsakorn .R