แจกทริค ตารางอ่านหนังสือ เพื่อพัฒนาการที่ดี อ่านครบทุกวิชาทันสอบแน่นอน !! แถมช่วยฝึกนิสัยรักการอ่านให้ลูก มาเตรียมความพร้อมกัน ตัวช่วยดี ๆ ที่จะทำให้ทุกคนหมดกังวลเรื่องอ่านหนังสือไม่ทัน และช่วยจัดระเบียบชีวิตได้ เหมาะมาก ๆ สำหรับเด็ก ๆ ในวัยเรียนมัธยม เพราะมีวิชาที่ต้องเรียนและสอบเพิ่มขึ้นตามลำดับ ลองดูเทคนิคการจัดตารางเป็นแนวทางปรับใช้ได้ให้เหมาะกับตนเอง สำหรับใครที่เตรียมสอบกลางภาค ปลายภาค หรือการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาดูกันเลยดีกว่า
เทคนิคการจัด ตารางอ่านหนังสือ
- จดรายการสิ่งที่ต้องทำ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกเพื่อให้ตนเองทราบถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ หรือสิ่งสำคัญที่ต้องทำในอนาคต จะได้วางแผนปฏิบัติตามให้ครบ และเพื่อให้ทราบถึงเวลาที่เหลือในการอ่านทบทวนบทเรียน เช่น มีการบ้านวิชาอะไรบ้างที่ต้องทำ เรียนพิเศษกี่โมง งานกลุ่มต่าง ๆ เหลือกี่บทเรียนที่ต้องอ่านเพื่อเตรียมสอบ
- นับถอยหลังวันก่อนสอบ สำรวจช่วงเวลาที่เหลือก่อนสอบ เพราะนี่คือปัจจัยสำคัญในการคำนวณเวลาของตารางอ่านหนังสือ หากเป็นการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย ควรเริ่มเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า 1 ปีก่อนสอบเพื่อคุณภาพที่ดี สามารถอ่านหนังสือได้ครอบคลุมทุกเนื้อหาวิชาที่ใช้สอบ
- 1 ปีก่อนสอบ ในช่วงนี้เรายังไม่กดดันมาก แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องมีความขยันและความสม่ำเสมอของการอ่านหนังสือ สามารถแบ่งเวลาอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนวันละ 1-2 วิชา อ่านวันละ 3-4 ชั่วโมง โดยสามารถแบ่งเป็นอ่าน 1 ชั่วโมงแล้วพักได้หากรู้สึกเหนื่อยล้า และควรทำแบบฝึกหัดควบคู่ไปด้วย
- 5 เดือนก่อนสอบ หาจุดบกพร่องของตัวเองว่ามีบทเรียนไหนที่ไม่เข้าใจ จะได้หาวิธีแก้ไขได้ทันเวลา หรือปรับเทคนิคการอ่านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น , จดบันทึก Short Note , เน้นทำข้อสอบเก่า ๆ และจับเวลา
- 1 เดือนก่อนสอบ เน้นทำข้อสอบและจับเวลาในทุก ๆ วัน และพยายามอ่านหนังสือให้ได้บ่อยที่สุด
- 1 อาทิตย์ก่อนสอบ อ่านทบทวน Short Note พกผ่อนให้เพียงพอ
- จัดลำดับความสำคัญ หากต้องเตรียมอ่านหนังสือสอบแต่ยังคงต้องเรียนและมีงานหรือการบ้านที่ยังต้องทำ ควรเลือกลำดับความสำคัญและความเร่งรีบของงานต่าง ๆ โดยเลือกสิ่งที่ต้องทำก่อนจากความเร่งรีบ ถ้าเป็นงานด่วนและสำคัญให้ทำก่อน
- ดูอัตราส่วนคะแนนของแต่ละวิชา เพราะแต่ละการสอบไม่ว่าจะเป็นการวัดระดับในโรงเรียน หรือการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยก็มีอัตราส่วนคะแนนของแต่ละวิชาที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคณะ หรือแผนการเรียนของบุคคล จึงควรโฟกัสวิชาที่ใช้อัตราส่วนคะแนนมากเป็นสำคัญ ให้เวลาทบทวนกับสิ่งนั้นมาก ๆ
- ปฏิบัติตามได้จริง ควรจัดตารางที่ตนเองสามารถปฏิบัติตามได้จริง ไม่หักโหมหรือฝืนธรรมชาติของตัวเองเกินไป ในเด็กวัยเรียนควรแบ่งเวลาพักผ่อนและรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ ควรจัดตารางอ่านหนังสือที่ไม่หักโหมเกินไป อาจจะอ่านวันละ 3-4 ชั่วโมงหลังจากทำการบ้าน หรืองานอื่น ๆ แล้ว
- ความสม่ำเสมอ เนื่องจากถ้าหักโหมอ่านหนังสือมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า แต่ถ้าอ่านหนังสือน้อยเกินไปก็ทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาที่จะสอบ ดังนั้นควรมีวินัย อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ วันเป็นทางออกที่ดี ค่อย ๆ สะสมเพิ่มพูนความรู้ในทุกวัน
- อ่านให้ถูกเวลา เช่นวิชาที่จดมีเนื้อหาที่ต้องท่องจำรายละเอียดเยอะ ๆ พยายามอ่านทันทีให้เร็วที่สุด และจดบันทึก Short Note เรียบเรียงให้ตัวเองเข้าใจมากยิ่งขึ้น ส่วนวิชาที่เน้นการท่องศัพท์จำพวกภาษา ควรเริ่มจากทำการบ้าน แบบฝึกหัดให้เสร็จก่อนแล้วหาเวลาว่างช่วงเช้าระหว่างไปเรียนท่องศัพท์จะช่วยให้จดจำง่าย
- สลับวิชาอ่าน โดยสลับอ่านหนังสือวิชาคำนวณกับวิชาท่องจำ เพื่อหลากหลายไม่น่าเบื่อ และช่วยให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานไม่หนักเกินไป
วิชาคำนวณ | วิชาท่องจำ |
คณิตศาสตร์ | ภาษาไทย & อังกฤษ |
เคมี | สังคม |
ฟิสิกส์ | ชีวะ |
บทความที่น่าสนใจ : อ่านหนังสือสอบ อย่างไร ไม่ให้หมดไฟ ขยันและรู้สึกอยากอ่านอยู่เสมอ
ประโยชน์ของการจัดตารางอ่านหนังสือ
- ช่วยให้รู้จักบริหารจัดการเวลาได้อย่างเป็นระบบ แบ่งเวลาเป็น
- ใช้สรรพยากรเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้อย่างครบถ้วนทุกบทเรียนในแต่ละวิชา
เทคนิคช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือ
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก และหลับสนิทวันละ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีสาร Omega 3 ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท
- หาเวลาว่างออกกำลังกาย เพื่อลดความเครียดจากการอ่านหนังสือ และช่วยคลายกล้ามเนื้อที่นั่งอ่านหนังสือเป็นเวลานาน
- หากมีการฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือ ควรเลือกเป็นเพลงบรรเลง เพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง เพื่อให้มีสมาธิกับการอ่านหนังสือ
- ใช้สีสันช่วยในการจดจำบทเรียน จะช่วยให้จดง่าย ไม่ง่วงนอนอีกด้วย
- จดจำเป็นรูปภาพ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและจำง่ายกว่า
- อยู่ในสถานที่อากาศถ่ายเทได้ดี มีแสงสว่างเพียงพอต่อการอ่านหนังสือ และไม่มีเสียงรบกวน เพราะจะเป็นอุปสรรคสำหรับการอ่านหนังสือ
- หากรู้สึกง่วง เหนื่อยล้าให้นอนพักเป็นเวลา 10-20 นาที จะช่วยให้รู้สึกสดชื่นมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรนอนนาน 30 นาทีเพราะจะทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดชื่น
รวมเพลงอ่านหนังสือ เรียนออนไลน์
วิดีโอจาก Youtube : THE STANDARD PODCAST
บทความที่น่าสนใจ :
ห้องอ่านหนังสือสำหรับเด็ก เป็นยังไง? ห้องสวยๆ ที่ไม่ควรพลาด
เคล็ดลับการอ่านหนังสือก่อนสอบให้จำได้ภายใน 1 วัน
สอนลูกอ่านหนังสือ วิธีฝึกให้ลูกรักการอ่าน ตั้งแต่ยังเป็นทารก
ที่มาข้อมูล : 1 , trueplookpanya