การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น เทคนิคดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้ วัยรุ่นเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่
วัยรุ่น เด็กวัยรุ่น
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้คือ เด็กที่มีอายุในช่วงระหว่าง 10 -19 ปี วัยรุ่น แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่
วัยรุ่นตอนต้น ช่วงอายุ 10 -13 ปี
วัยรุ่นตอนกลาง ช่วงอายุ 14 – 16 ปี
วัยรุ่นตอนปลาย ช่วงอายุ 17 -19 ปี
แต่ปัจจุบันนี้ตัวเลขที่กล่าวมาอาจจะคลาดเคลื่อนไปในทางปฏิบัติเพราะเดี๋ยวนี้เราจะรู้สึกว่าแม้ต่ลูกอายุ 8 – 9 ปีก็เริ่มโต (กว่าวัย)
จนดูเหมือนจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นแล้วสำหรับบางบ้าน เพราะทุกวันนี้พฤติกรรมเลียนแบบดารา นักร้อง เข้าถึงได้ง่าบแทบทุกบ้าน อินเอตร์
เน็ตเชื่อมโยงไปทุกที่ ทำให้เกิดการเลียนแบบ แบบว่าหนู / ผมชอบ แต่เด็กจะยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี / ไม่ดี ถูกต้อง/
ไม่ถูกต้อง
เด็กวัยรุ่นหรือเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านพร้อม ๆ กัน อยู่ในช่วงก้ำกึ่งระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ ต้องการ
ค้นหาตนเอง เริ่มมีกลุ่มเพื่อนที่รักและชอบ สนใจในสิ่งที่เหมือน ๆ กับตน และช่วงนี้ทำให้ลูกเริ่มออกห่างพ่อแม่ โดยเฉพาะหากพ่อ
แม่เลี้ยงดูแบบผลักไสลูกให้ห่างอก แบบนี้ยิ่งก่อให้เกิดปัญหา มาดูกันค่ะว่า การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น
เทคนิค การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น
เมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น เด็กวัยรุ่น อายุประมาณ 10 ปีขึ้นไป พ่อแม่ต้องยอมรับนะคะว่าลูกไม่ใช่เด็กน้อยที่เราจะต้องดูแลแบบประคบประหงมใกล้ชิดแบบลูกยังเป็นเด็กเล็กอีกแล้ว แต่ไม่ได้หมายถึงให้เลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยลูกนะคะ
การเลี้ยงลูกวัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มปรับตัวนะคะ เพราะลูกที่เคยเป็นเด็กน่ารักช่างเอาอกเอาใจ กอดหอมเล่นกันกับพ่อแม่แบบช่วงวัยเด็ก แต่ลูกจะเริ่มมีพฤติกรรมดื้อรั้น เริ่มเอาแต่ใจตัวเอง ไม่ใช่ลูกเป็นเด็กไม่ดีนะคะแต่เป็นพัฒนาการของช่วงวัย เริ่มอยากเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น แน่นอนว่าทำให้พ่อแม่อดห่วงไม่ได้ว่าลูกจะเติบโตไปอย่างไร
ความห่วงใย ผสมผสานกับความกังวลใจด้วยความรัก และความหวังดีที่พ่อแม่มีต่อลูกนั้นยิ่งทำให้พยายามเข้าไปสอดส่องลูก
และพยายามออกกฎเกณฑ์บังคับลูกที่กำลังเป็นวัยรุ่นเรื่องเลยยิ่งแย่กันไปใหญ่ หากทำแบบนี้อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพ่อแม่กับลูกให้ห่างไกล ปัญหาเล็ก ๆ อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ แล้วจะเลี้ยงอย่างไรเป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจแล้วใช่ไหมคะ มาดูกันค่ะว่า มีเทคนิคในการเลี้ยงลูกอย่างไรให้ชนะใจลูกวัยรุ่น
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้
1.อย่าแทรกแซง
คณพ่อคุณแม่ลองเช็คตนเองดูนะคะเรากำลังเลี้ยงลูกแบบเราเป็นพ่อแม่หรือเลี้ยงแบบเราต้อง QC ดูแลตรวจเช็คลูกไปทุกเรื่องอยู่หรือเปล่า หากเรากำลังพยายามควบคุม (หรือ “สั่ง”) ลูกวัยรุ่นมากเกินไปหรือไม่ พยายามเข้าไปรับรู้เรื่องต่างๆ ของลูกมากเกินไปหรือไม่ เราพยายามมีบทบาทในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของลูกวัยรุ่นมากเกินไปหรือไม่
เราสามารถยอมรับ และยอมให้มีความเห็นหรือการตัดสินใจที่แตกต่างไปจากมุมมองของพ่อแม่ได้หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกวัยรุ่นของคุณกำลังเผชิญอยู่ในการเรียนรู้ ที่จะเป็นตัวของตัวเองและเริ่ม “เป็นผู้ใหญ่”
2.เวลาคุณภาพ
คำว่า เวลาคุณภาพ Quality time ขอบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวจริง ๆนะคะ เพราะเวลาคณภาพแม้ช่วงเวลาน้อยนิดแต่สามารถสร้างความั่นทางจิตใจให้กับลูกได้ ช่วยเสริมสร้างความความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อ แม่ และลูก เวลาคุณภาพไม่ได้จำกัดว่าจะต้องมีกี่ชั่วโมงต่อวัน หรือกี่วันต่อสัปดาห์ แต่ยิ่งมีมากเท่าไหร่ โอกาสที่ครอบครัวจะได้แบ่งปันสิ่งดีๆร่วมกันก็มีมากขึ้นเท่านั้น
เวลาคุณภาพเราสร้างได้อย่างไร
1.ง่ายที่สุด คือ รับประทานอาหารร่วมกัน ช่วยกันจัดเตรียมพุดคุย หยอกล้อ แบ่งปันสิ่งดี ๆ เป็นช่วงเวลาสั้นๆที่มีค่าทั้งสุขใจ สุขกายและอิ่มท้อง
2.โทรหากันแสดงความห่วงใยกัน แต่ไม่ใช่การโทรเช็คนะคะ แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะแอบห่วงก็ตาม แต่อย่าโทรบ่อยจนทำให้ลูกรู้สึกอึดอัดใจ น้ำเสียงแสดงความห่วงใย ถามไถ่ ใช้คำพูดที่ฟังแล้วคนผู้พูดผู้ฟังสบายใจทั้งสองฝ่าย ดูแลตัวเองดีๆนะลูก พ่อแม่รักลูกนะ เดี๋ยวเจอกันนะลูก
3.วางแผนทำกิจกรรมสนุก ๆ ร่วมกันให้ลูกได้แสดงความคิดเห้นไม่ใช่เกิดจากความต้องการของพ่แม่เท่านั้น คือ ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วมในตัดสินใจและลงมือทำด้วยกัน เช่น
ลูก ๆ เป็นคนเลือกสถานที่ ๆ จะไป คุณพ่อคุณแม่ช่วยคิดหาที่พัก คุณแม่เลือกร้านอาหาร คุณพ่อเป็นคนจองตั๋วสำหรับเดินทาง เพียงแค่คิดก็สนุกแล้วค่ะ
4.หางานอดิเรกทำร่วมกัน เช่น ช่วยกันทำปลูกต้นไม้ ตัดแต่งกิ่งไม้ในสวน ช่วยกันทำอาหาร ทำขนม เริ่มตั้งแต่การไปเลือกซื้อวัตถุดิบที่ตลาดหรือห้างสรรพสินค้า เ่อมาทำอาาหรทำขนมอร่อยๆ รับประทานกัน
3.เอาใจ “ลูก” มาใส่ใจ “เรา”
บางครั้งวัยรุ่น ก็จะยังทำท่าฮึดฮัดไม่ยอมฟังพ่อแม่ ขอให้ใช้ความใจเย็น และดูจังหวะ ที่จะพูดเรื่องเหล่านี้กับเขา ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่หนักแน่นพอและไม่ได้ไปชวนทะเลาะด้วย ก็จะทำให้ลูกได้ เรียนรู้พฤตกรรมใจเย็น รู้จักข่มใจจากคณพ่อคุณแม่ไปในตัว ไม่ปะทะกันด้วยอารมณ์ เรียกว่าสอนลูกด้วยการกระทำของพ่อแม่เอง ในทางกลับกัน คุณเองก็ควรรับฟัง มุมมอง และแง่คิดของเขาดูบ้าง พยายามเปิดใจให้กว้าง จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้จักลูกของคุณเองได้ดีขึ้น
4. ทำความรู้จักเพื่อน ๆ ของลูก
ถ้าเป็นไปได้ ควรรู้จักกับคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนลูกด้วย จะช่วยให้คุณแลกเปลี่ยนความเห็น และช่วยเหลือกันได้
5.ให้ความเคารพ
ความหมายในที่ดี คือ ให้ความเป็นส่วนตัว และสิทธิของลูกวัยรุ่นอย่าอ้างเพราะความเป็น “พ่อแม่” นะคะ ควรจะให้เขามีความเป็น
ส่วนตัว และไม่เข้าไปก้าวก่ายลูกในทุกเรื่อง เช่น ไม่ควรจะไปค้นห้องนอนหรือโต๊ะส่วนตัวของลูก หรือแอบอ่านบันทึก อ่านไลน์
ของลูก เพราะถ้าลู็กรู้จะทำให้ลูกโกรธและรู้สึกไม่ไว้ใจพ่อแม่ จนอาจจะไม่ยอมรับฟังอะไรจากเราอีก ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่จะ
คอยสอดส่องลูก ก็ทำได้แต่ควรให้ความเคารพในความเป็นส่วนตัวของเขาด้วย ควรบอกลูกเพื่อขออนุญาต แม้ว่าเราจะเป็นพ่อแม่
แต่การกระทำเช่นนี้เท่ากับการปลูกฝังให้ลูกรู้จักเคารพสิทธิของคนอื่นต่อไปนะคะ เป้นผลดีต่อลูกจริง ๆ ค่ะ
6.กฎเกณฑ์ ที่ไม่ดูเหมือน กฎหมาย
บางครั้งกฎเกณฑ์หากมีมากเกินไปก็จะทำให้อึดอัดใจ สิ่งสำคัญการตั้งกฎเกณฑ์ควรเห้นพร้อมกันทั้งพ่อแม่และล฿กนะคะไม่ใช่เกิด
จากพ่อแม่แต่ลูกไม่ได้ยอมรับหรือเห็นด้วย แน่นอนว่า หากเป็นเช่นนี้เกิดการต่อต้านแน่นอน กฎเกณฑ์ต้องยืดหยุ่นปรับให้เหมาะสม
กับลูกและสามารถปฏิบัติได้ไม่เข้มงวดจนเกินไป เช่น จะให้ลูกวัยรุ่นเข้านอนแต่หัวค่ำ หรือ จะห้ามไม่ให้ดูทีวีเลย หรือ
ห้ามใช้โทรศัพท์คุยกับเพื่อนนั้น แน่นอนว่า ลูกจะไม่รับฟังหรือไม่ยอมปฏิบัติตาม แบบนี้ต้องผ่อนปรนบ้างนะคะ
ข้อคิดสะกิดใจ
เด็กในช่วงวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังฝึกคิดและมองปัญหาต่างๆ อย่างซับซ้อนขึ้น เริ่มใช้เหตุผลในการวิเคราะห์เรื่องต่างๆ
ด้วยตัวของเขาเอง จึงอาจทำให้ดูเหมือนเขา “ไม่ฟังคุณพ่อคุณแม่อีกต่อไป” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลูกยังรับฟังคุณพ่อคุณแม่อยู่
อยู่นะคะ เพียงแต่ต้องการได้มีโอกาสแสดงความคิดและความเห็นของเขาให้พ่อแม่อย่างเราได้ทราบบ้าง
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมีวิธีที่จะพูดคุยกับลูกวัยรุ่นของอย่างสร้างสรรค์ด้วย อย่าใช้วิธี “สั่งให้ทำ”อย่างเดียวคงไม่ได้ ในบางครั้ง ถ้า
เป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญมากนักและคุณพอยอมรับได้ เช่น การทำผม การแต่งตัว ซึ่งบางครั้งจะดูเป็นวัยรุ่นมากไป ถ้ามองผ่านไป
ได้ ก็ควรจะปล่อยไปบ้าง
สิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรจะพิจารณาเลือกเรื่องที่สำคัญที่ควรพูดก่อนมาพูดคุยกับลูก อย่าพยายามพูดบ่นไปทุกเรื่อง จะทำให้
เขาไม่ยอมรับฟังพ่อแม่อย่างเรานะคะ ขอให้พยายามเข้าใจลูกวัยรุ่นให้มากให้เวลากับเขาเท่าที่เราทำได้ เพื่อให้ลูกสามารถเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีความสุขนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับ เลี้ยงลูกวัยรุ่น ให้ฉลาด สมองดี มีภูมิต้านทานสูง
เพิ่ม MQ ปลูกฝังจริยธรรม วัคซีนป้องกันปัญหาอาชญากรเด็กและวัยรุ่น