ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"

ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ต้องการอยากให้ลูกตัวเองลงไปนั่งร้องไห้หรือดิ้นไปมากับพื้นกลางห้างเพื่อจะเอาของเล่นชิ้นนั้นให้ได้ เพียงเพราะพ่อแม่ไม่ยอมซื้อให้ สุดท้ายก็ต้องยอมจำนนกับอารมณ์ลูกขี้วีน เอาแต่ใจ ปัญหาแบบนี้ปล่อยทิ้งไว้ ส่งผลทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจไปโดยไม่รู้ตัวนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การเลี้ยงลูกตามใจเกินเหตุ อาจส่งผลทำให้ลูกป่วยเป็น โรคเอาแต่ใจตัวเอง ถึงไม่ร้ายแรงทางกายแต่ก็ส่งผลให้ลูกติดนิสัยเอาแต่ใจ ขี้วีน ก้าวร้าว และไม่มีเหตุผลไปได้จนถึงโต

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็น โรคเอาแต่ใจตัวเอง

รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายถึงอาการเอาแต่ใจของเด็กว่ามีอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไป ระดับมีปัญหาเล็กน้อย และระดับที่มีปัญหารุนแรง ซึ่งระดับที่ 3 นี้ จิตแพทย์ทั่วโลกจะมีเกณฑ์การวินิจฉัยว่า เป็นโรค Oppositional Defiant Disorder หรือ “โรคเอาแต่ใจ” ส่วนใหญ่พบในเด็ก 3 ขวบขึ้นไป และเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นสัดส่วน 9:1

เด็กที่เป็นโรคเอาแต่ใจตัวเอง จะมีอาการดื้อต่อต้านอย่างรุนแรง พ่อแม่พูดก็ไม่ฟัง อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย จนบางครั้งก็อาละวาดถึงขั้นที่ทำร้ายหรือรังแกผู้อื่น ทำลายข้าวของในบ้านได้ หากสังเกตว่าลูกมีอาการดังกล่าวในระยะเวลานาน 6 เดือน ถือว่าป่วยเป็นโรคเอาแต่ใจแล้ว

ปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นโรคเอาแต่ใจได้นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กบางคนเกิดมาเลี้ยงง่ายหรือเลี้ยงยาก ซึ่งเกิดจากสมองส่วนหน้าที่ควบคุม ยับยั้งอารมณ์ และพฤติกรรมทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ หรือปัจจัยด้านการเลี้ยงดูที่มีผลต่อสภาวะจิตใจ ที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้าน ดื้อ และก้าวร้าว อาจเป็นเพราะพ่อแม่ยุคใหม่ที่ยังขาดทักษะและแนวคิดในการเลี้ยงลูกอย่างถูกต้อง พ่อแม่บางคนเข้าใจผิดว่าถ้าไปขัดใจลูกก็จะทำให้ลูกหงุดหงิดง่ายอารมณ์ไม่ดี จึงยอมตามใจ หรือพ่อแม่แบบที่เลี้ยงลูกด้วยการใช้ความรุนแรง ชอบบังคับ ก็จะทำให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเองได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยิ่งในปัจจุบัน พ่อแม่ส่วนใหญ่มีเวลากับลูกน้อยลง ทำให้ความผูกพันทางอารมณ์ ความใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่และลูกลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงวัย 2-3 ขวบ ที่พ่อแม่บางคนปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยง ดูแต่ทีวีตามลำพัง หรือชดเชยด้วยสิ่งของ ซึ่งทำให้ลูกคิดว่าสิ่งของคือความรักที่พ่อแม่มีให้ ถ้าอยากได้ความรักก็คือเรียกร้องที่จะเอาสิ่งของ เมื่อไม่สมหวัง ก็จะเกิดภาวะทางอารมณ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอาแต่ใจตัวเองได้

ดังนั้นหนทางที่ดีก่อนให้ลูกป่วยเป็นโรคเอาแต่ใจ พ่อแม่ควรมองให้เห็นถึงความต้องการของลูกทั้งด้านกายภาพและจิตใจ มีการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เกิดความผูกพันระหว่างกันและกัน ด้วยการสร้างเวลาคุณภาพให้พ่อแม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด พยายามหากิจกรรมที่ทำร่วมได้ พร้อมกับสอดแทรกคำแนะนำหรือคำสอนลูกไปในตัว โดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ฝึกใช้เหตุผลกับลูกจนเกิดเป็นนิสัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิ่งสำคัญที่คุณหมอได้ให้แง่คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ในยุคนี้ว่า “ควรระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ นั้นไม่ใช้สิ่งของหรือของเล่นราคาแพง แต่เป็นความรัก ความผูกพันที่พ่อแม่มอบให้กับลูก การดูแลของพ่อแม่อย่างใกล้ชิดและถูกต้อง จะทำให้ลูกห่างไกลจากโรคเอาแต่ใจนี้ได้แน่นอน”


ที่มา : www.manager.co.th

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ออกมาดี 10 วิธีที่ทำให้พ่อแม่เข้าใจลูกสมัยนี้ได้ไม่ยาก

เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นอัจฉริยะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R