ลงโทษลูกอย่างไรไม่ให้บอบช้ำ

ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไหร่ เราจะพบว่าความเป็นเด็กอาจจะก่อเรื่องยุ่งให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปวดหัวเสมอ และหลังจากพบว่าลูกทำผิด ก็ต้องมาคอยคิดว่าจะลงโทษลูกอย่างไรดี เพราะบางครั้งมันก็เป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจลงโทษได้อย่างมีเหตุผล ในตอนที่พวกคุณรู้สึกโกรธซึ่งมันก็อาจทำให้ลงโทษลูกไปด้วยความรุนแรงได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรามีเหตุผลบางอย่างที่จะมาบอกคุณพ่อคุณแม่เพื่อใช้ในการไตร่ตรองเมื่อจำเป็นต้องตัดสินใจต้องลงโทษลูก

#เมื่อไม่เข้าใจกฎของบ้าน

พ่อแม่อาจตั้งกฎประจำบ้านหรือลูกอาจไม่เข้าใจกฏนั้น ๆ ก็คงได้เวลาในการชี้แจงและพูดคุยกัน อาจจำเป็นต้องมีการลงโทษหรือไม่ก็ได้ เราต้องเข้าใจว่าเด็ก ๆ ก็ไม่ได้เป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่างเหมือนกับพ่อแม่นั้นแหละ และพลาดที่จะผิดได้ ถ้าหากลูกทำผิดจริง ๆ เราอาจลงโทษลูกสำหรับความผิดครั้งแรก เพื่อสามารถใช้ความผิดครั้งนี้ไปเป็นบทเรียน และดูปฏิกิริยาตอบรับของลูก ถ้าพวกเขารู้สึกสำนึกผิดแล้วและมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่โตอะไรสำหรับการให้โอกาสแก้ตัวและบอกให้ลูกเข้าใจว่า จะไม่มีการให้อภัยหากทำผิดซ้ำอีก

#เมื่อบ้านมีกฎระเบียบ

ถ้าที่บ้านมีกฏกติกาประจำบ้านวางเอาไว้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมเด็ก ๆ ควรจะได้รับการลงโทษ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • จงใจที่จะไม่เชื่อฟัง – เมื่อเข้าใจในกฎกติกาแล้ว แต่ไม่ทำตามกฎกติกานั้น
  • ดื้อต่อต้าน – การต่อต้านขัดขืนของลูกนั้นบ่อยครั้งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองจากความโกรธหรือต่อต้านจากการถูกควบคุม และเราจำเป็นต้องสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับความโกรธและรู้จักเคารพต่อพ่อแม่
  • การโกหกหรือการไม่ยอมพูดความจริง – ลูก ๆ ควรจะรู้ว่าเขาจะได้รับการลงโทษหากโกหกพ่อแม่ หรือมาในรูปแบบของการไม่พูดความจริง การหลอกลวง การปิดบังเรื่องบางอย่าง การคุยโม้โอ้อวด การสร้างเรื่อง ที่จัดว่าเป็นการโกหกทั้งสิ้น
  • ไม่รู้สึกสำนึกผิด – โดยปกติการไม่รู้สึกสำนึกผิดนั้นในความหมายที่เด็ก ๆ คิดอาจมองว่าพวกเขาไม่ได้ทำอะไรผิด การลงโทษเพียงอย่างเดียวจึงไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา แต่ต้องทำให้ลูกรู้จักว่าทำไมพวกเขาถึงไม่รู้สึกสำนึกผิด
  • การไม่ให้ความเคารพเวลาถูกตักเตือน - การกรอกตา การตะโกน การทุบตี หรือการนินทาว่าร้ายพ่อแม่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความไม่เคารพ ดังนั้น ถ้าต้องการให้รู้จักที่จะเคารพต่อบุคคลอื่น เราจะต้องสอนให้ลูกรู้จักที่จะเคารพในฐานะพ่อแม่เป็นสิ่งแรก เพราะเรื่องของความเคารพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องสอน มันไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้เอง

#เมื่อใช้การให้อภัย

“การให้อภัย” เป็นการใช้พระคุณต่อลูก เพื่อสอนให้พวกเขารู้จักที่จะให้อภัยกับคนอื่น ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากใช้บ่อยเกินไปมันจะเป็นส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือได้ใจจนเกินไป ดังนั้นเมื่อเราเลือกที่จะให้อภัยแทนการลงโทษแล้ว ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่จึงได้ให้อภัยไม่ลงโทษลูก เช่น “เพราะลูกรู้ว่าสิ่งที่ลูกทำนั้นมันผิด แม่ควรลงโทษลูก แต่ดูเหมือนว่าลูกเองก็รู้สึกเสียใจในสิ่งที่ทำไป ฉะนั้นครั้งนี้แม่จะให้อภัยลูก จะไม่มีการลงโทษอะไรในครั้งนี้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นอีกลูกจะถูกลงโทษนะจ๊ะ”

Source : www.findingtimetofly.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เมื่อไหร่ควรลงโทษลูกแบบ time in หรือ time out
เลี้ยงลูกให้ดี ควรลงโทษลูกไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R