การป้องกัน อุบัติเหตุในเด็กเล็ก แต่ละช่วงวัย
อุบัติเหตุในเด็กเล็ก เป็นสิ่งไม่คาดฝัน ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับลูกน้อยวัยทารก เพราะอาจนำมาซึ่ง อันตรายร้ายแรงต่าง ๆ ได้กว่ามากกว่าผู้ใหญ่ และ เด็กโต ทั้งนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ หรือ ผู้ดูแลทารกได้ตระหนักถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละช่วงวัยของทารก ก็อาจช่วยลดโอกาส ในการเกิด อุบัติเหตุในเด็กเล็กลงได้ ดังนี้
- ช่วงอายุ 1 ถึง 2 เดือน
ทารกจะสามารถยกศีรษะขึ้นได้ มองจ้องตาม ร้องไห้กวนเยอะ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกของชีวิด อุบัติเหตุที่ ควรระวัง คือ การพลัดตกหกล้ม จากมือผู้ใหญ่ที่อุ้ม หรือ อุบัติเหตุเมื่อผู้ใหญ่ถือของร้อนในมือ ขณะอุ้มเด็ก และ ควรระวัง Shaken baby syndrome ซึ่งเป็นภาวะ ที่เกิดจากการเขย่าทารกอย่างรุนแรง อันมีสาเหตุจากอารมณ์ที่หงุดหงิด หรือ โมโห รวมถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใหญ่ การเขย่าทารกแรง ๆ จะทำให้เนื้อสมองกระทบกระเทือนกับกะโหลกศีรษะ เส้นเลือดรอบเนื้อสมองฉีกขาด จนเกิดภาวะเลือดออกในสมอง จอประสาทตาเกิดอันตราย สมองกระทบกระแทกรุนแรง อาจทำให้ตาบอดหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ช่วงอายุ 4-5 เดือน
ทารกจะสามารถยกศีรษะตั้งตรงได้ ขว้างวัตถุเล็ก ๆ ในมือ สามารถพลิกคว่ำได้ จึงควรระวัง อุบัติเหตุจากการพลิกตัว หรือ ของเล่นที่แตกหักง่าย หรือ เป็นของมีคม รวมทั้ง ระวังอุบัติเหตุจากรถยนต์ เนื่องจาก ในช่วงวัยนี้ผู้ใหญ่มักจะเริ่มพาทารกออกนอกบ้านมากขึ้น การเดินทางออกจากบ้านด้วยรถยนต์ ควรให้ทารกนั่งคาร์ซีทสำหรับทารก แบบที่หันหน้าไปทางด้านหลัง ซึ่งควรนั่งซึ่งควรนั่งชนิดหันหลังนี้ ไปจนถึงอายุ 2 ขวบ
- ช่วงอายุ 6 เดือน
ทารกจะเริ่มยกตัวขึ้นได้เอง คว่ำได้คล่อง หมุนตัวหน้าได้ โดยที่ยังต้องอาศัยการประคอง ส่งของข้ามระหว่างมือสองข้างได้ ในช่วงวัยนี้คุณพ่อคุณแม่บางคนจะเริ่มให้ลูกนั่งในรถหัดเดิน ซึ่งไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะอาจนำมาซึ่งอันตรายที่รุนแรงได้ จากการตกจากที่สูง หรือ การที่รถหัดเดินผิดคว่ำ นำไปสู่การบาดเจ็บกระดูกต้นคอ ศีรษะ และ เลือดออกในสมอง กระดูกแขนขาหักได้ อีกทั้ง ควรระวังการรัดคอทารก ด้วยสายไฟ เขือก หรือ สายมู่ลี่หน้าต่าง
- ช่วงอายุ 9 เดือน
ทารกจะสามารถนั่งได้ โดยไม่ต้องประคอง สามารถคืบ และ คลานด้วยมือ สามารถหยิบวัตถุเล็ก ๆ ได้ โดยเอามือเข้าปาก และ เอาอาหารเข้าปากตัวเองได้แล้ว จึงควรระวัง การที่ทารกเคลื่อนที่ไปใกล้กับน้ำ หรือ วัตถุร้อน ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำ หรือ น้ำร้อนลวกได้ นอกจากนี้ ควรระวังการสำลักอาหารหรือ วัตถุชิ้นเล็กต่าง ๆ ที่ทารกหยิบเข้าปาก จนอาจเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ เช่น เม็ดถั่วเล็ก ๆ หรือ เหรียญ
- ช่วงอายุ 12 เดือน
ทารกจะสามารถยืนได้ชั่วคราว โหนตัว เพื่อยืนขึ้นได้เอง สามารถเดินได้โดยการจูงของผู้ใหญ่ สามารถหยิบวัตถุชิ้นเล็กด้วยนิ้วโป้ง ตักอาหารเข้าปากเองได้ จึงควรต้องระวังการกินสิ่งแปลกปลอม หรือ การนำสารพิษต่าง ๆ เข้าปาก การสำลักอาหาร หรือ สิ่งของ อุบัติเหตุจากการจมน้ำ หรือ พลัดตกหกล้มต่าง ๆ โดยเฉพาะการตกจากที่สูง หรือ หน้าต่าง เนื่องจากในบางครั้งผู้ดูแล อาจลืมไปว่าทารกสามารถเคลื่อนที่เองได้มากขึ้นแล้ว
คุณพ่อ คุณแม่ ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการด้านต่าง ๆ ตามวัยของทารก และ คาดคะเนอยู่เสมอว่า สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งของรอบตัว อาจเป็นสาเหตุให้ทารกเกิดอุบัติเหตุได้หรือไม่ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง และ เฝ้าระวังอันตราย จากอุบัติเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อความปลอดภัยของทารกน้อยได้ ทั้งนี้ ควรให้ทารกอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่เสมอค่ะ
ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อุบัติเหตุเด็กจีนถูกรถทับขณะผูกเชือกรองเท้า
เปิด 5 จุดอันตรายใกล้บ้าน ที่คนมีลูกเล็กต้องระวัง!
ไม่เคยเป็นเคสสุดท้าย!!! หลานขวบเดียววิ่งมารับยาย โดนรถถอยทับดับสลด
ที่มา: www.medinfo.psu.ac.th