หมอสูติฯ เตือน ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย แม่ป้องกันได้ตั้งแต่เตรียมตัวตั้งครรภ์

คุณแม่ทราบไหมว่า คุณแม่ คือ หัวใจสำคัญในการส่งต่อภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่จะช่วยให้ลูก แข็งแรง ไม่ป่วยบ่อยไปตลอดชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หัวอกคนเป็นพ่อแม่ แต่ละครั้งที่เห็นลูกป่วยบ่อย ๆ ก็อยากสลับไปเป็นฝ่ายที่ป่วยแทนลูก และถ้าหากทราบว่ามีวิธีไหนช่วยให้ลูกหายป่วยได้ไว ๆ หรือเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตได้ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดทุกทาง เพื่อชี้แนะให้คุณแม่แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เราจำเป็นจะต้องทราบถึงปัจจัยที่ทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บป่วยก่อนเป็นอันดับแรก

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ลูกป่วยประกอบด้วย 4 ข้อ ดังนี้ 

  • พันธุกรรม โรคบางโรคลูกจะได้รับการส่งต่อทางพันธุกรรมมาจากคุณพ่อคุณแม่ เช่น ภูมิแพ้ โรคธาลัสซีเมีย โรคตาบอดสี เป็นต้น ซึ่งโรคทางพันธุกรรมบางโรคสามารถบรรเทาอาการลงได้ หากปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ แต่บางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงเป็นสาเหตุ ให้คู่สามีภรรยาส่วนใหญ่วางแผนครอบครัวและตรวจร่างกาย โดยแพทย์ก่อนจะมีเจ้าตัวเล็ก 
  • พลาดการได้รับจุลินทรีย์ดีในขณะคลอด โดยปกติแล้วทารกแรกเกิดจะได้รับจุลินทรีย์ดี จากช่องคลอดของคุณแม่ในระหว่างการคลอดแบบธรรมชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันตั้งต้นให้ลูกในช่วงขวบปีแรก ดังนั้นทารกที่เกิดจากการผ่าคลอดจึงพลาดโอกาสการได้รับจุลินทรีย์ดีจากช่องคลอดของคุณแม่ไป เพราะเป็นการคลอดผ่านการผ่าตัดหน้าท้อง จึงส่งผลให้เด็ก ๆ มีภูมิคุ้มกันน้อย และเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งสามารถทดแทนได้ด้วยการให้ลูกทานนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป หรือดูแลให้ลูกได้รับในปริมาณที่เหมาะสม 
  • ช่วงวัย ในช่วงขวบปีแรก ๆ ระบบภูมิคุ้มกันในเด็กยังไม่แข็งแรงเหมือนในผู้ใหญ่ หากลูกมีภูมิคุ้มกันไม่ดีก็จะมีโอกาสป่วยบ่อย โดยเฉพาะการป่วยด้วยกลุ่มโรคติดเชื้อต่าง ๆ        
  • โภชนาการ เมื่อเด็ก ๆ อยู่ในวัยที่ต้องทานอาหารชนิดอื่นนอกจากนมแม่ แต่คุณพ่อคุณแม่อาจมีงานรัดตัวจนทำให้ไม่มีเวลาดูแลอาหารการกินลูกอย่างใกล้ชิด ประกอบกับพฤติกรรมเลือกกินของลูก จึงส่งผลให้เด็ก ๆ ได้รับสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี สังกะสี โปรตีน รวมถึงจุลินทรีย์ดีไม่ครบถ้วน   

 

แม่สามารถป้องกันไม่ให้ ลูกป่วยบ่อย ได้อย่างไร

คุณแม่สามารถสร้างเกราะป้องกันอาการเจ็บป่วยให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่การเตรียมตัวตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังคลอด โดยสามารถแบ่งการดูแลตนเองของคุณแม่และลูกรัก ได้เป็น 3 ช่วงหลัก ๆ คือ เตรียมตัวตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ดังนี้

 

การเตรียมตัวตั้งครรภ์ที่ดี ช่วยให้ลูกสุขภาพดี ไม่ป่วยบ่อย

การเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ เริ่มจากการเข้ารับคำปรึกษาเพื่อวางแผนตั้งครรภ์กับแพทย์ผู้ชำนาญการ ไปพร้อม ๆ กับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่ได้รับโภชนาการที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลระบบสืบพันธุ์ให้พร้อมสำหรับการมีบุตร  และจำเป็นต้องดูแลระบบขับถ่ายให้ทำงานเป็นปกติ เนื่องจากหากคุณแม่มีอาการท้องผูกเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้มีอาการท้องผูกช่วงตั้งครรภ์รุนแรงมากขึ้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

และหากคุณแม่มีอาการท้องผูกในช่วงตั้งครรภ์ จะทำให้ปริมาณของ จุลินทรีย์ดี ในลำไส้ลดลงจนขาดสมดุล และกระทบต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้คุณแม่ป่วยง่ายขึ้น ถ้าไม่รีบแก้ไขตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ก็อาจจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก หรือหากตั้งครรภ์สำเร็จก็อาจมีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคุณแม่ที่ไม่มีอาการท้องผูก อาการท้องผูกของคุณแม่ท้อง ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของทารกในครรภ์ได้เช่นกัน ดังนั้นคุณแม่จึงจำเป็นจะต้องสะสม     จุลินทรีย์ดี ในร่างกายตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวตั้งครรภ์ เพื่อเป็นรากฐานของสุขภาพที่แข็งแรงสำหรับทารกในครรภ์ต่อไป

 

ไม่อยากให้ ลูกป่วยบ่อย ป้องกันได้ แค่คุณแม่ตั้งครรภ์ดูแลไม่ให้ท้องผูก

การสะสม จุลินทรีย์ดี ให้มีปริมาณเพียงพอที่จะส่งต่อให้ลูกในขั้นตอนการคลอดธรรมชาติ คุณแม่ต้องเริ่มดูแลไม่ให้ตนเองมีอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์บ่อย ๆ ซึ่งส่งผลต่อการสะสม      จุลินทรีย์ดี ในร่างกายของคุณแม่  

สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการท้องผูกบ่อย ส่วนใหญ่เกิดจากมดลูกมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นจนไปกดทับลำไส้ใหญ่ ทำให้การทำงานของระบบขับถ่ายไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยน แปลงของฮอร์โมน และการไหลเวียนของหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้น หากหลอดเลือดบริเวณรอบทวารหนักของคุณแม่ขยายตัว โป่งพอง จนนำไปสู่การเป็นริดสีดวงทวาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกขณะขับถ่าย ถ้ามีอาการท้องผูกรุนแรงจนต้องใช้แรงเบ่งมาก ๆ ก็อาจจะเป็นอันตรายกับคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดมากขึ้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

หมอสูติฯ แนะนำ แก้ปัญหาท้องผูกขณะตั้งครรภ์ ได้ด้วยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีในช่องคลอดและลำไส้  

ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์ สูตินรีแพทย์จะจ่ายเครื่องดื่มชื่อว่า จุลินทรีย์ดี ให้  คุณแม่ดื่มตั้งแต่เริ่มวางแผนตั้งครรภ์กระทั่งคลอด เพราะ จุลินทรีย์ดี จะช่วยปรับสมดุลลำไส้ของคุณแม่และลูกน้อย ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้อย่างปกติ สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และมีพัฒนาการตามวัยตั้งแต่ในครรภ์ นอกจากเสริม จุลินทรีย์ดีแล้ว วิธีที่ช่วยลดอาการท้องผูกสำหรับคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ยังมีอีกหลากหลายวิธี เช่น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ขยับตัวบ่อย ๆ เพื่อให้ลำไส้มีการบีบรัดตัว เช่น ทำงานบ้านเบา ๆ เดินเล่น หรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 
  • สร้างสุขนิสัยการขับถ่าย ควรขับถ่ายอุจจาระอุจจาระในเวลาเดิมทุกวัน
  • ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน 
  • หากคุณแม่จำเป็นต้องรับประทานธาตุเหล็กเสริมระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งมักจะมีผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการเสริมธาตุเหล็กอย่างเหมาะสม
  • เลือกรับประทานผักผลไม้หรือธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูงเป็นประจำ เช่น กล้วย มะละกอ ส้ม ผักโขม บรอกโคลี ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น 

ส่วนการเพิ่มปริมาณและรักษา จุลินทรีย์ดี ระหว่างตั้งครรภ์ นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์   สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็ก ได้ให้คำแนะนำเพื่อให้คุณแม่มีปริมาณของ จุลินทรีย์ดี เพียงพอที่จะส่งต่อให้ลูกน้อย โดยมีหลักสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 

 

 

1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำลายจุลินทรีย์ดีในร่างกาย และจุดซ่อนเร้น 

  • การสวนล้างช่องคลอด 
  • รับประทานยาปฏิชีวนะมากเกินจำเป็น 
  • รับประทานน้ำตาลและอาหารหวานจัดมากเกินไป
  • รับประทานข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการขัดสี 
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีภาวะเครียด

2. เพิ่มจุลินทรีย์ดีเข้าสู่ร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารที่ดี

ขั้นตอนการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีเข้าสู่ร่างกาย ทำได้ตั้งแต่การเตรียมตัวตั้งครรภ์ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีสูง เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ชีสบางชนิด กิมจิ ขิงดอง เป็นต้น ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารหลากหลาย ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่และลูกในครรภ์อย่างครบถ้วน

หากคุณแม่สามารถปฏิบัติตัวได้ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นอกจากจะช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น ยังช่วยให้จุลินทรีย์ดีในลำไส้ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถส่งต่อจุลินทรีย์ดีที่เป็นภูมิคุ้มกันตั้งต้นให้กับลูกระหว่างการคลอดธรรมชาติ ดังนั้นการดูแลให้ลูกได้รับภูมิคุ้มกันตั้งต้นอย่างเพียงพอ ด้วยการไม่ปล่อยให้ตนเองท้องผูก จึงเป็นหนทางที่จะช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่ดี ห่างไกลจากการเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

หลังคลอดก็สำคัญ เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูก ลดความเสี่ยงลูกป่วยบ่อยได้ด้วย “นมแม่”

นมแม่ประกอบด้วยสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด และเป็นวัคซีนตามธรรมชาติของลูก เนื่องจากในน้ำนมแม่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีจุลินทรีย์ดีที่จะช่วยปรับสมดุลในลำไส้ของทารก ช่วยลดโอกาสติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ที่นำมาซึ่งการเจ็บป่วยเรื้อรัง รวมถึงลดโอกาสการเกิดโรคร้ายแรงต่อลูกในอนาคต เช่น โรคไหลตายในเด็กทารก (SIDS) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

สำหรับตัวคุณแม่เองก็จำเป็นต้องดูแลตัวเองให้ดี เพื่อให้มีปริมาณจุลินทรีย์ดี เพียงพอเช่นกัน เพราะเมื่อลูกเข้าเต้าทานนมแม่ เด็ก ๆ ก็จะได้รับ จุลินทรีย์ดี ที่อยู่บริเวณลานนมและในน้ำนมจากคุณแม่ ดังนั้นหากคุณแม่มีปริมาณจุลินทรีย์ดี เพียงพอก็จะช่วยให้ลูกได้รับจุลินทรีย์ดี ที่เป็นภูมิคุ้มกันตั้งต้นจากคุณแม่ โดยเฉพาะในเด็กผ่าตัดคลอดที่ไม่ได้รับจุลินทรีย์ดี เหมือนกับเด็กคลอดธรรมชาติ

 

แพ้ท้องบ่อย เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ รับประทานผลไม้ไม่ได้ จะดูแลลำไส้ให้ขับถ่ายดี มี จุลินทรีย์ดี เพียงพอได้อย่างไร?  

ในปัจจุบันพบว่า คุณแม่หลายท่านมีข้อจำกัดในการรับประทานผักผลไม้หรืออาหารบางประเภท โดยอาจมีสาเหตุมาจากภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการแพ้ท้องมากจนรับประทานอาหารได้น้อย หรือช่วงใกล้คลอด ครรภ์มีขนาดใหญ่จนทำให้รู้สึกอึดอัด แพ้นม แพ้อาหารบางชนิด หรือมีเหตุผลด้านสุขภาพอื่น ๆ ทำให้คุณแม่ต้องมองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่ม จุลินทรีย์ดี ในลำไส้ และช่วยบรรเทาอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น 

โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในวงการสูตินรีแพทย์ หรือมีการรับรองอย่างถูกต้องจากสถาบันด้านสุขภาพที่มีความน่าเชื่อถือสูง และควรเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ ในประเทศญี่ปุ่น สูตินรีแพทย์มักจะจ่าย LACTIS จุลินทรีย์ดี ที่เป็น โพสไบโอติก ให้กับคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ เพื่อป้องกัน บรรเทาปัญหาท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจาก LACTIS เป็น โพสไบโอติก จึงทำให้ LACTIS ปลอดภัยที่สุด ไม่เสี่ยงต่อผลข้างเคียงอย่างโปรไบโอติก ที่อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้หรือท้องเสียตามมา LACTIS มั่นใจได้มากที่สุด เนื่องจากยังมีงานวิจัยในคุณแม่ตั้งครรภ์ ในปี ค.ศ. 2011 และมีการตีพิมพ์ผลงานวิจัย โดยสมาคมสุขภาพคนท้องในญี่ปุ่น สูตินรีแพทย์แนะนำให้คุณแม่รับประทาน LACTIS ได้ผลลัพธ์มากที่สุด เพียงแค่คุณแม่รับประทาน LACTIS อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ก็จะได้รับผลลัพธ์ที่ชัดเจนภายใน 30 วัน เมื่อหายขาดจากอาการท้องผูกก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้นี่เองที่ทำให้คุณแม่ไว้วางใจใน LACTIS มามากว่า 30 ปี หากคุณแม่ท่านใดสนใจสามารถขอรับคำแนะนำ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จุลินทรีย์ดี ได้ที่นี่ 

อย่าง จุลินทรีย์ดี ผลิตภัณฑ์ดูแลและป้องกันสุขภาพที่สมาคมสุขภาพคนท้องในประเทศญี่ปุ่นแนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานขณะตั้งครรภ์ และได้รับความไว้วางใจจากคุณแม่ตั้งครรภ์ในญี่ปุ่นมายาวนานกว่า 30 ปี ว่าช่วยให้คุณแม่สามารถป้องกันและยุติปัญหาท้องผูกได้จริง เมื่อคุณแม่หยุดปัญหาท้องผูกขณะตั้งครรภ์ได้แล้ว ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีที่จะส่งต่อให้ลูกรักที่อยู่ในครรภ์และเจ้าตัวเล็กที่ทานนมแม่ได้ดี รวมถึงยังช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี พร้อมที่จะดูแลลูกรักได้อย่างเต็มที่

 

สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: Ask the Expert คุณแม่ถาม คุณหมอตอบ เรื่อง “แม่ท้องอย่ามองข้าม แค่ ท้องผูก ก็เสี่ยงแท้งได้?”

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team