คนท้องกินส้มตําปูปลาร้าได้ไหม คนท้องกินส้มตำได้หรือเปล่า เกิดอะไรขึ้นกับคนท้องที่กินปลาร้า ไปดูกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ท้องท่านหนึ่ง ที่อยากฝากให้เป็นอุทาหรณ์ จะกินอะไร หรือทำอะไร ไม่ใช่แค่เราเพียงคนเดียวแล้ว แต่ยังมีหัวใจที่เต้นตุ๊บๆ อยู่ในร่างกายด้วยอีกหนึ่งชีวิต เพราะบางเรื่องเราอาจคิดไม่ถึงว่าสิ่งที่เราทำไปจะส่งผลต่อ “ลูกในท้อง” จนเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแม่ได้ด้วย!
ส้มตําปูปลาร้า ตําปูปลาร้า คนท้องกินส้มตำได้ไหม คนท้องกินปลาร้าได้ไหม
สำหรับในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์นั้น หากอยากกินส้มตำตอนท้อง คนท้องกินปลาร้าได้ไหม ก็อาจจะต้องระมัดระวังกันเสียหน่อย แต่ไม่ใช่ว่าจะห้ามไม่ให้กินเสียทีเดียว แต่ควรกินแต่น้อยพอให้หายอยาก และไม่ปรุงส้มตำให้มีรสเค็มหรือเผ็ดจัดเกินไป และควรต้องระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ
เพราะนอกจากผักสดเช่น มะละกอดิบ แครอทดิบ หรือถั่วฝักยาวดิบแล้ว ในส้มตำนั้นยังมีวัตถุดิบที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูกในท้องเป็นส่วนประกอบ อย่างเช่น ปูดองที่ใส่ในส้มตำ ซึ่งจัดเป็นของดิบ หรือปลาร้า ที่มักจะไม่ได้ปรุงให้สุกโดยผ่านความร้อนนั้น อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมาได้
รวมไปถึงการใส่ผงชูรส และปริมาณเกลือที่อยู่ปูดองหรือปลาร้า ก็จะทำให้เสี่ยงต่ออาการบวม และอาการความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
คนท้องกินปลาร้า หรือตําปูปลาร้า ส้มตําปูปลาร้า ได้ไหม
นอกจากปลาร้าที่อยู่ในเมนูส้มตำแล้ว ปลาร้ายังถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทอื่น ๆ อีกหลายชนิด หากอยากรับประทานจริง ๆ ก็ขอให้ทำให้สุกด้วยความร้อนเสียก่อน ระมัดระวังเรื่องความสะอาด และไม่ควรกินในปริมาณมากและบ่อยเกินไป
คนท้องกินส้มตําปูปลาร้าได้ไหม
แน่นอนว่าส้มตำ เป็นอาหารจานโปรดของคุณผู้หญิงหลายท่าน โดยเฉพาะส้มตำปูปลาร้า แค่ได้ยินชื่อก็เปรี้ยวปาก อยากกินขึ้นมาแล้ว แต่ติดที่ตอนนี้กำลังตั้งครรภ์อยู่น่ะสิ ถ้ากินส้มตำ ตําปูปลาร้า โดยเฉพาะส้มตำปูปลาร้าตอนนี้ จะเป็นอันตรายต่อลูกไหม คนท้องกินปลาร้าได้ไหม กินส้มตำ ตําปูปลาร้า ได้หรือเปล่า ไปหาคำตอบกัน
เรื่องแชร์ประสบการณ์อุทาหรณ์ของคุณแม่ที่ชิมส้มตำปูปลาร้าระหว่างตั้งครรภ์
ทันทีที่ได้รู้ว่าตั้งครรภ์ลูกสาวคนที่ 2 คุณแม่ดีใจมากไม่ต่างไปจากท้องแรก ในช่วงตั้งท้องคนนี้คุณแม่อยากกินส้มตำปูปลาร้ามากเป็นพิเศษ อดใจไม่เคยไหวซักที แต่ทุกครั้งที่สั่งคุณแม่ก็ขอโอกาสแค่ชิม ซึ่งนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่อาหารเป็นพิษทุกไตรมาส! พอท้องเข้าเดือนที่ 7 คุณแม่ไม่เชื่อหมอ ชิมส้มตำปูปลาร้าอีก คราวนี้อาหารเป็นพิษหนักกว่าครั้งก่อน ๆ จนต้องเข้าโรงพยาบาลและกินยาตามที่หมอสั่งถึง 5 วัน เป็นไข้หวัดต่ออีก 2 สัปดาห์โดยไม่ไปหาหมอ และไม่ยอมพักผ่อน
พอหายจากอาหารเป็นพิษ ก็ตามมาป่วยด้วยไข้หวัดหลอดลมอักเสบ อีก 2 สัปดาห์ โดยไม่ได้กินยาและไม่ไปหาหมอ เพราะคิดว่าป่วยไข้หวัดธรรมดาไม่เป็นอะไรมาก ซึ่งช่วงที่ป่วยก็ไปทำงานปกติ จึงทำให้พักผ่อนน้อยเลยพลอยให้ลูกในท้องไม่ได้พักผ่อนไปกับแม่ด้วย
หลังจากป่วยติดกันประมาณ 3 สัปดาห์ พอถึงกำหนดไปให้คุณหมอตรวจ หมอแจ้งอาการว่า ระบบการหายใจของลูกเริ่มหายใจเต้นแรงและเร็วผิดปกติ เด็กกลับหัวพร้อมที่จะคลอดแล้ว ซึ่งคุณหมอแจ้งว่าแม่ต้องพักผ่อนให้มาก ๆ เพราะมีแนวโน้มจะคลอดก่อนกำหนด
เข้าเดือนที่ 8 เป็นไปตามที่คุณหมอคาดการณ์ ลูกเริ่มดิ้นๆ ทำท่าจะคลอดให้ได้ คุณแม่เริ่มมีอาการท้องแข็งถี่ ๆ บ้างในช่วงเช้าบ้าง ดึกบ้างแล้วแต่วัน น้องอยู่ในท้องดิ้นแรงและดิ้นเก่งมาก ๆ จนทำให้รู้สึกเจ็บท้องมากขึ้น จนเข้าเดือนที่ 9 อัลตราซาวนด์พบว่าลูกดิ้นกลับหัวขึ้น ช่วงรอคลอดตามกำหนด 38 สัปดาห์ คุณแม่ก็ไปทำงานตามปกติ ต่อมาเริ่มเดินไม่ไหว เพราะท้องแข็งและเจ็บจี๊ด ๆ เข้าใจว่าคือ อาการเจ็บเตือน หลังจากนั้นก็ลาพักผ่อนก่อนคลอดประมาณ 1 สัปดาห์ ไม่มีอาการใด ๆ นอกจากก่อนคลอด 2 วัน ที่รู้สึกได้ว่าน้องดิ้นแรงผิดปกติ มีอาการคล้าย ๆ คนชักกระตุก ๆ คืนนั้นท้องแข็งถี่ ๆ จนคิดว่าต้องผ่าคลอดก่อนแน่ ๆ แต่เมื่อถึงวันคลอด..ก็คลอดได้ตามปกติ
ผลกระทบจากแม่สู่ลูกในท้องแบบที่คิดไม่ถึง
ในห้องคลอด..ทันทีที่พยาบาลอุ้มลูกมาให้ดูครั้งแรก เอ๊ะ! ทำไมตัวหนูดูซีดๆ ดำๆ คล้ำๆ ม่วงๆ ดูแปลกๆ แต่พอพยาบาลให้ออกซิเจนก็ตัวแดงปกติ แต่พอลูกไปถึงห้องเด็กอ่อนแค่ 10 นาที ก็เริ่มมีอาการหายใจไม่เป็นจังหวะ ตรวจวัดออกซิเจนในร่างกายมีแค่ 60-70 ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 98-100 หมอมาแจ้งว่า น้องมีอาการขาดออกซิเจน ปอดติดเชื้อ เพราะปอดไม่สามารถเคลียร์น้ำคร่ำได้ เสมหะลงปอด เนื่องจากออกซิเจนไม่พอไปฟอกปอด ปอดน้องยังทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งอาการแบบนี้ส่วนใหญ่จะพบกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด แต่นี่ลูกของแม่คลอดออกมาตามกำหนด
อาการปอดติดเชื้อของลูก และภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอด
น้องมีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง ทำให้ตัวเหลืองเร็วและนาน ต้องส่องไฟอยู่ในตู้อบและมีอุปกรณ์ติดเต็มตัวไปหมดตั้งแต่วันแรกหลังหลอด คุณหมอช่วยรักษาอาการของน้องด้วยวิธีให้ออกซิเจนสอดท่อเข้าจมูก ให้ยาฆ่าเชื้อ ให้น้ำเกลือ วัดระดับออกซิเจนในร่างกาย และต้องประเมินอาการวันต่อวัน ต้องให้ยาฆ่าเชื้อจนกว่าจะไม่พบการติดเชื้อ เมื่อมีอาการดีขึ้นหมอก็ลองถอดออกซิเจน พบว่าลูกหายใจได้ดี เป็นจังหวะขึ้น แต่อัตราการเต้นของหัวใจก็ยังเร็วอยู่ และก็ยังบอกไม่ได้ว่าต้องรักษากี่วัน
หลังจากคุณแม่กลับมาพักฟื้นที่บ้านแล้ว รู้สึกได้เลยว่าตัวเองเศร้ามาก นั่งโทษตัวเองและร้องไห้ตลอด น้องเป็นแบบนี้ เพราะแม่เองที่ทำร้ายหนู แม่ไม่รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ทำให้น้องพักผ่อนน้อยไปด้วย จึงส่งผลให้ปอดน้องไม่แข็งแรง คิดว่าลูกจะรอดไหม อีกกี่วันลูกจะหาย เดินทางไปกลับหาลูกที่โรงพยาบาลทุกวัน เพื่อปั๊มนมให้ลูกกิน ในขณะที่ปั๊มนมก็นั่งร้องไห้ จนพยาบาลต้องมาช่วยปลอบว่าอย่าเครียด เดี๋ยวน้ำนมจะหดไม่พอให้ลูกกิน
ปัจจุบันน้องแคลร์รี่มีอายุได้ 2 เดือน และได้กลับบ้านแล้ว หลังจากอยู่ที่โรงพยาบาลในช่วงแรกคลอดนานถึง 14 วัน แต่ตอนนี้คุณแม่ก็ยังต้องคอยสังเกตดูอาการน้องเสมอ ถ้าเมื่อไหร่ที่น้องมีอาการครืดคราด มีเสมหะเยอะ ๆ ก็ต้องรีบพาไปพบคุณหมอ เพื่อเอ็กซเรย์ปอด เคาะปอดดูดเสมหะให้ยาฆ่าเชื้อ
ฝากถึงคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์
เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย หากคุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ตามใจปากและใส่ใจเรื่องโภชนาการให้ดีที่สุดเพื่อลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง หากแม่ท้องเป็นไข้ไม่สบายอย่านิ่งนอนใจคิดว่าจะหายได้เอง ควรไปหาหมอ ก่อนที่จะทุกอย่างจะส่งผลไปสู่ลูกในท้อง เพราะเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับตัวแล้วถึงได้รู้สึกว่ามันปวดใจมาก จึงไม่อยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับลูกใครอีก
เรื่องแชร์ประสบการณ์อุทาหรณ์ของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ จะกินอะไร หรือทำอะไร ไม่ใช่แค่เราเพียงคนเดียวแล้ว แต่ยังมีหัวใจที่เต้นตุ๊บๆ อยู่ในร่างกายด้วยอีกหนึ่งชีวิต เพราะบางเรื่องเราอาจคิดไม่ถึงว่าสิ่งที่เราทำไปจะส่งผลต่อ “ลูกในท้อง” จนเกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแม่ได้ด้วย ดังนั้น อะไรที่ห้ามใจได้ ก็ควรห้ามใจไว้ก่อนจะดีที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ และตัวคุณแม่เอง
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ลูกดิ้นเพราะอะไร แม่ท้องแยกออกไหม บิดขี้เกียจ รำคาญ ชอบใจ หรือใกล้คลอด
ผลไม้ที่คนท้องควรกิน เพื่อให้ลูกคลอดออกมาแข็งแรง แม่ฟื้นตัวเร็ว
คันช่องคลอดตอนท้อง รับมือไม่ถูกระวังส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์