เคล็ดลับการตั้งครรภ์ มีอาการบ่งบอกตั้งครรภ์ของว่าที่คุณแม่แต่ละคนจะไม่มีความเหมือนกันแบบ 100% ช่วงไตรมาสแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 1-13 หรือประมาณ 3 เดือนนั้น อย่างน้อยเดือนครึ่งหลายคนอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หากสงสัยและต้องการคำตอบอาจจะซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาลองตรวจด้วยตนเองก่อนก็ได้
ที่ตรวจครรภ์หรือชุดทดสอบการตั้งครรภ์ (Pregnancy Tests) คือ อุปกรณ์ทดสอบภาวะการตั้งครรภ์ที่สามารถใช้งานและเช็กได้ด้วยตนเอง สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยหลักการทำงานของที่ตรวจครรภ์ คือ การตรวจหาฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายจะสร้างขึ้นหลังจากเกิดการปฏิสนธิได้ 6 วัน และฮอร์โมนนี้จะสูงมากในช่วง 8-12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์
ที่ตรวจครรภ์มีอยู่ให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ และรุ่นที่แตกต่างกัน แล้วแต่ความต้องการที่จะซื้อมาใช้งานของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจมีวิธีใช้ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ก่อนเปิดใช้งานจึงควรต้องศึกษาข้อมูล และวิธีใช้อย่างละเอียดก่อน เพื่อป้องกันผลลัพธ์ที่อาจคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ถึงแม้จะใช้งานได้อย่างถูกวิธี และสามารถอ่านผลได้ถูกต้องแล้ว แต่ความเคลื่อนยังสามารถเกิดได้จากปัจจัยอื่น เช่น การปนเปื้อนสารต่าง ๆ ระหว่างการตรวจ เช่น ยาที่ทานเป็นประจำ หรือสารอาหารที่ทานในวันนั้น เป็นต้น
อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ในเดือนแรกอาจจะยังไม่ชัดเท่าไร เนื่องจากค่าระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หรือ beta-hCG ยังมีระดับไม่สูงมาก ทำให้ยังไม่มีอาการและสังเกตได้ยาก
โดยวิธีสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ที่สังเกตได้ตั้งแต่ต้นคือ การขาดประจำเดือนในช่วง 1 สัปดาห์แรก ยิ่งถ้าคุณผู้หญิงคนไหนมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอและตรงเวลา การที่ประจำเดือนมาช้า ไม่มาตามปกติ หรือช้าเกิน 12-16 วัน ก็อาจเป็นหนึ่งในอาการเริ่มต้นได้เช่นกัน
– ประจำเดือนขาด จากที่ปกติรอบเดือนจะมาทุก 21 – 35 วัน หากช่วงก่อนหน้านี้ได้มีเพศสัมพันธ์และประจำเดือนไม่มาเกินกำหนด อาจสันนิษฐานได้ว่ากำลังตั้งครรภ์
– เลือดออกทางช่องคลอด หลังจากการปฏิสนธิอาจมีเลือดสีแดงออกมาจากช่องคลอดได้เล็กน้อย แต่ปริมาณน้อยกว่ารอบเดือนปกติและหายไปได้เอง แต่หากมีเลือดออกมาในปริมาณมากกว่านั้น ร่วมกับมีอาการปวดเกร็งท้องด้วย ควรรีบพบแพทย์
– อาการคัดเต้านม และหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง โดยอาจมีอาการบวม , เปราะบาง อ่อนไหวง่าย และอาจรู้สึกเสียวแปลบ ๆ ตลอดเวลา อาการคล้ายกับช่วงก่อนมีประจำเดือน แต่ครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่กำลังสร้างใหม่ และปรับให้เข้ากับสภาพร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ราคาที่ตรวจครรภ์ ยี่ห้อไหนดี รวมหมดทุกแบบไว้ที่นี่!
นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นที่เกี่ยวเนื่องด้วย เช่น วงรอบหัวนมมีสีคล้ำและขยายใหญ่ขึ้น อาจพบหลอดเลือดบริเวณรอบเต้านมนู้นขึ้น รวมทั้งมีตุ่มบริเวณรอบหัวนมเพิ่มจำนวนมาก
– ช่องคลอดผลิตตกขาวมากกว่าปกติ โดยคุณแม่มือใหม่บางคนมีตกขาวแทนการมีประจำเดือนในระหว่างตั้งครรภ์ การตกขาวเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเลือดมาคั่งที่ช่องคลอด และที่คอมดลูก ส่งผลให้ตกขาวเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นในผู้หญิง และเมื่อเริ่มตั้งท้อง การตกขาวก็อาจจะมีปริมาณมากกว่าปกติ หรือในคุณแม่มือใหม่อาจจะพบว่ามีการตกขาวแทนการมีประจำเดือนในระหว่างการตั้งท้องแบคทีเรียที่มีตามปกติในช่องคลอดเจริญเติบโตมากกว่าเดิม จนกลายเป็นตกขาวเป็นเรื่องปกติ และไม่เป็นอันตรายใด ๆ
– ปัสสาวะบ่อย เป็นอีกหนึ่งอาการคนท้อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งท้อง ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือด และของเหลวในร่างกาย ทำงาน และเพิ่มจากเดิม ส่งผลให้ไตต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การที่มดลูกขยายตัวระหว่างการตั้งท้อง และไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ยังส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยอีกด้วย
– อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง ในช่วงตั้งท้องใหม่ร่างกายมีการปรับระบบต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเติบโต ลำเลียงอาหารของลูกน้อย ขยายและปรับเปลี่ยนเต้านมให้พร้อมสำหรับการสร้างน้ำนม ในบางกรณีคุณแม่อาจจะรู้สึกเหมือนมีไข้ต่ำ ๆ แต่อาการนี้ไม่ได้เป็นอันตรายพบได้ปกติ แนะนำให้ดื่มน้ำให้มาก และพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
– อาการเหนื่อยล้า เป็นอาการแรกของการตั้งท้อง เกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความรู้สึกง่วงนอนและล้าได้ง่าย เคล็ดลับที่จะช่วยแก้อาการเหนื่อยล้าในคนท้องคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งควรปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ตั้งท้องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระยะแรกของการตั้งท้อง
– อาการคลื่นไส้ แพ้ท้อง จะยังไม่ค่อยมีอาการแพ้ท้องมากนัก สำหรับผู้ที่เพิ่งตั้งท้องได้ 1 สัปดาห์ ในบางรายอาจจะมีอาการปวดหัวหรือเวียนหัว เนื่องจากร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคน อาการเหล่านี้เป็นอาการคนท้องระยะเริ่มต้น อาจจะเริ่มมีอาการตั้งแต่สัปดาห์แรก จนไปถึง 1 เดือน ว่าที่คุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นด้วยตัวเอง หากพบว่ามีอาการหรือมีความสงสัยว่าตั้งท้อง แนะนำให้ลองตรวจเบื้องต้นด้วยที่ตรวจครรภ์ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ , ร้านขายยาทั่วไป รวมทั้งเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันผลที่ชัดเจน
ในส่วนของคุณแม่ที่เจ็บท้องน้อยระหว่างการตั้งครรภ์ ด้วยการเจ็บท้องน้อย ปวดหน่วง ๆ หรือมีอาการเจ็บแปลบที่ท้องน้อย เป็นอาการปกติของในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมดลูกมีการขยายตัว แต่หากมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงรวมถึงมีเลือดออกผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจเช็กความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจขึ้นกับการตั้งครรภ์
สำหรับว่าที่คุณแม่มือใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อน สิ่งแรกที่ควรทำ เมื่อรู้ตัวว่ากำลังมีน้อง ควรเริ่มจากการไปฝากครรภ์ เพื่อให้แพทย์ตรวจหาว่ามีความผิดปกติใดกับร่างกายหรือไม่ เพื่อเช็กว่ามีผลกระทบอะไรที่เป็นความเสี่ยงต่อตัวแม่และเด็กหรือไม่ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลตนเองในช่วงไตรมาสแรก ที่สำคัญที่สุดสำหรับ เคล็ดลับการตั้งครรภ์ ของคุณแม่มือใหม่ คือต้องหมั่นสังเกตตัวเองพร้อมกับศึกษาอาการต่าง ๆ เพิ่ม เพื่อที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เพราะเมื่อคุณแม่แข็งแรง คุณลูกในท้องก็จะแข็งแรงไปด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้ที่ประจำเดือนขาดและต้องสงสัยในการตั้งครรภ์ แต่ระหว่างที่ตรวจด้วยตนเองกลับได้ผลเป็นลบนั้น อย่าลืมว่าในบางครั้ง การตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง อาจจะยังไม่บอกอย่างชัดเจนว่ามีการตั้งครรภ์ เพราะชุดตรวจอาจจะตรวจพบการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะไม่มากพอ ซึ่งอาจกินเวลาอีกหลายวันหลังจากประจำเดือนขาดไป
บทความที่น่าสนใจ :
วิธีการตรวจครรภ์ ทำยังไงได้บ้าง เปิด 4 วิธีที่ต้องรู้
ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!
ควรตรวจครรภ์ตอนไหน ตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด ?
ที่มา (enfababy) (sikarin) (doctoranywhere)