การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

คลอดธรรมชาติ กับผ่าคลอดแบบไหนดีกว่ากัน ดูแลแผลอย่างไรบ้าง วันนี้เราได้รวบรวมคำตอบมาให้แม่ ๆ แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคลอดแบบผ่าท้อง กับ คลอดธรรมชาตินั้นแตกต่างกัน แน่นอนว่าการดูแลหลังคลอด ก็แตกต่างกันไปด้วย การดูแลหลังผ่าท้อง กับ หลังคลอดธรรมชาติ แตกต่างกันอย่างไร แผลผ่าตัด การดูแลทำความสะอาด อาบน้ำ การกำจัดน้ำคาวปลา ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแลหลังผ่าท้อง

1. แผลผ่าตัด คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยปลาสเตอร์กันน้ำ แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเย็บด้วยไหมธรรมดา ให้ไปตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

2. การอาบน้ำ ทำความสะอาด ห้ามให้แผลโดนน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้เมื่อครบ 3 วันโดยไม่เป็นอันตรายกับแผล แต่ถ้ากลัวแผลโดนน้ำ ควรใช้วิธีการเช็ดตัวแทนการอาบน้ำ และรอให้ครบ 7 วันก่อน ถ้าสังเกตว่ามีน้ำซึมเข้าแผล ให้ไปเปลี่ยนปลาสเตอร์ปิดแผล

3. การกำจัดน้ำคาวปลา หากผ่าท้อง หลังจากคลอดลูก และคลอดรกแล้ว คุณหมอจะเช็ดทำความสะอาดมดลูก เพื่อให้มั่นใจว่าได้กวาดเอาชิ้นส่วนของรกออกมาให้หมด ไม่ให้มีเหลือตกค้างอยู่ ซึ่งเป็นการช่วยให้เยื่อบุหรือน้ำคาวปลาส่วนใหญ่หลุดลอกออกไป ตั้งแต่เสร็จสิ้นการผ่าตัดแล้ว แต่คุณแม่ก็อาจจะยังคงมีน้ำคาวปลาเหลืออยู่บ้าง ในวันแรก ๆ จะมีสีแดงสด และมีปริมาณมาก หลังจากนั้นจะมีสีอ่อนลงและปริมาณลดลง

4. ใส่สายสวนปัสสาวะ ถ้าผ่าท้องคลอด ใน 12-24 ชั่วโมงแรก คุณแม่จะมีสายสวนปัสสาวะอยู่ หลังจากหมอเอาสายสวนปัสสาวะออกแล้ว คุณแม่ต้องปัสสาวะเองภายใน 6 ชั่วโมง เมื่อสามารถปัสสาวะได้เองแล้ว ต้องทำความสะอาดอย่างดี ในระยะแรกลำไส้ใหญ่อาจจะยังไม่ขยับตัวเพราะได้มีการสวนอุจจาระก่อนที่จะผ่าคลอด แต่ถ้าวันที่ 3 แล้วยังไม่ถ่าย ควรต้องใช้ยาถ่ายช่วย

5. การเคลื่อนไหว ขยับตัว 1 หนึ่งวันหลังคลอด สามารถขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบทได้ ควรลุกออกจากเตียง อย่างน้อย 2 ครั้ง และในวันที่ 2 ควรเดินไปมาได้ แต่การผ่าท้อง ผ่าตัดคลอดอาจทำให้คุณแม่เจ็บแผลหลังคลอดมากและนานกว่าการคลอดธรรมชาติ บางคนผ่านมา 3-5 วันแล้วยังเคลื่อนไหว ลุกเดินลำบาก

6. การกินอาหาร หลังผ่าคลอด โดยทั่วไปจะงดน้ำ และอาหารประมาณ 12-24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ในวันถัดมาสามารถดื่มน้ำ รับประทานอาหารเหลว และอาหารอ่อนได้ พร้อมกับหยุดให้น้ำเกลือ หลังจากนั้นก็กินอาหารได้ปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. ให้ยาแก้ปวด ภายหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก จะได้รับยาแก้ปวดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด หรือเข้ากล้ามเนื้อ หลังผ่าคลอด วันที่ 2-3 มักเปลี่ยนจากยาฉีด เป็นยากิน เช่น พาราเซตามอลธรรมดาได้ หรืออาจเสริมด้วย NSAID เช่น โวลทาเรน (Voltaren) ถ้าคุณแม่ยังปวดแผลมากอยู่

การดูแลหลังคลอดธรรมชาติ

1. แผลฝีเย็บ คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์

2. การอาบน้ำ ทำความสะอาด คุณแม่อาบน้ำทำความสะอาดได้ หลัง 12-24 ชั่วโมง โดยใช้น้ำและสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง และซับให้แห้งเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรืออาบน้ำในอ่าง

3. การกำจัดหน้าคาวปลา ถ้าคลอดปกติ สิ่งที่จะช่วยให้เกิดการขับน้ำคาวปลาได้ดี คือการขยับตัวให้เร็ว ควรขยับตัวให้ได้ภายใน 24 ชม. การเคลื่อนไหว การขยับตัวได้เร็วจะช่วยทำให้น้ำคาวปลาไหลได้สะดวกยิ่งขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. ไม่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะ หลังคลอด 8 ชั่วโมง คุณแม่ควรถ่ายปัสสาวะได้เอง แต่บางคนจะถ่ายปัสสาวะลำบากใน 1-2 วันแรกหลังคลอด เนื่องจากความตึงตัวของ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่มีกำลัง หรือยืดมากเกินไป ท้าให้ปัสสาวะคั่งหรือถ่ายลำบาก

5. ลุกนั่ง ขยับตัวได้หลังคลอด คลอดธรรมชาติ หลังคลอดวันเดียวก็ขยับตัว หรือลุกเดินได้แล้ว และการเคลื่อนไหวร่างกาย และเดินไปเดินมาจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้ดีขึ้น

6. การกินอาหาร ควรเน้นอาหารที่มีเส้นใย เช่น ผักผลไม้สด ป้องกันอาการท้องผูก ดื่มน้ำมาก ๆ เน้นอาหารบำรุงน้ำนม เพื่อให้มีน้ำนมสำหรับลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. การให้ยาระงับปวด ถ้าคุณแม่ปวดมาก คุณหมอจะให้ยาแก้ปวดเป็นยารับประทาน เพื่อระงับการปวดแผลที่ฝีเย็บ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)

การดูแลหลังผ่าท้อง

การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

  • การดูแลแผลผ่าท้องห้ามโดนน้ำ แต่คลอดธรรมชาติสามารถโดนน้ำ อาบน้ำได้
  • ผ่าท้องต้องมีสายสวนปัสสาวะ คลอดธรรมชาติไม่ต้องใช้สวนปัสสาวะ
  • การผ่าท้อง น้ำคาวปลาจะน้อยกว่า เพราะมีการเอาออกไปบ้างตอนผ่าท้องคลอด
  • ผ่าท้องเจ็บแผลมากกว่า นานกว่า คลอดธรรมชาติแผลเล็ก เจ็บแผลน้อยกว่า
  • คุณแม่ที่ผ่าท้องคลอดมักให้นมลูกได้ลำบาก หรือช้ากว่า ถ้ามีอาการเจ็บแผลผ่าคลอด

 

ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 

มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!! https://bit.ly/32T4NsU

 

ที่มา (rtcog) (paolohospital) (baby.kapook) (med.cmu) (samitivejhospitals)

บทความโดย

gloy