เล่นจั๊กจี๊ลูกยังไงถึงพอดี เล่นแล้วมีประโยชน์ยังไง

เล่นจั๊กจี๊ กับลูกมันดีน่ะ ช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างลูกกับพ่อแม่ แต่คุณคงสงสัยว่า ทำไมคนถึงหัวเราะเวลาที่ถูกจี้ และทำไมคนเราถึงจั๊กจี๊ตัวเองไม่ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เล่นจั๊กจี๊กับลูกแล้วดี แต่ควรเล่นยังไงให้พอดี

หนึ่งในวิธีการเล่นกับลูกที่พ่อแม่ชอบใช้คือ เล่นจั๊กจี๊ กับลูก เพราะมันทำให้ลูกน้อยได้หัวเราะ และสนุกไปกับเรา การเล่นแบบนี้จะช่วยให้ลูกน้อยและพ่อแม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้นด้วยน่ะ แต่คุณรู้ไหมว่าการทำเวลาจั๊กจี๊แล้วคนเราต้องหัวเราะ และมีวิธีอะไรที่หยุดไม่ให้บ้าจี้บ้าง

 

ทำไมจั๊กจี้ถึงทำให้หัวเราะ

ปกติแล้วทุกคนจะมีจุดที่จั๊กจี๊ในร่างกาย พอมีคนไปกระตุ้นบริเวณนั้นทำให้คนที่โดนระเบิดหัวเราะออกมา เพราะมันเป็นการตอบสนองทางร่างกาย บางคนอาจคิดว่าที่เราหัวเราะออกมาเป็นเพราะมีความสุข จริงๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นภาวะที่เรากำลังตื่นตระหนกมากกว่า เช่นเดียวกับเราจะขนลุกมีเจอสัตว์ที่น่าขยะแขยงนั่นเอง แต่บางครั้งคนที่หัวเราะก่อนกลับเป็นคนที่แกล้งจั๊กจี๊มากกว่าจริงไหม?

การตอบสนองต่องการจั๊กจี๊ เป็นการตอบสนองจากสมองต่อการสัมผัสที่ไม่คาดคิด ดังนั้น เวลาที่คุณจั๊กจี๊ตัวเองจึงไม่ได้ผล เพราะในสมองจะรู้ก่อนว่ากำลังจะโดนจั๊กจี๊นะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จั๊กจี๊ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างลูกดีขึ้น

การเล่นกับลูกด้วย “จั๊กจี๊” เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งระหว่างพ่อ แม่และลูก รวมถึงยังเป็นวิธีการเล่นกับเพื่อนด้วย ซึ่งนักวิจัยได้บอกว่าประโยชน์ของการเล่นแบบนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน แต่บางทีอาจใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะมันอาจจะสร้างความเจ็บปวด หรือไม่พอใจได้ เพราะฉะนั้นเกิดจะเล่นกับใครเช็คดูนิดนึงนะ

 

ทำไมคนถึงรู้สึกบ้าจี้ไม่เท่ากัน

คนส่วนใหญ่จะเข้าไปจั๊กจี๊คนอื่นบริเวณหน้าท้อง เพราะเป็นส่วนที่คิดว่าคนส่วนใหญ่เป็น และดูจะเป็นส่วนที่ทำให้คนรู้สึกอ่อนแรงมากที่สุด เมื่อเราโดนจั๊กจี้ตัวจะงอเนื่องจากร่างกายจะเรียนรู้การป้องกันตัวเอง ในปี 2540 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และซานดิเอโก ได้ทำการศึกษานักศึกษาจำนวน 72 คน พบว่า จุดที่พวกเขาจั๊กจี๊มากที่สุด คือ บริเวณ เอว บริเวณใต้เขน ซี่โครง และใต้ฝ่าเท้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากย้อนกลับไปดูผลงานวิจัยเมื่อปี 2440 พบว่า เด็กมักจะมีการจั๊กจี๊มากที่สุดที่บริเวณใต้ฝ่าเท้า ใต้แขน คอ และคาง เมื่อคนถูกจั๊กจี๊แต่ละคนจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่างกัน ขึ้นอยู่กับระบบการปกป้องตัวเองของแต่ละคน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การเล่นบ้าจี๊กับลูก

พญ.นลินี เชื้อวณิชชากร กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกว่า พ่อแม่ควรดูจังหวะในการเล่นกับลูก และปล่อยให้เขาได้พักบ้าง ไม่เช่นนั้นลูกอาจจะรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป สำหรับอาการบ้าจี๊ของเด็กนั้น เกิดจากความไวของการรับรู้การสัมผัส แน่นอนว่าแต่ละคนไม่เท่ากัน และแสดงออกต่างกัน เด็กบ้างคนแค่ใส่เสื้อผ้าก็บ้าจี้แล้ว ซึ่งเด็กสามารถพัฒนาระบบการเรียนรู้ของสมองตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึง 7 ขวบ ทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึกว่าชอบ ไม่ชอบ กลัว ไม่กลัว อีกด้วย

 

สำหรับพ่อแม่คนไหนที่ชอบเล่นบ้าจี้กับลูกก็ควรเล่นให้พอเหมาะ ลูกจะได้รู้สึกสนุก และจะไปเป็นการเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างคุณกับลูกด้วย หากเล่นมากเกินไป ลูกอาจจะรู้สึกกลัวไปเลยก็ได้

 

ที่มา: voxmanager

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลูก 1 เดือนก็เล่นด้วยได้แล้วนะ วิธีเล่นกับลูกวัย 1 เดือน

5 ไอเดียโดนใจ เล่นกับลูก แบบง่ายๆ สไตล์คุณพ่อมือใหม่

เดินเล่นกับลูกแค่ครึ่งชั่วโมง เปลี่ยนคุณกับเขาให้รักและผูกพันกันมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri