ภาวะรกงอกติด คืออะไร อาการ รกงอกติด เป็นแบบไหน มีอะไรบ้าง ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รกงอกติดเป็นอีกหนึ่งภาวะผิดปกติทางสูติกรรม เป็นภาวะที่รกเกาะแน่นกับกล้ามเนื้อมดลูก เพราะโดยปกติแล้วรกต้องเกาะที่ชั้นเยื่อบุมดลูกและจะมีการลอกตัวหลังคลอดทารกภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที แต่ถ้าเกิดว่ารกมันเกาะลึกมากเกินไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ก็จะทำให้รกไม่สามารถลอกตัวได้ตามปกติ เพราะรกไปติดอยู่ในโพรงมดลูกทำให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดซึ่งเป็นอันตรายต่อมารดาจนถึงตายได้ แต่อุบัติการณ์ รกงอกติด ไม่ได้พบบ่อย สามารถพบได้ประมาณ 1-3 รายใน 1,000 รายในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

 

 

ใครเสี่ยงต่อการมีภาวะ รกงอกติด ?

  • คนที่เคยมีภาวะรกเกาะต่ำ คือ ปกติรกจะต้องเกาะติดที่ส่วนบนของโพรงมดลูก แต่ถ้าเกิดว่ามันไปเกาะผิดที่อย่างบริเวณส่วนล่างของโพรงมดลูก ก็จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดรกงอกติดได้ง่าย เพราะมีโพรงมดลูกมีชั้นเยื่อบุโพรงมดลูก และชั้นกล้ามเนื้อที่บางกว่าส่วนมดลูกนั่นเอง
  • คนที่เคยผ่าตัดคลอด เพราะมีรอยแผลผ่าตัดที่โพรงมดลูกทำให้มดลูกบาง ทำให้รกที่มาเกาะส่วนนี้ก็ลึกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก และที่เสี่ยงมากที่สุดคือมีรกเกาะต่ำในรายที่เคยผ่าตัดคลอดร่วมด้วย
  • คนที่เคยมีภาวะรกงอกติดในครรภ์ก่อน
  • คนเคยขูดมดลูกจากการแท้งบุตร หรือคนที่มีเลือดออกผิดปกติตรงโพรงมดลูก ทำให้เยื่อบุของโพรงมดลูกบาง รกจึงเกาะเข้าไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
  • คนที่เคยผ่านการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก
  • คนที่เคยแท้งแล้วมีการติดเชื้อทำให้โพรงมดลูกอักเสบ

 

อาการของรกงอกติดเป็นแบบไหน มีอะไรบ้าง ?

1. ระยะก่อนคลอด

ในระยะก่อนคลอดส่วนใหญ่ยังไม่มีอาการอะไร นอกจากกรณีที่รกเกาะลึกจนทะลุเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะที่อาจทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ หรือบางรายก็อาจจะปวดท้อง เจ็บท้องแบบเฉียบพลัน เพราะว่ารกเกาะลึกมากจนทะลุกล้ามเนื้อมดลูกจนมาในช่องท้องนั่นเอง

 

2. หลังคลอดทารก

หากรกงอกติดแล้วรกจะลอกตัวได้ไม่หมดและหลังคลอดทารกได้ภายใน 30 นาที จะทำให้เกิดเลือดออกจากโพรงมดลูกมากผิดปกติหรือที่เรียกว่า ‘ตกเลือดหลังคลอด’ แบบเฉียบพลัน ซึ่งมีความเสี่ยงถึงตายได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. รกงอกติด บางส่วน

หากมีรกติดค้างในโพรงมดลูกจะทำให้เกิดเลือดออกระยะหลังคลอดแบบช้า (Delayed postpartum hemorrhage) จนทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

 

รกงอกติด สามารถป้องกันได้หรือไม่ ?

อีกหนึ่งคำถามที่มักพบบ่อย ซึ่งถามว่ามันป้องกันได้ไหมก็อาจจะสามารถป้องกันได้บ้าง อย่างเช่นหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างเช่นลดการผ่าตัดคลอดบุตรที่ไม่จำเป็น และอีกคำถามยอดนิยมไม่ต่างกันก็คือเป็นแล้วจะกลับมาเป็นอีกไหม คำตอบก็คือสามารถกลับเป็นซ้ำได้ในกรณีที่ไม่ได้รักษาด้วยการตัดมดลูก ดังนั้น ผู้เคยมีรกงอกติดมาก่อน หากต้องการมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์ครั้งใหม่ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงก่อน จะได้วางแผนในการตั้งครรภ์ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทารกที่เกิดจากรกงอกติด ปกติหรือไม่?

  • ในช่วงตั้งครรภ์ หากระบบไหลเวียนเลือดในรก ส่งอาหารจากมารดาไปทารกได้ดีไม่มีปัญหา ทารกก็จะเติบโตดีตามปกติ แต่ถ้ารกมันไปเกาะบริเวณที่ทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังทารกได้ไม่ดีเท่าไร ก็อาจจะทำให้ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ หรือต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนดได้
  • ในระยะระหว่างการคลอด ถ้าไม่มีเลือดออกก่อนคลอด และวางแผนการผ่าตัดคลอดร่วมกับการตัดมดลูกเอาไว้แล้ว สุขภาพทารกก็จะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ ว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนดหรือคลอดครบกำหนด ถ้ามีเลือดออกก่อนคลอดมากเกินไปก็อาจจะเป็นอันตรายต่อทารกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

 

การรักษาภาวะรกงอกติด ทำอย่างไร?

แนวทางสำหรับการรักษาภาวะรกงอกติด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ภาวะรกงอกติด แบบรุนแรงตั้งแต่ระยะก่อนคลอด

แพทย์ที่ดูแลจะอธิบายถึงความเสี่ยงและอันตรายว่า คุณแม่มีโอกาสที่จะเสียเลือดมากหรือควรได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน โดยแพทย์อาจจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการผ่าตัด การให้เลือด หรือบางครั้งอาจทำการผ่าคลอดบุตรในเวลาที่เหมาะสมโดยที่ไม่รอให้เจ็บครรภ์ เพราะค่อนข้างอันตรายมากและต้องใช้ทีมแพทย์หลายคนในการรักษา และต้องมีการเตรียมเลือดเอาไว้ให้เพียงพอ หลังจากนั้นทีมแพทย์อาจจะผ่าตัดออกไปด้วยหลังคลอดแล้ว เพราะถ้าไม่ล้วงเอารกที่ติดค้างนั้นออกมาจะทำให้เสียเลือดมากจนผู้ป่วยเสียชีวิตได้

 

2. กรณีรกงอกติดก่อนคลอดไม่ได้ แต่หลังคลอดทารกแล้วรกไม่คลอดออกมาด้วย

สำหรับกรณีนี้หากพบว่ารกติดตรึงไม่แน่นมากหรือว่ามีการติดเพียงบางส่วนเท่านั้น แพทย์ก็อาจจะทำการล้วงออกมา แต่ก็ทำให้เสียเลือดมากได้เช่นเดียวกัน ต้องมีเลือดสำรองไว้หรือไม่ก็ให้สารน้ำทดแทนที่เพียงพอแทน แต่ถ้ารกติดแน่นในโพรงมดลูกแน่นเกินไปก็อาจจะทำการขูดมดลูกต่อไป และจะมีการให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อ หากท้ายที่สุดไม่สามารถขูดหรือล้วงออกมาได้ เพราะรกติดแน่นมากเกินไปทีมแพทย์จะไม่พยายามขูดหรือล้วง แต่จะพิจารณาตัดมดลูกเพื่อช่วยชีวิตมารดาไว้

 

ภาวะรกงอกติด มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?

ผลข้างเคียงจากภาวะรกงอกติด คือ การเกิดภาวะรกค้างที่จะส่งผลให้เกิดดังนี้

  1. การตกเลือดหลังคลอด ที่มีการเสียเลือดมากเกินไปอาจรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
  2. การติดเชื้อในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

 

ภาวะรกงอกติดมีความสำคัญอย่างไร?

  1. หากคลอดทารกแล้วแต่รกไม่คลอดตาม จะทำให้มดลูกเกิดการรัดตัวได้ไม่ดี จนทำให้เลือดออกหลังคลอดเยอะเกินไป หรือที่กล่าวไปข้างต้นว่ามันคือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งมาจากแผลเปิดบนเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
  2. ในภาวะตกเลือดหลังคลอด นอกจากสาเหตุที่ทำให้มีความเสี่ยงถึงชีวิตของมารดาแล้ว การที่ยังมีรกค้างอยู่แพทย์ก็จะเริ่มทำการล้วงออกมา หรือไม่ก็เป็นการขูดมดลูก ซึ่งหัตถการแบบนี้ก็เพิ่มความเสี่ยงได้เหมือนกัน และผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลนานพอสมควร
  3. หากไม่ได้เสียเลือดเยอะมากหรือไม่ได้มีอะไรรุนแรง ผลข้างเคียงของการติดรกก็จะมาในรูปแบบ ทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียได้ง่าย และอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมอง ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนโพรแลกตินลดลง ทำให้คุณแม่มีน้ำนมไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูกน้อย หรือที่เรียกว่า กลุ่มอาการชีแฮน นั่นเองค่ะ

 

 

แพทย์วินิจฉัย ภาวะรกงอกติด อย่างไร?

1. ในกรณีก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด

ทางแพทย์จะแนะนำให้ระวังอย่างมาก ว่าอาจจะเกิดภาวะรกงอกติดซ้ำได้ในการคลอดครั้งต่อไป หากมีความเสี่ยงตามข้อมูลที่ได้กล่าวไปเมื่อข้างต้น ซึ่งความรุนแรงของภาวะนี้มักจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระหว่างฝากครรภ์ บางครั้งอาจจะต้องตรวจครรภ์ผ่านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอมอาร์ไอ (MRI) และถ้าเกิดว่าพบรกเกาะลึกจนทะลุกล้ามเนื้อมดลูก ทางทีมแพทย์ก็จะเริ่มทำการวางแผนเกี่ยวกับการผ่านคลอดอย่างระมัดระวัง เพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่เอาไว้ เนื่องจากภาวะนี้มีความรุนแรงและมีความเสี่ยงสูงมาก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ในกรณีหลังคลอด

หากรกไม่คลอดออกมาด้วยทั้งอันหรือคลอดออกมาไม่หมด การวินิจฉัยไม่ยากเลย เพราะแพทย์จะทราบอยู่แล้วเพราะไม่มีรกคลอดออกมา และถ้าเกิดว่ารกมันเกาะติดแน่นมาก ๆ หรือเกาะติดแน่นในบางส่วน แพทย์จะเริ่มทำการตรวจเช็กดูว่ามันติดค้างตรงไหนบ้าง เมื่อตรวจรกแล้ว แพทย์จะเห็นร่องรอยการฉีกขาดของรก ของเส้นเลือดรก และบางครั้งต้องใช้อัลตราซาวนด์ภาพมดลูกมาช่วยการวินิจฉัยว่า มีรกติดค้างในโพรงมดลูกหรือไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ด้วย

 

จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ารกที่ผิดปกตินั้นมีความเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่เคยแท้งมาก่อน หรือคุณแม่ที่มีโพรงมดลูกบาง ดังนั้น ในขณะฝากครรภ์ ต้องดูแลตัวเองให้ดี และเชื่อฟังตามคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกในท้องโตแค่ไหนในแต่ละเดือน แม่ท้องห้ามพลาดเช็คขนาดของลูกได้เลย

แม่รู้ไหม!!ยอดมดลูกบ่งบอกขนาดทารกในครรภ์

ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการอย่างไรในไตรมาส 2-3

ที่มา : 1, 2

บทความโดย

supasini hangnak