สถานที่ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก ที่ไหนบ้างไม่ควรพาเด็กไป
ในบางสถานที่เช่น โบสถ์ สถานที่ สาธารณะ แล ะที่บ้านเวลา รับประทานอาหาร (นี่เป็นเพียงบางตัวอย่าง) จะเป็นสถานที่ ที่คุณจะเห็นว่ามีเด็ก แต่ไม่ควรมี เสียงเด็กรบกวน สถานที่ที่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก มีด้วยกันหลายแบบ หลายที่ หลายประเภท
แต่ในฐานะที่เป็น พ่อแม่ เรารู้ว่าเราได้แหกกฎ เหล่านั้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่นั่นไม่ใช่ สิ่งไม่ดี เพราะเด็ก ๆ ต้องการแสดงออกถึงอารมณ์ หรือ ความรู้สึก หรือใช้พลังที่มีไปตามธรรมชาติ ซึ่งพวกเขาจะช่วยเป็นสีสันและสร้างความน่ารักให้กับครอบครัว แต่ยังมีบางสถานที่ หรือ บางสถานการณ์ที่ไม่เหมาะ สำหรับเด็กเลย เนื่องจากจะทำให้เกิด ความยุ่งเหยิง ทำให้บรรยากาศ ดูไม่ผ่อนคลาย หรืออาจทำให้ ตัวเด็ก เองรู้สึกอึดอัด
ฉันไม่ควรพาลูกไปที่ไหนบ้าง?
1. งานปาร์ตี้กับที่ทำงาน
งานเหล่านี้จัดขึ้น สำหรับพนักงาน หรือ สามีภรรยา หรือ คนที่กำลังคบกัน อยู่ให้มาร่วมงาน ยกเว้นการไปปิกนิก กันกับคนในบริษัท ซึ่งจัดขึ้นสำหรับครอบครัว และ มีประกาศว่าให้นำ ครอบครัวไปด้วยได้
2. งานแต่งงานเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน
งานนี้คุณควรไปกับสามี หรือ ภรรยาของคุณ เด็ก ๆ ควรได้รับ อนุญาตให้เข้าร่วมเฉพาะงานแต่งของ คนในครอบครัวตราบเท่าที่…
- งาน นี้ไม่ได้กำหนดให้เชิญ เพียงผู้ใหญ่อย่างเดียว
- ลูก ของคุณต้อง ประพฤติตัวดี
- มีห้องเลี้ยงเด็ก หรือ บริเวณที่คุณจะสามารถ ฝากลูกไว้กับ เพื่อน ที่คุณเชื่อใจได้ หรือคุณ พร้อมที่จะ ออกจากงานหาก ลูกเริ่ม งอแงขึ้นได้
3. บาร์ หรือ ห้องสังสรรค์ไม่ใช่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
4. สถานที่ท่องเที่ยวเกี่ยว กับ ประวัติศาสตร์ หรือ ธรรมชาติ
เด็กเล็ก ๆ เบื่อเร็ว และ งอแงง่าย และสำหรับเด็กเล็ก ที่อยู่ในรถเข็น จะคิดว่า ภูเขาลูกนี้ก็ เหมือนกับ เขาลูกนั้น นั่นแหละ ไม่สำคัญอะไรเลย
5. โรงละครเพลง หรือ มหรสพ
ไม่ใช่ที่ที่เด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบควรไป เด็กที่อายุมากกว่านี้ อาจไปได้แต่คุณต้องมั่นใจว่า เรื่องราวในบทจะดึงดูด ความสนใจของลูกได้นาน
6. ร้านขายของโบราณ ที่มีของราคา สูงตั้งโชว์อยู่
มันไม่แฟร์ กับ เจ้าของร้าน ที่ต้องเสี่ยง กับ ความเสียหายจาก เด็ก และ มันไม่แฟร์ กับ เด็ก เช่นกัน หากคุณพาเขา ไปในที่ที่มีของ น่าสนใจ มากมาย และ ไม่ให้เขาสำรวจอะไรเลย หากลูกคุณอายุ 5-6 ขวบแล้ว พวกเขาจะ สามารถปฏิบัติ ตามคำสั่งที่ คุณบอกว่า “อย่าจับนะลูก” ได้ แต่พวกคุณ ก็ไม่ควรพา ลูกไปในที่ที่ อาจเกิดความยุ่งเหยิงได้
7. ร้านอาหารที่ไม่ได้บ่งบอกถึง
“ความเป็นครอบครัว” คู่รัก ที่อยู่ในร้านอาหารลักษณะ นี้มักต้องการค่ำคืน ที่ไม่ต้องมีเสียง เด็กรบกวน หรือ มี อาหารเปื้อนเต็มโต๊ะไปหมด
8. พิพิธภัณฑ์ศิลปะหรืองานแสดงสินค้า
ไม่เหมาะสำหรับเด็ก 2-8 ขวบ เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบจะไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากคุณให้ลูกอยู่แต่ในรถเข็นได้ สำหรับเด็กวัย 8 ขวบหรือโตกว่าควรได้รับอนุญาตหากพวกเขารู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรในสถานที่สำหรับผู้ใหญ่เช่นนี้
9. คืนที่สาว ๆ ออกไปเที่ยวกัน สำหรับสาว ๆ
ที่ออกไปเที่ยวกลางคืนด้วยกัน ถ้าไม่ใช่เพราะอยากมีเวลาเป็นส่วนตัวและอยู่ห่างลูกบ้าง ก็อาจเป็นเพราะไม่มีลูกและไม่ต้องการอยู่กับเด็กในค่ำคืนนั้นเช่นกัน ดังนั้น คุณรู้แล้วว่าคุณจะต้องหาพี่เลี้ยงเด็ก หากคุณหาไม่ได้ คุณอาจต้องเลี้ยงลูกเองที่บ้าน
10. เมื่อคุณไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ คุณไม่ควรพาลูกไปด้วย เนื่องจากคุณจะวุ่นอยู่กับการบอกเขาให้หยุดเล่น และไม่ใช่หน้าที่ของพยาบาลหรือผู้ที่ดูแลสถานพยาบาลที่ต้องคอยดูลูกคุณในขณะที่คุณเข้ารับบริการด้านการแพทย์ แต่กรณีนี้ยกเว้นสำหรับเด็กทารกหรือเด็กเล็ก ๆ คุณสามารถพาเขาไปได้โดยที่คุณให้เขาเห็นคุณตลอดเวลาที่คุณเข้ารับบริการด้านการแพทย์
แล้วถ้าเป็น….?
งานศพ:
คุณควรพาลูกคุณไปที่งานศพด้วยหรือไม่? การพาลูกไปงานศพด้วยไม่ใช่สิ่งไม่ดี เด็กมักสร้างรอยยิ้มให้กับผู้คน โดยเฉพาะคนที่กำลังเจ็บปวดกับการสูญเสีย ข้อนี้เป็นจริงอย่างยิ่งโดยเฉพาะการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว สิ่งที่คุณต้องทำคือ ทำให้ลูกสนใจอย่างอื่นแทนอย่างเงียบ ๆ สำหรับเด็กอายุมากกว่า 3 ขวบ คุณควรเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมากับลูกของคุณ
หากงานนี้จัดขึ้นสำหรับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานเท่านั้น คุณควรให้ลูกรออยู่ที่บริเวณเลี้ยงเด็ก
บทความใกล้เคียง: วิธีคุยกับลูกเมื่อมีคนรู้จักเสียชีวิต
งานแต่งและงาน Baby Shower
งานเหล่านี้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่ได้รับเกียรติ ไม่ใช่เด็กน้อยขี้แย หรือเด็กที่ไม่สามารถละจากการหยิบของขวัญหรือเครื่องดื่มได้ การนำลูกคุณไปในงานเลี้ยงเช่นนี้ ควรเป็นการตัดสินใจเป็นกรณีไป นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้จักผู้ได้รับเกียรติในงานนั้นมากน้อยแค่ไหน หรือในกรณีที่คุณรู้ว่ามีเด็กคนอื่นมาร่วมงานด้วย เป็นต้น
การเคารพผู้อื่น
สำหรับบางสถานการณ์ที่คุณไม่ควรพาลูกไปด้วย คุณควรเคารพในสิ่งนั้น และนั่นไม่ใช่เวลาที่คุณจะ “ยืนกราน” หรือคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องทำตามกฎ
Source : wanderwisdom
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
แนะนำ นิทานเด็ก นิทานสำหรับเด็ก มีประโยชน์ เสริมสร้างจินตนาการ
เผยเทคนิค หยุดน้ำตาเจ้าตัวเล็ก จบปัญหา ลูกร้องไห้ไม่หยุด พาพ่อแม่แฮปปี้