ทารกเป็นหวัดมีเสมหะ เสมหะติดคอลูก ควรทำอย่างไร ? ให้ลูกหายใจโล่ง

อากาศเปลี่ยน ถ้าทารกผิดปกติ มีอาการคล้ายไข้หวัด ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะอาการลูกอาจรุนแรงจนกลายเป็นเสมหะลงปอด ปอดอักเสบหรือปอดบวมได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระวังให้ดี เสมหะลงปอด ทารก ทารกเป็นหวัดมีเสมหะ เสมหะติดคอลูก เห็นลูกไออย่าคิดแค่ว่า อากาศเปลี่ยน ลูกแค่เป็นหวัด สังเกตดี ๆ ลูกอาจมีความเสี่ยง ปอดอักเสบ ปอดบวม โดยเฉพาะช่วงอากาศหนาวเย็น มีฝน ยิ่งต้องสังเกตอาการลูก

 

แม่แชร์อุทาหรณ์ลูกมีเสมหะลงปอด เสมหะติดคอลูก

จากประสบการณ์ของคุณแม่ท่านหนึ่ง ได้โพสต์ว่า น้องอายุเพียง 2 เดือน ขี้มูกแห้ง ไอนิดหน่อย คิดว่าอากาศเปลี่ยนแปลง จนน้องทานนมแล้วอ้วก จึงรีบพามาหาหมอ พบว่า ลูกมีเสมหะลงปอด ปอดอักเสบ และมีปอดบวมข้างซ้ายนิดเดียว ลูกจึงต้องนอนโรงพยาบาล และต้องถูกดูดเสมหะที่ปอดวันละ 3 ครั้ง

 

เสมหะติดคอลูก

ทำไมร่างกายจึงมีเสมหะ

เสมหะเกิดขึ้นเพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามาในทางเดินหายใจ และขับเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกโดยไอ สำหรับผู้ใหญ่แล้ว สามารถสั่งน้ำมูกออกจากช่องจมูกและไอเอาเสมหะออกจากปอดได้ แต่ทารกหรือเด็กเล็ก ๆ นี่สิ ไม่สามารถสั่งน้ำมูกและไอได้เอง จำเป็นต้องดูดเสมหะเพื่อดูดน้ำมูกออกจากช่องจมูกและเป็นการกระตุ้นให้ไอเพื่อขับเสมหะออกจากปอด

การที่ไม่มีน้ำมูกในช่องจมูก และไม่มีเสมหะคั่งค้างในปอดจะทำให้เด็กหายใจสะดวกสามารถดูดนมได้ดี นอนหลับสบาย ทั้งยังไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค จึงไม่เกิดการติดเชื้อตามมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่น่าสนใจ : วิธีเคาะปอดที่ถูกต้อง ระบายเสมหะ ทำได้ตอนกี่เดือน

 

ทารกเป็นหวัดมีเสมหะ ดูดเสมหะทารกตอนไหนดี

เมื่อลูกมีเสมหะควรดูดเสมหะก่อนให้นมหรืออาหาร ซึ่งทารกหรือเด็กเล็ก ไม่อาจบอกได้ว่า หนูกำลังมีเสมหะนะ พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตอาการ เสมหะลงปอด ทารก ดังนี้

  • มีน้ำมูกในจมูกหรือมีเสมหะในคอ
  • หายใจครืดคราด หรือเมื่อวางมือแนบอกหรือหลัง จะรู้สึกว่าครืดคราด
  • กระสับกระส่าย
  • หายใจลำบาก จมูกบานหรืออาจจะหายใจเร็วกว่าปกติ
  • ดูดนมไม่ดี
  • รอบปากซีดหรือเขียวคล้ำ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เสมหะติดคอลูก

วิธีดูดเสมหะทารก

วิธีดูดเสมหะทางจมูกและปาก ทำอย่างไร

  1. ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูดเสมหะ
  2. ในกรณีเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ใช้ผ้าห่อตัวเพื่อเก็บแขนทั้ง 2 ข้างป้องกันไม่ให้เด็กเอามือมาปัดและดันขณะดูด ทำให้ดูดเสมหะได้สะดวกและนุ่มนวล
  3. ก่อนดูดเสมหะให้ตรวจเครื่องดูดเสมหะว่าทำงานดีหรือไม่
  4. ใช้สายดูดเสมหะขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และใช้แรงดูดในขนาดพอที่จะดูดเสมหะได้ดี
  5. ขณะดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสะบัดหน้าไปมาขณะดูด และป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเสมหะหรือเศษอาหารลงปอดเมื่อเด็กมีอาเจียนขณะดูด ค่อย ๆ สอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือ ช่องจมูกให้ถึงบริเวณคอหอยหลังโพรงจมูก (ประมาณความลึกของสายโดยวัดระยะจากปลายจมูกถึงติ่งหูความลึกของสายเท่ากันไม่ว่าจะสอดสายดูดเสมหะเข้าทางปากหรือช่องจมูก) ซึ่งเด็กมักจะเกิดอาการไอเมื่อใช้สายดูดเสมหะกระตุ้นบริเวณนี้ เมื่อเด็กไอเสมหะจะหลุดจากปอดขึ้นมาในคอ ทำการดูดเสมหะในคอและปากออกให้หมดโดยขณะดูดให้ค่อย ๆ ขยับสายขึ้นลงอย่างช้า ๆ และนุ่มนวล
  6. ทำการดูดเสมหะจนกระทั่งไม่มีเสมหะในปอด
  7. สังเกตลักษณะ จำนวน และสีของเสมหะ

บทความที่น่าสนใจ : ลูกแพ้ขนสัตว์ควรจัดการอย่างไร? เมื่อมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมดูดเสมหะทารก

  • ถ้าเด็กไม่มีน้ำมูกให้สอดสายดูดเสมหะผ่านปากเพราะการสอดสาย เข้าทางช่องจมูก จะทำให้เด็กเจ็บมากกว่าการสอดสายเข้าทางปาก
  • การสอดสายเข้าในช่องจมูกให้ค่อย ๆ สอดสายอย่างนุ่มนวลโดยสอดสายให้โค้งขึ้นด้านบนเล็กน้อยแล้วย้อนลงสู่ด้านล่างสายจะค่อย ๆ เคลื่อนไปตามช่องจมูก ถ้าสอดสายแล้วรู้สึกติดห้ามกระแทกหรือดันให้ถอนสายออกมาเล็กน้อย แล้วจึงค่อย ๆ พยายามสอดใหม่หากสอดสายไม่เข้าให้เปลี่ยนไปใส่ช่องจมูกอีกข้างแทน
  • ขณะสอดสายดูดเสมหะเข้าในช่องจมูกให้ทำการดูดเมื่อมีน้ำมูกในโพรงจมูก หรือเด็กมีอาการไอ เพราะถ้าไม่มีน้ำมูกในโพรงจมูกสายดูดเสมหะจะดูดเนื้อเยื่อในโพรงจมูกทำให้เกิดการอักเสบและบวมได้
  • อย่าลืมให้เด็กพักเป็นระยะ ๆ ในระหว่างทำการดูดเสมหะเพื่อไม่ให้เด็กเหนื่อย
  • ภายหลังดูดเสมหะเสร็จอย่าลืมปลอบโยนเด็กโดยการอุ้ม หรือโอบกอดจนเด็กสงบ และหยุดร้องไห้

หากไม่มีน้ำมูกหรือเสมหะในปอดแล้ว หรือลูกสามารถสั่งน้ำมูก และไอเอาเสมหะออกจากปอดได้ดี ก็เลิกดูดเสมหะได้ค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทารกเป็นหวัดมีเสมหะ ปอดอักเสบ ปอดบวม สังเกตยังไง

ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ระบุไว้ว่า โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบในเด็ก เป็นการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของเนื้อปอด รวมทั้งหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้ความสามารถในการทำงานของทางเดินหายใจลดลง เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรง บางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กที่เกิดมีน้ำหนักตัวน้อยอายุต่ำกว่า 1 ปี มีโรคขาดอาหาร โรคเรื้อรัง หรือความพิการแต่กำเนิด

พ.ญ.พนิดา ศรีสันต์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ อธิบายว่า โรคปอดอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อ ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย มักจะมีอาการเริ่มต้นโดยเป็นหวัดก่อน 2-3 วัน ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิ หรืออาจเกิดจากการแพ้ การระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป ซึ่งเชื้อโรคที่ก่อนให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น

  • การสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่มีอยู่ในอากาศเข้าไปโดยตรง
  • การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด

 

เสมหะติดคอลูก ทารกเป็นหวัดมีเสมหะ

 

อาการปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส

เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลายหรือถุงลม เชื้อเกิดการแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา โดยที่ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อนสัก 2-3 วัน ได้แก่ มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ ตามมาด้วยอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ส่วนมากถ้าอาการไม่รุนแรงอาจดีขึ้นได้เอง อัตราการเสียชีวิตต่ำเมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย

การสังเกตอาการเบื้องต้น ของโรคปอดบวมอยู่ในภาวะป่วยหนักหรือรุนแรง จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

  • ไม่ยอมกินนมหรือน้ำ
  • ซึมมาก
  • ปลุกตื่นยาก
  • หายใจมีเสียงดัง
  • หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม
  • มีอาการขาดน้ำ
  • ค่าความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดต่ำ
  • ถือว่าเป็นภาวะป่วยหนัก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล

 

วิธีป้องกันปอดอักเสบ ปอดบวม

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค โดยไม่ควรให้เด็กใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยทุกประเภท หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่แออัด เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีควรดูแลที่บ้าน ไม่ควรส่งไปเลี้ยงตามสถานเลี้ยงเด็ก และถ้าเด็กมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ควรพิจารณาใช้ผ้าปิดปากและจมูก ควรทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ
  2. มีอนามัยส่วนบุคคล โดยฝึกหัดให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ไม่ขยี้ตาหรือจมูก และควรดูแลความสะอาดของบ้านเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เป็นหวัดและปอดบวมได้ง่ายคือ การอยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุรี่ บ้านที่ใช้ฟืนหุงต้มอาหารและมีควันในบ้าน เช่น ควันไฟ ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
  3. เพิ่มความต้านทานโรค ควรให้เด็กได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และให้อาหารครบ 5 หมู่ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ที่สำคัญเด็กทุกคนควรต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามมาตรฐานกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้นยังมีวัคซีนเสริมบางชนิดที่ช่วยลดการเกิดโรคปอดบวมในเด็ก ได้แก่ วัคซีนไอพีดี ซึ่งจะป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโรคปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดตามฤดูกาลในปีนั้น ๆ
  4. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรรู้จักอาการแรกเริ่มของโรคปอดบวม และควรนำมาพบแพทย์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โรคที่ทารกชอบเป็น ป่วยต้องดูอาการให้ดี บางอาการอาจจะอันตรายกว่าที่คิด

ทารกนอนบิดตัว เกิดจากอะไร ส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกน้อยหรือไม่?

ทารกนอนแอร์กี่องศา ทารกนอนพัดลมได้ไหม กลัวลูกปอดติดเชื้อ ปอดบวม แม่ต้องทำอย่างไร

ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทความโดย

Tulya