ความสูงของลูก ต้องดูแลเรื่องโภชนาการให้ดีใน 5 ขวบปีแรก

หน้าที่สำคัญของคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมองและการเรียนรู้ของลูกแล้ว ความสูงของลูก ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หน้าที่สำคัญของคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจ ร่างกาย สมองและการเรียนรู้ของลูกแล้ว ความสูงของลูก ก็เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน 

ความสูงของเด็กแต่ละคนถูกกำหนดโดยหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม สารอาหารแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ กิจวัตรในแต่ละวัน และมีสิ่งหนึ่งที่มีบทบาทมากต่อความสูงคือ แผ่นการเจริญเติบโต(Growth plate) ซึ่ง เป็นส่วนสำคัญต่อความสูงของเด็กๆ เนื่องจากเป็นบริเวณที่จะเกิดการเจริญของกระดูกในเด็กและวัยรุ่น

    

แผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) จะอยู่ตรงบริเวณส่วนปลายทั้งสองข้างของกระดูกแท่งยาวของร่างกาย เช่น กระดูกต้นขา กระดูกขา กระดูกแขน กระดูกมือและเท้า ในกระบวนการสร้างกระดูกนั้นจะเริ่มจากจุดที่มีการสร้างกระดูกเรียกว่า ossification center โดยมีส่วนที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า แผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) ซึ่งจะมีการแบ่งตัวและขยายกว้างออก ทำให้เกิดการยืดยาวของกระดูก  โดยอาศัยปัจจัยและกระบวนการหลายอย่าง³ ทำให้เซลล์มีการแบ่งตัว มีหลอดเลือดงอกมาเพื่อนำสารอาหารแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆที่สำคัญมาที่บริเวณแผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate) นี้ แล้วทำให้เกิดกระบวนการสร้างกระดูกขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดมากในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น และมีการเจริญอย่างมากในช่วง 5 ขวบปีแรกของชีวิต    

เด็กๆ จะมีความสูงเพิ่มขึ้นในแต่ละปีเฉลี่ยดังนี้¹

  • ในขวบปีแรก ประมาณ 25 ซม./ปี 
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ประมาณ  10-11ซม./ปี 
  • อายุ 2-5 ปี ประมาณ  6-8 ซม./ปี 
  • อายุ 5-8 ปี ประมาณ  5-6 ซม./ปี 
  • ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ประมาณ  4 ซม./ปี 
  • ช่วงเข้าสู่วัยสาวในเด็กชาย ประมาณ  10-14 ซม./ปี 
  • ช่วงเข้าสู่วัยสาวในเด็กหญิง ประมาณ  8-12 ซม./ปี 

คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กส่วนสูงของลูกว่าสูงตามเกณฑ์ไหมที่ growth tracker ลิงค์นี้ https://bit.ly/3JZweXA ได้เลยค่ะ

 

สาเหตุที่ความสูงของร่างกายแทบทั้งหมดเจริญในวัยเด็กและวัยรุ่น เพราะแผ่นการเจริญเติบโต (Growth plate)นี้จะเริ่มมีการถูกแทนที่กลายเป็นกระดูกแข็งหรือที่เราเรียกกันว่า แผ่นการเจริญเติบโตปิด ( closed growth plate)  หรือบางคนเรียกว่ากระดูกปิด² เมื่อเด็กอายุ 14-15ปีในเด็กหญิง และอายุ 15-17ปีในเด็กชาย 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ดังนั้นในช่วงวัย เด็ก  โดยเฉพาะในช่วง 5 ขวบปีแรก โภชนาการมีผลต่อการพัฒนาของ growth plate โดยตรงและมีผลต่อส่วนสูงของเด็ก โดยส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นในช่วงนี้จะประมาณ 60% ของส่วนสูงในวัยผู้ใหญ่เลยทีเดียว¹º ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรต้องรีบดูแลโดยการเสริมโภชนาการให้ลูกในช่วงที่กระดูกยังไม่ปิด ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองในการพัฒนา Growth plate จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์เพียงพอที่มีส่วนช่วยให้กระบวนการสร้างกระดูกทำได้ดี และช่วยส่งผลให้ลูกตัวสูงขึ้นอย่างสมวัยค่ะ โดย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ   และเสริมด้วย อาหารสูตรครบถ้วน ที่มี Triple plus+ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุ 28 ชนิดซึ่งรวมถึงวิตามินดีและแคลเซียมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมเพื่อการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ พร้อม DHA สารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของสมอง  โปรตีนคุณภาพ จาก เวย์ เคซีน และถั่วเหลือง ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูก กล้ามเนื้อ และนำไปใช้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ฟอสและจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ลำไส้แข็งแรงและช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  ซึ่งมีผลรับรองว่าช่วยการเจริญเติบโตทั้งน้ำหนักและส่วนสูง 

 

ความสูงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้เรื่องพัฒนาการสมอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 ขวบปีแรกที่การได้รับสารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับอย่างเพียงพอ มีผลอย่างมากต่อ ความสูงของลูก ค่ะ คุณพ่อคุณแม่ ต้องไม่พลาดในช่วง 5 ขวบปีแรกนะคะ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริมตามช่วงเวลาของร่างกาย ถ้าเลยช่วงเวลาสำคัญของวัยเด็กนี้ไปแล้ว อาจพลาดโอกาสตัวสูงไปได้เลย และอย่าลืมเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พญ. ฐิติมา คุรุพงศ์ (Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก)

  • กุมารแพทย์ คุณแม่ลูกสอง “เจ้าของเพจ Dr.Pakky หม่ามี้หมอเด็ก”

กุมารแพทย์ประจำ ดีดี คิดส์ คลินิก    

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กุมารเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1.พ.ต.หญิง วรลักษณ์ ภัทรกิจนิรันดร. Step by step for growth evaluation. สืบค้นจากhttps://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200903122123.pdf

2.สรศักดิ์ ศุภผลและคณะ.ชีววิทยาของกระดูกและการสมานของกระดูก (Bone biology and healing).บทที่1

3.Amy W.Anzilotti,MD.growth plates.สืบค้นจาก https://kidshealth.org/ 

4.ชื่อผู้วิจัย Mauro Fisberg และคณะ. Effect of Oral Nutritional Supplementation with or without Synbiotics on Sickness and CatchUp Growth in Preschool ChildrenJournal of International Pediatrics,2002

  1. 5. Huynh และคณะ. Longitudinal growth and health outcomes in nutritionally atrisk children who received longterm nutritional intervention. Journal of Human Nutrition and Dietetics (The Official Journal of

The British Dietetic Association)

  1. 6. Huynh และคณะ. Impact of longterm use of oral nutritional supplement on nutritional adequacy, dietary diversity, food intake and growth of Filipino preschool children. Journal of Nutritional Science, 2016
  2. 7. Coly et al. J Nutr. 2006 Sep;136(9):241220. / adapt from Jelenkovic et al. eLife 2016;5:e20320.
    8. GatYablonski, G., & Phillip, M. Nutrients, 2015; 7(1), 517551.
  3. Alarcon PA, et al. Clin Pediatr. 2003;42(3):209217
  4. 10. Jelenkovic, A. et al. Genetic and environmental influences on height from infancy to early adulthood: An individualbased pooled analysis of 45 twin cohorts. Sci. Rep. 6, 28496; doi: 10. 1038/srep28496 (2016)
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team