พ่อแม่เป็น LGBTQ แล้วลูกจะเป็นไหม ? เลี้ยงลูกฉบับ LGBT

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่เป็น LGBTQ แล้วลูกจะเป็นหรือไม่ เลี้ยงลูกอย่างไร หากพ่อแม่เป็น LBGTQ หากในอนาคตลูกเป็นคุณพ่อคุณแม่ ควรทำอย่างไรกับลูก

ทำความรู้จัก LGBTQ

พ่อแม่เป็น LGBTQ

พ่อแม่เป็น LGBTQ

  • L ย่อมาจาก Lesbian หรือกลุ่มผู้หญิงรักผู้หญิงด้วยกัน
  • G ย่อมาจาก Gay คือกลุ่มชายรักชาย
  • B ย่อมาจาก Bisexual หรือกลุ่มที่สามารถรักได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  • T ย่อมาจาก Transgender คือ กลุ่มคนข้ามเพศ จากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือเพศหญิงเป็นเพศชาย เป็นผู้ที่รับรู้ว่าตนเองมีเพศภาวะไม่สอดคล้องกับเพศสรีระ ตามรูปแบบที่สังคมกำหนด
  • Q ย่อมาจาก Queer คือ กลุ่มคนที่พึงพอใจต่อเพศใดเพศหนึ่งแล้วแต่ความชอบ ไม่ได้จำกัดในเรื่องเพศและความรัก รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์

พ่อแม่เป็น LGBTQ ลูกจะเป็นหรือไม่ เกิดจากอะไร 

พ่อแม่เป็น LGBTQ

ความหลากหลายทางเพศ เป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนขององค์ประกอบทั้งทางกาย (ฮอร์โมน/สารเคมีในสมอง) จิตใจ (การเลี้ยงดู/ วิธีคิดของแต่ละคน) และสังคม (ความคาดหวัง/การยอมรับจากสังคม/วัฒนธรรมที่ หลากหลาย) ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่พบสาเหตุชี้ชัดว่าเพราะอะไร แต่คาดว่ามีผลมาจากทั้งทางพันธุกรรมกำหนดตั้งแต่ที่เด็กอยู่ในครรภ์ (Nature) หรือการเลี้ยงดู (Nurture) เช่น ระหว่างตั้งครรภ์แม่มีฮอร์โมนเพศไม่สมดุล หรือเด็กโตมาในครอบครัวที่พ่อก้าวร้าวจึงไม่อยากเป็นผู้ชาย เป็นต้น2

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในทางการแพทย์ ไม่ถือว่าบุคคลที่มีความแตกต่าง ทางรสนิยม และการแสดงออกทางเพศ เป็นความผิดปกติ เพียงแต่อาจให้คำแนะนำ ในการปรับตัวและทำความเข้าใจกับคนรอบข้าง ในบางรายเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่มีความแตกต่าง ด้านอัตลักษณ์ทางเพศนั้น อาจมีความรู้สึกทุกข์ทรมาน ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ ภายใต้ร่างกายที่ในความรู้สึกลึก ๆ แล้วไม่ใช่ “ร่างกายของตนเอง” จึงจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือซึ่ง แพทย์จะพยายามแก้ไขร่างกาย ให้สอดคล้องกับภาวะจิตใจของคนคนนั้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น LGBTQ

เมื่อลูกเป็น LGBTQ หน้าที่ของพ่อแม่ไม่ใช่การพยายามหาสาเหตุว่าทำไมลูกถึงเป็น และหาทางแก้ไขหรือรักษาในสิ่งที่ลูกเป็นแต่ต้องทำความเข้าใจ ว่าพฤติกรรมของลูกเป็นแบบไหน การที่คุณพ่อคุณแม่ยอมรับในตัวลูก จะทำให้ลูกดำเนินชีวตได้อย่างมีความสุข

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : LGBT / LGBTQ คืออะไร การเปิดใจและตอบคำถามเกี่ยวกับ LGBT กับลูกของคุณ

  • ไม่ดุด่าหรือทำโทษลูก

รับฟังคำสารภาพของลูกอย่างใจเย็น ไม่ดุด่า ต่อว่า หรือลงโทษ อย่าลืมว่า ลูกต้องเก็บความลับนี้มานานแค่ไหน หากเป็นไปได้ให้เข้าไปกอดลูกแล้วบอกขอบคุณที่ตัดสินใจมาบอกความจริง เพื่อทำให้ลูกมั่นใจว่า คุณรักเค้าอย่างไม่มีเงื่อนไข อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องปกติที่ผู้ปกครองหลายบ้านอาจต้องใช้เวลา เพื่อทำการยอมรับมากกว่าบ้านอื่น พ่อแม่อย่าลืมให้เวลาตัวเองและทำความเข้าใจ ขอแค่อธิบายให้ลูกฟังว่าเราขอเวลาสักหน่อยและไม่ทอดทิ้งเค้าในระหว่างนั้นก็พอ

  • ไม่โทษตัวเอง

ถึงการคิดหาเหตุผลจะเป็นหนึ่ง ในวิธีรับมือปัญหาของมนุษย์ แต่การคิดวนไปวนมาเพื่อหาว่าทำไมลูกเราถึงเป็นเพศที่สาม การโทษตัวเองว่าเป็นเพราะเราเลี้ยงดูลูกไม่ดี มองว่าลูกมีเวรกรรม หรือแม้แต่เอ่ยปากถามลูกว่า “พ่อกับแม่ทำอะไรผิด ?” “ทำไมลูกถึงเป็นแบบนี้ ?” จะไม่เกิดประโยชน์กับใครเลย แถมยังทำให้เสียเวลาที่ทั้งฝ่ายคุณและลูกจะได้ก้าวข้ามไปสู่การยอมรับตัวตนอีกต่างหาก

  • ไม่หาทาง “รักษา” ลูก

การเป็นเพศที่สามไม่ใช่สิ่งที่เราเลือกได้ ทั้งยังไม่ใช่ความผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษา มีน้อยครั้งมากที่เด็กจะเปลี่ยนตัวเองกลับไปเป็นเพศหญิงหรือชายแท้ได้ (ซึ่งมักเป็นกรณีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเพศด้วยสถานการณ์ เช่น เด็กในโรงเรียนหญิงล้วนชอบรุ่นพี่ทอม เป็นต้น)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปล่อยให้ลูกเติบโต และค้นหาตัวเองอย่างเหมาะสม อย่าพยายามเปลี่ยนลูกด้วยการบังคับให้ใส่กระโปรง บังคับให้เล่นกีฬา หรือส่งไปบวช เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังสร้างรอยแผลอย่างถาวรแก่เด็กที่จะเชื่อว่าตนมีความผิดหรือต้องปิดบังความเป็นตัวเองไปตลอดชีวิต

  • ไม่กลัวที่จะเติบโตไปพร้อมกัน

หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกับลูกของเรามากขึ้น และอย่าลืมว่าเพศสภาพมีความยืดหยุ่นมาก จึงควรหาโอกาสคุยอย่างเปิดอกกับลูกเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน เช่น เด็กบางบ้านอาจอยากแต่งตัวข้ามเพศ ในขณะที่เด็กบางคนอาจแค่ชอบเพศเดียวกันเฉย ๆ

อีกหนึ่งภาพจำที่พ่อแม่ควรลบทิ้งไปก็คือ เรื่องเพศสัมพันธ์ เพราะการเป็นเพศที่สามไม่ได้หมายความถึงรสนิยมทางการมีเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว เมื่อมองข้ามเรื่องนี้ได้ พ่อแม่อาจจะทิ้งความรู้สึกแปลกแยกจากลูกของตัวเองไปได้ อย่างไรก็ดี ก็ยังถือเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองที่ควรสอนเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องกับลูก โดยเฉพาะในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

  • ไม่ต้องกังวลแทนลูก

อีกหนึ่งประเด็นที่ทำให้พ่อแม่ยอมรับไม่ได้เมื่อลูกมาสารภาพว่าเป็นเพศที่สาม ก็คือความกลัวหรือกังวลใจถึงอนาคตของลูก เช่น กลัวว่าลูกจะไม่ได้แต่งงานมีครอบครัว กลัวว่าลูกจะถูกล้อเลียนหรือกีดกัน หรือกระทั่งกลัวว่าลูกจะเป็นเอดส์

ไม่ว่าลูกจะเป็นเพศชาย หญิง หรือเพศที่สาม ย่อมต้องเผชิญปัญหาหรืออุปสรรคในชีวิตเป็นธรรมดา พ่อแม่ จึงควรโยนความกังวลล่วงหน้าเหล่านั้นทิ้งไปเสีย และโฟกัสที่การเป็นโค้ช เพื่อช่วยลูกรับมือกับปัญหาที่เกิดเป็นเรื่อง ๆ ไปดีกว่า อย่ามัวแต่มองถึงผลเสียของการมีลูกเป็นเพศที่สาม ทุกวันนี้คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถมองเห็นว่ามีคนที่ไม่ใช่หญิงแท้หรือชายแท้ที่ประสบความสำเร็จทางการเรียน หน้าที่การงาน และหลายคู่ก็สร้างครอบครัวที่สมบูรณ์และน่ารักได้เช่นกัน

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นเพศที่สาม เบี่ยงเบนทางเพศหรือไม่ สังเกตจากอะไร

  • ให้ความรู้กับลูกเกี่ยวกับ LGBTQ

สำหรับวิธีแรกนี้ เป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะสามารถบอก ให้ลูกเข้าใจในตัวผู้คนรอบข้าง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ สามารถศึกษาข้อมูล และนำสิ่งเหล่านั้น มาให้ความรู้กับลูกในเบื้องต้นก่อน ว่า LGBTQ นั้นคืออะไร แล้วอธิบายต่อว่าเราต้องเคารพในตัวเขาอย่างไร

โดย LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งไม่ว่าตัวเราหรือผู้คนรอบข้างจะเป็นเพศใดก็ตาม ทุกคนต่างก็มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ สามารถอธิบายให้ลูก ๆ ฟังได้ว่า เรานั้นสามารถพูดคุย และเปิดใจยอมรับ กับผู้คนรอบข้างในสังคมได้ โดยที่ลูกต้องให้ความเคารพในตัวพวกเขา เพราะนั้นคือสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ

  • อธิบายเรื่องการ Bully ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

เด็ก ๆ ที่มีลักษณะอยู่ในกลุ่ม LGBTQ จำนวนมากถูกแกล้ง และถูกล้อเลียนมากกว่าเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูก ให้เกียรติแก่ผู้อื่น และให้ความเคารพ ไม่ไปล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อน คุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของลูกได้ตลอดเวลา แต่การที่ให้ลูกได้เรียนรู้ หรือทำความเข้าใจว่าทำไมไม่ควรไปล้อเลียน ลูกก็จะจดจำและไม่ทำสิ่งนี้กับเพื่อน ๆ และคนรอบข้าง

  • เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น

สิ่งสุดท้าย เป็นวิธีการที่สำคัญมาก นั่นคือ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เพราะโดยพฤติกรรมของเด็กแล้วนั้น มักจะมีการกระทำที่เลียนแบบผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ใหญ่รอบข้างอย่างคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ ให้ความเคารพในตัวผู้อื่นรอบข้าง น้องก็จะจดจำและนำไปใช้จริง ๆ อย่างที่เราทำให้เห็นนั่นเองค่ะ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับ 7 วิธี เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ที่พ่อแม่แบบคุณทำได้

โดยคุณพ่อคุณแม่ สามารถสอนให้ เข้าใจในความแตกต่างของตัวผู้คนรอบข้างได้ จากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความเคารพกับเพื่อน ๆ ของลูกเอง หรือขณะไปในสถานที่ต่าง ๆ แล้วพบเจอผู้คนต่าง ๆ โดยต้องคอยเตือนไม่ให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงสอนให้รู้จักและใส่ใจในผู้คนรอบข้างอยู่เสมอไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม

ที่มา : ww2.bangkokhospital.com,thaihealth.or.th,lgbtthai.com

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong