ห้ามพ่อแม่ตีลูก ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎ! หลังสถิติเด็กถูกทำร้ายพุ่งสูง พ่อแม่ไทยทำบ้างดีไหม?

ญี่ปุ่นออกกฎ ห้ามลงโทษลูกให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ พ่อแม่ไทยทำบ้างได้ไหม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ห้ามพ่อแม่ตีลูก

ญี่ปุ่นเริ่มออกกฎ ห้ามพ่อแม่ตีลูก ห้ามลงโทษลูกให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ พ่อแม่ไทยคิดว่าไง ทำบ้างดีไหม?

 

ญี่ปุ่นออกกฎห้ามพ่อแม่ตีลูก

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นพบเด็ก ๆ ถูกทำร้าย ทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย อย่างน้อย ๆ ก็บาดเจ็บ แต่ก็มีรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต จากกรณีเด็กถูกทำร้ายให้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากพ่อแม่พุ่งสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลโตเกียวเตรียมเสนอแนวคิดห้ามพ่อแม่ตีลูก

ข้อบังคับห้ามพ่อแม่ตีลูก จะเริ่มใช้ในเดือนเมษายนนี้ โดยห้ามลงโทษลูกทุกรูปแบบที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ ทางรัฐบาลยังเสนอให้เด็ก ๆ มีการตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็คว่า พ่อแม่ใช้กำลังร่างกายกับลูกหรือไม่ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีการกำหนดโทษ กรณีที่พ่อแม่ที่ทำผิดแต่อย่างใด

ที่มา : https://morning-news.bectero.com

 

ญี่ปุ่นห้ามพ่อแม่ตีลูก

วิธีลงโทษลูก

เพจหมอมินบานเย็น แนะนำวิธีลงโทษแบบอื่น ๆ ว่า เทคนิคการทำโทษที่ไม่ต้องให้ต้องเจ็บตัว แต่ทำให้เด็กจดจำและเรียนรู้เพื่อทีหลังเด็กจะไม่ทำผิดอีก มีหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เทคนิค“เพิกเฉย”

ในเด็กที่พอรู้ความอายุประมาณหนึ่งขวบขึ้นไป เริ่มเอาแต่ใจตัวเอง ปกติเด็กจะชอบให้เราสนใจในพฤติกรรมบางอย่าง เมื่อต้องการให้เราตามใจ เช่น เด็กมีพฤติกรรมร้องไห้โวยวาย กรี๊ดๆ บางทีมีท่าทาง เช่น ลงไปดิ้นๆที่พื้น บางทีร้องจนดูน่าสงสาร บางคน มีร้องจนไอ ร้องจนอ๊วก มักจะมีอาการเวลาไม่ได้สิ่งที่ต้องการ

ส่วนใหญ่พ่อแม่ก็จะเข้าไปให้ความสนใจ เข้าไปโอ๋ ไปปลอบ และสุดท้ายยอมให้ของที่เด็กต้องการ ทำให้กลายเป็นเงื่อนไขว่า เวลาเด็กต้องการอะไรก็จะใช้วิธีร้องไห้โวยวายเสมอ ยิ่งร้องดัง หรือมีท่าทางด้วยจะยิ่งดึงดูดความสนใจ ทำซ้ำๆบ่อยๆพอได้ผล ก็จะเรียนรู้จนกลายเป็นนิสัย ทำให้พฤติกรรมร้องไห้โวยวายไม่ลดลง มีแต่เพิ่มขึ้นๆ

หากใช้เทคนิคนี้คือ การงดการให้ความสนใจ ไม่ตามใจเด็ก เพิกเฉยเสีย เมื่อเด็กมีพฤติกรรมโวยวาย ใช้คำพูดสั้นๆว่าเราเข้าใจความรู้สึก เช่น “แม่รู้ว่าหนูโกรธที่แม่ไม่ซื้อของเล่นให้” ไม่ต้องพูดอะไรมากกว่านี้ รอสักพัก ไม่ต้องสนใจหรือโอ๋ ไม่นานเด็กจะหยุดพฤติกรรมโวยวายไปเอง เพราะรู้ว่าไม่ได้ผลและทำให้ไม่ใช้วิธีร้องไห้โวยวายอีก ตรงนี้ทำได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ต้องหนักแน่น อดทน เพราะเวลาเด็กร้องโวยวายก็ค่อนข้างบีบคั้นจิตใจ

 

  • เทคนิค “time-out ขอเวลานอก”

ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคนี้ในเด็กเล็ก เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จะให้เด็กไปอยู่ในบริเวณ time-out ซึ่งต้องเป็นที่ๆเด็กไม่สามารถเข้าถึงสิ่งทีชอบต่างๆ จะต้องเป็นบริเวณที่น่าเบื่อ โดยอาจเป็นนั่งเก้าอี้ในมุมห้องที่สงบ ไม่มีสิ่งต่างๆที่เด็กชอบ เช่น ไม่มีโทรทัศน์ ของเล่น หน้าต่าง หรือการสนใจจากคนรอบข้าง โดยกำหนดเวลาที่ไม่นานมากนัก เช่น ประมาณ 5 นาทีหรือน้อยกว่านั้น

โดยจะมีหลักการทั่วไปว่าใช้เวลา 1 นาทีสำหรับอายุของเด็ก 1 ปี เช่น เด็กอายุสามปีจะใช้ time out เป็นเวลา3นาที ควรจะบอกเด็กให้ทราบก่อนว่า พ่อแม่จะใช้วิธีนี้เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นๆ และบอกเด็กล่วงหน้าก่อนที่จะให้เด็กไป time out ว่าเหตุผลที่ต้องไปนั่งเก้าอี้คืออะไร และใช้เวลานานเท่าไร เช่น “เพราะว่าหนูขว้างของ หนูต้องไปนั่งเก้าอี้เด็กดี 3 นาที”

แต่ส่วนใหญ่พ่อแม่มักจะบ่นว่าทำยาก ก็อาจจะลองใช้วิธีอื่น เพราะวิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อเด็กค่อนข้างจะเชื่อฟังและเกรงใจพ่อแม่ ที่หมอมักจะแนะนำคือ ก่อนมี time out ต้องมี time in ก่อน คือ พ่อแม่ต้องเคยมีช่วงเวลาดีๆกับเด็ก ให้เด็กรู้สึกดี ๆ กับพ่อแม่ นำมาซึ่งความรักผูกพัน และความเชื่อฟังเกรงใจก็จะตามมา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • เทคนิค “ทำผิดต้องตัด”

โดยอาจเป็นการตัดสิทธิ์ที่เคยมีเคยได้ หรือ ปรับเป็นเงินหรือสิ่งของที่เป็นของๆเด็ก ใช้วิธีนี้เมื่อเด็กโตพอที่จะรู้เรื่อง ควรมีการพูดคุยตกลงกับเด็ก ว่าเราจะใช้วิธีนี้ในการปรับพฤติกรรม เช่น การงดดูการ์ตูนที่ชอบ หรือ งดขนม เมื่อเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือ การตัดค่าขนมเด็กเมื่อเด็กทำของเสียหาย

เช่น เมื่อเด็กโกรธ ขว้างแจกันแม่แตก สมมติแจกันแม่ราคา 150 บาท ก็หักค่าขนมวันละห้าบาทเป็นเวลาหนื่งเดือน (ครบ 150) ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ความเหมาะสมและการตกลงกัน การทำโทษวิธีนี้จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าทำผิดแล้วต้องรับผิดชอบ นอกจากนั้นทีหลังถ้าไม่อยากเสียอะไรไปหรือไม่อยากจะลำบาก ก็ต้องพยายามไม่ทำผิดอีก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เทคนิค “ทำความดีทดแทน”

คือ การให้เด็กที่ทำผิดต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นของความผิดนั้นและทำพฤติกรรมอื่นที่เหมาะสมทดแทน เช่น เมื่อเด็กขว้างแจกันแม่แตก สมมติแจกันแม่ราคา 150 บาท นอกจากการหักค่าขนมชดเชย ก็ต้องให้เด็กทำดีเพิ่มเติม เช่น จะต้องเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวันตอนเย็นหลังกลับจากโรงเรียนเป็นเวลาหนึ่งเดือน ตรงนี้ก็จะเป็นการให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ

สำหรับเรื่องการทำโทษด้วยการตีนั้น จริงอยู่ว่า การตีจะทำให้พฤติกรรมไม่ดี ลดลงได้เร็วกว่าเทคนิคอื่นๆ แต่ก็มีผลเสียตามมาหลายประการ เช่น ทำให้สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ไม่ดี เด็กมีปฏิกิริยาทางอารมณ์ เกิดการเลียนแบบ เช่น เมื่อเด็กถูกพ่อแม่ตี ก็ร้องไห้โวยวายลงมือลงเท้า เวลาหงุดหงิดเพื่อนก็จะใช้วิธีตีเพื่อน (เหมือนที่ถูกพ่อแม่ตี) พ่อแม่จึงต้องใช้ความระมัดระวังในการตี หลักการตี ที่เหมาะสม คือ ใช้มือตี ไม่ใช้วัสดุอื่น ไม่ตีเด็กเวลาที่เราโกรธ (เพราะจะทำให้ตีรุนแรงด้วยอารมณ์) บอกเด็กก่อนว่าจะตีกี่ครั้ง และเหตุผลที่ตีคืออะไร

และข้อสำคัญ “อย่าลืมทำเป็นตัวอย่าง” ถ้าพ่อแม่และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเป็นคนที่รับผิดชอบรู้จักผิดถูก เด็กก็จะเรียนรู้และก็จะซึมซับในพฤติกรรมดีๆ นั้น หมอเคยเห็นพ่อแม่หลายคนบอกว่า “เป็นเด็กดีสิลูก” แต่สิ่งที่พ่อแม่ทำกลับตรงกันข้าม

การปรับพฤติกรรมเด็กนั้นหากจะทำให้ได้ผลดี ต้องทำด้วยพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เด็กจะต่อต้านน้อยกว่า เชื่อฟังและมีความเกรงใจมากกว่า และต้องเริ่มทำตั้งแต่เด็กยังเล็ก

ที่สำคัญสิ่งที่เด็กทำได้ดีก็ต้องชมเชยด้วย ใช่ว่าจะมองหาสิ่งที่เด็กทำผิดอย่างเดียว

เน้นอีกอย่างคือ ผู้ใหญ่ต้องจัดการอารมณ์ให้ดี บางครั้งผู้ใหญ่ก็โกรธมากกับพฤติกรรมเด็ก จนทำให้ผู้ใหญ่ปรับพฤติกรรมเด็กได้ไม่ดีเทำไหร่ เพราะความโกรธจนขาดสติ

 

ที่มา : เพจ เข็นเด็กขึ้นภูเขา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การช่วยเหลืองานบ้าน สอนลูกทำงานบ้าน กิจกรรมฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูกรู้จักหน้าที่ มีวินัย

เมื่อไหร่ถึงจะตีลูกได้ ลูกต้องอายุเท่าไร จึงทำโทษได้โดยการตี

เลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง 10 วิธีเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี มีอีคิวสูง (E.Q.)

เทคนิค การเลี้ยงดูอย่างไรให้ได้ใจลูกวัยรุ่น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya