วิธีรักษาแมลงกระดกเบื้องต้น แมงก้นกระดก แมลงก้นกระดก ด้วงก้นกระดก มาทุกหน้าฝน โดนตัวเป็นตุ่มใส สร้างแผลเป็นรอยไหม้ได้ คงไม่มีใครอยากมีแผลเป็นที่ไหม้ พลุพอง หรอกใช่ไหมคะ ฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่าเจ้าแมลงกระดกคืออะไร อันตรายไหม จะหาทางรักษา และป้องกันได้อย่างไร
สิ่งที่จะได้อ่านในบทความนี้
- แมลงกระดกคือไร
- พิษภัยจากแมลงกระดก แมลงก้นกระดก หรือด้วงก้นกระดก
- ลักษณะของแผลที่เกิดจากการสัมผัสแมลงกระดก
- วิธีปฐมพยาบาลหรือรักษาพิษจากแมลงกระดกเบื้องต้น
- วิธีป้องกันอันตรายจากด้วงก้นกระดก
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 เครื่องพ่นยา คุณภาพดี ใช้งานง่าย พ่นไกล ไม่เปลืองแรง
แมลงกระดก แมลงตูดกระดก คืออะไร
แมลงกระดก เป็นแมลงสีส้มดํา มีชื่อเรียกว่า ด้วงก้นกระดก เพราะแมลงก้นกระดกเป็นด้วงปีกสั้น มีลักษณะก้นงอน แต่ก็มีการเรียกชื่ออื่น ๆ ที่หลากหลาย เช่น แมลงเฟรชชี่ ด้วงกรด แมลงน้ำกรด เนื่องจากมีสารพิษชื่อว่าพีเดอริน (Paederin) มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน สามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังได้
ปกติจะพบกับแมลงกระดกได้ตามพงหญ้า หรือพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ แต่พอหน้าฝน จะมีการระบาดของแมลงกระดก ทำให้เป็นอันตรายต่อคนทุกวัย ทั้งผู้ใหญ่ เด็กเล็ก และทารก
พิษภัยจากแมลงกระดก แมลงก้นกระดก หรือด้วงก้นกระดก
ขึ้นชื่อว่าเป็น แมลงน้ำกรด ย่อมทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังได้ไม่น้อย โดยเฉพาะแมลงกระดกตัวเมียที่จะมีปริมาณสารพิษมากกว่าแมลงกระดกตัวผู้ แค่เพียงสัมผัสก็สามารถเกิดแผลขึ้นได้
อาการที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัส แค่เอามือปัด หรือบี้ ก็คืออาการ ผิวหนังอักเสบจากแมลง ซึ่งเกิดจากการสัมผัสสารพีเดอริน โดยเฉพาะการบี้จนทำให้แมลงกระดกท้องแตก แต่อาการผิวหนังอักเสบนั้นไม่ได้เกิดขึ้นทันที อาจเกิดขึ้นหลังจากการสัมผัสไปแล้ว 8-12 ชั่วโมง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เด็ก ๆ ทา แซมบัค ได้จริงหรือเปล่า ? แซมบัคใช้ทาแผลแบบไหนได้บ้าง ?
ลักษณะของแผลที่เกิดจากการสัมผัสแมลงกระดก
มีตั้งแต่เป็นแค่ผื่นแดง จนถึงเป็นรอยไหม้ ลักษณะของแผลที่เกิดจากแมลงกระดกมักเป็นทางยาว เพราะคนส่วนใหญ่มักจะปัดออกไปจากตัว ลักษณะของผื่นจะมีขอบเขตชัดเจน แมลงกัดเป็นตุ่มใส ต่อจากนั้นค่อยเป็นตุ่มน้ำพองใส และตุ่มหนองเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้น 2-3 วัน
ผื่นที่เกิดขึ้นจากแมลงกระดกมักไม่ทำให้คัน แต่กลับเป็นอาการที่ แมลงกัดจะแสบร้อน หากสัมผัสในบริเวณรอยพับ เช่น ข้อศอก ข้อเข่า มักจะกระจายไปสัมผัสทั้งสองด้าน แต่หากสารพีเดอรินถูกบริเวณดวงตา จะก่อให้เกิดตาบวมแดง และเสี่ยงต่อการตาบอดได้
อันตรายของการสัมผัสแมลงกระดกคือ สารพิษนั้นอาจโดนในบริเวณที่ผิวอ่อน เช่น ใบหน้า รอบดวงตา ซึ่งทำให้อาการรุนแรงกว่าบริเวณอื่น ในบางคนที่มีอาการแพ้พิษอาจมีอาการรุนแรง เช่น พุพอง คลื่นไส้อาเจียน เริ่มมีไข้ ทั้งนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต
วิธีปฐมพยาบาลหรือรักษาพิษจาก แมลงก้นกระดก เบื้องต้น
- ล้างผิวด้วยน้ำเปล่าและฟอกสบู่บริเวณที่โดนพิษจากแมลงกระดก หรือใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผลล้างทันที
- ประคบเย็นบริเวณที่สัมผัสกับแมลงโดยตรง
- สังเกตอาการหลังจากนั้น หากเกิดเป็นเพียงรอยแดงจะหายเองได้ไม่เกิน 3 วัน
- ถ้าอาการผื่นเป็นมาก หรือมีตุ่มน้ำพองเกิดขึ้น อย่าแกะเกา ถ้าไปแกะจะทำให้อาการลุกลามกว้างออกไป
- หากมีอาการอื่น ๆ ให้รีบพบแพทย์ ถ้าเป็นผื่นมาก แพทย์อาจจะให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ทาบริเวณผื่นแดง ถ้าผื่นมีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนอง หรือมีรอยแผลไหม้ จะต้องประคบด้วยน้ำเกลือครั้งละ 5-10 นาที วันละ 3-4 ครั้งจนกว่าแผลแห้ง และแพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย
- สำหรับเด็กเล็กหรือลูกวัยทารก หลังจากล้างและฟอกสบู่บริเวณที่เป็นแผลแล้ว ควรพามาพบแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง : สัตว์มีพิษกัด ต้องทำอย่างไร สอนวิธีปฐมพยาบาล และ สอนลูกน้อยให้รู้จักสัตว์ร้าย
วิธีป้องกันอันตรายจาก แมลงก้นกระดก
- สังเกตที่นอน หมอน ให้ดี ทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ ก่อนนอน
- ปิดบ้านให้มิดชิด ปิดประตู หน้าต่างให้สนิท ติดมุ้งลวด หรือกางมุ้งนอน เนื่องจากแมลงประเภทนี้ชอบเข้ามาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน
- ให้เปลี่ยนหลอดไฟจากสีขาวเป็นสีเหลือง และต้องระวังแมลงก้นกระดกบินตามแสงไฟเข้ามาในบ้าน ควรติดไฟล่อแมลงไว้ห่างจากตัวบ้าน
- กำจัดตะกอนดินที่มีหญ้าวัชพืชขึ้นตามหลังคา กันสาด ตัดหญ้ารอบบ้านให้สั้น เพราะอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงก้นกระดกได้
- หากแมลงก้นกระดกเกาะตามตัวให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยออก หรือเป่าออก แล้วรีบล้างผิวหนังด้วยน้ำและสบู่ ห้ามสัมผัสโดยการปัด หรือบดขยี้ โดยเด็ดขาด
- การทิ้งขยะนอกบ้าน เศษอาหารและเศษผักใส่ถุงดำมัดปากให้แน่น เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของแมลงก้นกระดก
อาการอักเสบต่าง ๆ มักจะหายไปได้ใน 1-2 สัปดาห์หลังสัมผัสโดนแมลงก้นกระดก และจะทิ้งรอยดำไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่เป็นแผลเป็น ยกเว้นสัมผัสสารพิษปริมาณมาก โดนสารพิษในบริเวณที่บอบบาง หรือมีอาการแพ้รุนแรง อย่างไรก็ตาม เมื่อสัมผัสโดนแมลงกระดกแล้ว ต้องทำตามวิธีรักษา แมลงกระดกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวังเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก กรมควบคุมโรคเตือนพ่อแม่ ดูแลลูก 1-3 ปี สังเกตอาการโรคมือเท้าปาก
ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้
8 ต้นไม้มีพิษต่อเด็ก ก่อเกิดอาการแพ้ ผื่นเเดง คันคะเย่อ ควรหลีกเลี่ยง
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, Red Cross