"ลูกน้ำหนักเกิน” ภัยร้ายที่แฝงมากับความน่ารัก

เด็กอ้วนนั้นอาจจะดูน่ารักก็จริง แต่คุณเคยทราบไหม...เด็กไทยเป็นโรคอ้วนมากขึ้น ทุกๆปี จากสถิติ พบว่าเด็กไทยก่อนวัยเรียน 1 ใน 5 คนจะเป็นเด็กอ้วน. ส่วนกลุ่มเด็กเรียนอาจพบได้ 1 ใน 10 คนจะเป็นเด็กอ้วน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง และเด็กทารกที่อ้วน เมื่อโตขึ้น ก็จะเป็นวัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วนได้ ซึ่ง ความอ้วนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ และยังมีผลกระทบทางด้านจิตใจในการเข้าสังคม ดังรั้น เรื่องของเด็กอ้วนหรือเด็กน้ำหนักเกินนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ อีกต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่รู้ไหม หนูอ้วนไปแล้วนะ

คุณแม่อาจจะไม่ได้มองว่า ”ความอ้วน” ของลูกเป็นปัญหา นั่นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไร เพราะในสังคมไทยเรามีทัศนคติต่อเด็กอ้วนเป็นทางบวก เด็กอ้วนบ้านเราจึงถูกมองว่าน่ารัก จ่ำม่ำ อวบน่ากอด กลายเป็นเรื่องดีๆ ที่แฝงภัยร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ และทำให้ความอ้วนในเด็กไทยไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที

อ้วนหรือไม่ ต้องหนักเท่าไหร่กัน?

อ่านมาถึงตรงนี้คุณแม่คงสงสัยว่าแล้วเกณฑ์น้ำหนักที่มาตรฐานของเด็กควรจะอยู่ที่ตรงไหน? หลักเกณฑ์การวัดนั้นเราใช้ค่าBMI และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัวเทียบความสูง

  1. ดัชนีมวลกาย หรือบีเอมไอ (Body mass index, BMI)

โดยนำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสองเช่น สูง 150 เซนติเมตรก็คือ 1.5 เมตรและยกกำลังสอง นำไปหารน้ำหนักที่เป็นกิโลกรัม

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/[ความสูง (เมตร)]2

หากได้ค่าอยู่ที่ 85 ถึง 95 คือเด็กน้ำหนักเกิน และหากมากกว่า 95 คือเป็นโรคอ้วน

 

  1. หาเปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัวเทียบความสูง (weight for height)

เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเทียบความสูง = [น้ำหนักจริงของเด็ก (กิโลกรัม) X 100]/น้ำหนักมาตรฐานที่ความสูง (เซนติเมตร) เดียวกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยค่าอยู่ระหว่าง 120 ถึง 140 คือเด็กน้ำหนักเกิน และหากมากกว่า 140 คือเป็นโรคอ้วน

 

น้ำหนักเกินแล้วอันตรายอย่างไร?

เด็กที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูง โรคที่รักษาไม่หายนี้เป็นต้นเหตุของโรคและปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การไหลเวียนของเลือด การตัดแขน/ขา ตาบอด โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ และระบบย่อยอาหาร

นอกจากนี้โรคอ้วนยังทำให้เด็กสูญเสียความมั่นใจ เพราะพวกเขาไม่สามารถวิ่งเล่นได้เหมือนเด็กคนอื่น ๆ ความเชื่องช้าทำให้เล่นกีฬาไม่เก่ง โดนเพื่อนล้อเรื่องรูปร่าง เสื้อผ้า การแต่งตัว การใส่ชุดว่ายน้ำ และอื่น ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แต่ถ้าบ้านไหนเจ้าตัวเล็กน้ำหนักเกินแล้วล่ะก็ ไม่ต้องเครียดไปค่ะ

เพราะเรามีวิธีช่วยลดน้ำหนักเจ้าตัวเล็กมาบอกกันด้วยค่ะ คลิกอ่านหน้าถัดไปเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

9 วิธี ช่วยหนูลดน้ำหนัก

การลดน้ำหนักในเด็กนั้นไม่เหมือนผู้ใหญ่ เพราะเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต การรับประทานอาหารแบบผิดๆ หรือการใช้สูตรลดความอ้วนแบบต่างๆคงไม่เหมาะนัก เราจึงขอเสนอวิธีการง่ายๆที่จะควบคุมน้ำหนักลูก ไปพร้อมๆกับการรับประทานอย่างถูกต้องตามโภชนาการด้วย

  1. เปลี่ยนนิสัยการกินของครอบครัว

เด็กอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากนิสัยการกิน แน่นอนว่านิสัยนี้เกิดจากคุณพ่อคุณแม่ด้วย เพราะฉะนั้นจึงต้องปรับนิสัยการกินใหม่ ต้องลด ละ เลิกอาหารไขมันและน้ำตาลสูง ตลอดจนการกินจุบจิบด้วย

  1. พยายามทำอาหารกินเองที่บ้าน

จะได้ทั้งความสดและความสะอาด และจำกัดการออกไปรับประทานข้าวนอกบ้าน โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ลดหรือเลิกอาหารที่มีแคลอรี่และน้ำตาลมาก

  1. ให้ลูกกินในปริมาณที่น้อยลง

นอกจาก 3 มื้อหลักแล้ว และแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้ออาหารว่างให้เหมาะสมในแต่ละวัน

  1. ออกไปทำกิจกรรมบ้าง

จำกัดเวลาของการดูทีวี ขณะเดียวกัน ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่ร่างกายได้เคลื่อนไหว เช่น วิ่งเล่น ขี่จักรยาน เดินเล่น อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง

  1. ไม่ปล่อยให้ลูกหิว

อย่าพยายามให้ลูกลดน้ำหนักโดยการอดอาหาร ซึ่งไม่ดีต่อกระเพาะและระบบการย่อยอาหารของลูก รวมถึงความหิวจะทำให้ลูกกินในมื้อต่อไปมากขึ้น หรือแอบกินของที่ไม่มีประโยชน์เพื่อแก้หิว

  1. พยายามปรุงอาหารจากของสด

หลีกเลี่ยงอาหารกล่อง อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป

  1. ไม่ควรแยกเสิร์ฟอาหารให้ลูกที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป

วิธีนี้จะทำให้ลูกรู้สึกแปลกแยกและรู้สึกผิดที่มีน้ำหนักเกิน ส่งผลต่อความมั่นใจของลูก แต่ควรสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และให้ลูกกินอาหารประเภทเดียวกับคนอื่นๆ ในครอบครัว

  1. ห้ามใช้อาหารเป็นรางวัลเด็ดขาด

จะทำให้ลูกให้คุณค่ากับอาหารว่าเป็นตัวแทนความสุข และยิ่งทำให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น

  1. ปรึกษาคุณหมอหรือนักโภชนาการ

หากลูกยังมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หลังจากที่ได้ปฎิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะมีเทคนิควิธีการที่เป็นขั้นตอนขั้นสูงต่อไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ที่มา

https://med.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/public/journal/2555/issue_03/02.pdf

https://www.truelife.com/old/detail/700769

https://th.theasianparent.com/โรคอ้วนในเด็ก

https://haamor.com/th/เด็กอ้วน

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team