สังเกตอาการ "โอไมครอนในเด็ก" และการป้องกันที่ถูกต้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไวรัส Covid-19 มีการกลายพันธุ์อยู่แทบจะตลอดเวลา และในช่วงนี้ก็มีสายพันธุ์ที่อันตรายต่อจากเดลต้านั่นคือ สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) สำหรับ โอไมครอนในเด็ก มีผลการศึกษาบางส่วนได้ให้ข้อมูลว่ามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากสามารถป้องกันตามมาตรการได้อย่างถูกต้อง ความเสี่ยงในเด็กก็จะสามารถลดลงได้ด้วยเช่นกัน

 

ทำไมเด็กจึงมีความเสี่ยงติดโอไมครอนกว่าปกติ

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจึงต้องมีความระมัดระวังในเด็กมากเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยมีมา จากข้อมูลของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยว่าประเทศที่พบการระบาดหนักแถบแอฟริกาใต้นั้น ได้มีการให้ข้อมูลว่าพบความเสี่ยงที่มากขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งถือว่ามากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G, เบต้า หรือเดลต้า

 

ถึงแม้ว่า โอไมครอนในเด็ก จะดูมีความเสี่ยง จนทำให้เด็กหลายคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่สำหรับในวัยผู้ใหญ่แล้วยังถือว่าไม่มีความแตกต่างมากนัก และเสี่ยงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลน้อยกว่าเด็ก อย่างไรก็ตามข้อมูลชุดนี้นั้นเป็นข้อมูลจากประเทศแอฟริกาเท่านั้น อาจต้องรอผลการยืนยันรายงานการวิจัยจากประเทศอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในขณะที่ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงมากขึ้นอาจเป็นเพราะ เด็ก ๆ เหล่านั้นยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือประสิทธิภาพของวัคซีนที่ฉีดอาจยังไม่ดีพอ ต้องรอการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง : Covid-19 ต่างจากหวัด ธรรมดาอย่างไร วิธีสังเกต จะรู้ได้ยังไง?

 

อาการโอไมครอนในเด็ก

จากข้อมูลของสาธารณสุขในประเทศอังกฤษ  หรือ National Health Service: NHS ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเมื่อเด็กมีความสุ่มเสี่ยง ที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนไว้ว่าอาการส่วนมากจะคล้ายกับสายพันธุ์หลัก แต่ในเด็กจะมีความแตกต่างตรงอาการผื่นขึ้นตามผิวหนัง มีอาการเหนื่อยหอบ และเด็กจะรู้สึกเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการไข้ คัดจมูก และน้ำมูกไหล
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ร่างกาย
  • เจ็บ หรือระคายเคืองบริเวณคอ
  • การรับกลิ่น หรือการรับรสไม่เหมือนเดิม บางรายอาจสูญเสียไปในช่วงที่มีอาการ
  • มีอาการไออย่างหนัก มักไอบ่อยใน 1 ชั่วโมง

 

ควรฉีดวัคซีนให้เด็กเป็นการกระตุ้นอย่างไร

จากข้อมูลของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แนะนำให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับทุกคน ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างต่ำ 2 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ กรณีได้รับการฉีดเข็มที่ 2 แล้วนานกว่า 3 เดือน สามารถกระตุ้นเข็มที่ 3 ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ในช่วงเวลาที่โอไมครอนกำลังระบาดในขณะนี้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จะป้องกันโอไมครอนในเด็กได้อย่างไร

ก่อนการป้องกันใด ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าไวรัสโควิด-19 จะไม่สามารถถูกรักษาให้หายไปจากโลกใบนี้ได้ในเร็ววัน จึงมีความจำเป็นที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่กับไวรัสชนิดนี้ และสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเจอ จนสามารถรับมือเมื่อเกิดการติดเชื้อได้ แน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ผู้ปกครองควรบอกให้เด็ก ๆ ทราบว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า หากเราไม่ได้อยู่กับลูกในบางโอกาส เด็กจะรู้ถึงความเสี่ยง และการป้องกันตนเองในเบื้องต้นได้

 

ในส่วนของการป้องกันนั้นไม่ได้แตกต่างจากการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบสายพันธุ์อื่น แต่ความยากคือพฤติกรรมของเด็กบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ซึ่งสามารถช่วยลูกป้องกันได้ ดังนี้

 

  • อย่าลืมหน้ากากอนามัย : การสวมหน้ากากอนามัย ถือเป็นมาตรฐานใหม่ในชีวิตประจำวัน แต่ในช่วงเวลาก่อนสถานการณ์โอไมครอนระบาดในประเทศไทย หลายคนอาจละเลยไปบ้าง และให้ความสำคัญน้อยลง เช่น ร้านค้าต่าง ๆ ที่สวมหน้ากากจริง แต่ไม่ได้ปิดปาก เป็นต้น หากเราไม่สามารถบังคับใครได้ ก็ควรป้องกันเด็กด้วยการให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ
  • ให้เด็กพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว : นอกจากการให้เด็กใส่หน้ากากอนามัยแล้ว การให้เด็กพกเจลแอลกอฮอล์ตัวไว้ตลอดเพื่อให้เด็กได้ใช้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากบางครั้งเด็กอาจอยู่กับบุคคลบ้าง หรือห่างจากสายตาของผู้ปกครอง  จะได้สามารถหยิบออกมาใช้ได้เลย
  • ลดการสัมผัสสิ่งของ : ความเสี่ยงจะมากขึ้นหากอยู่ในที่สาธารณะ หรือเดินทางแบบสาธารณะ เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่ได้หลายจุด โดยไม่จำเป็นต้องรับมาจากผู้ที่เป็นพาหะเท่านั้น เชื้อไวรัสเหล่านี้สามารถอยู่ตามพื้นผิวต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรจับสิ่งของใด ๆ หรือหากจำเป็นต้องจับ ก็ควรให้เด็กล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งด้วย
  • ลดการสัมผัสร่างกาย : หากการจับสิ่งของที่อาจมีเชื้อข้างต้น แล้วไม่ได้รับการทำความสะอาดนั้น ความเสี่ยงจะมากขึ้นไปอีกจากพฤติกรรมทั่วไปของเด็ก นั่นคือการจับหน้าจับตาของตนเอง ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย และควรตักเตือนลูกทุกครั้ง เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยง
  • รักษาระยะห่างกับผู้อื่น : ไม่ควรให้เด็กเข้าใกล้ใครมากเกินไปในระยะอย่างต่ำประมาณ 2 เมตร ซึ่งการเว้นระยะห่างนี้เองสามารถช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้รวมไปถึงสายพันธุ์โอไมครอนด้วยเช่นกัน
  • เลี่ยงสถานที่ชุมชน : เชื้อไวรัสทุกชนิดไม่ใช่แค่โอไมครอน สามารถติดจากคนสู่คนผ่านชุมชนที่มีความแออัดได้เป็นปกติอยู่แล้ว โอไมครอนในเด็ก ที่มีความอันตรายนั้นยิ่งไม่ควรมองข้าม หากไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่ชุมชน ก็ควรงดให้เด็กอยู่กับบ้านจะดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ยากจะควบคุม

 

นอกจากจะคอยป้องกันลูกแล้ว โอไมครอนในเด็ก นั้นอาจไม่สามารถป้องกันได้ 100 % คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นตรวจดู สังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ ว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ บ้างหรือไม่ หากมีอาการที่เสี่ยงจะได้พาลูกไปตรวจเพื่อยืนยันผล และเตรียมการรักษาเด็ก และป้องกันคนในบ้านได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

บทความที่น่าสนใจ

ศูนย์ควบคุมโรคแนะ คนท้องเป็นโควิด-19 คลอดลูกเสร็จควรห่างจากลูก 1 สัปดาห์!

สั่งของ รับของ อย่าประมาท ล้างมือด้วย สธ.บอกอาจ ติดโควิด จากถุงใส่ของ ได้!

วิจัยชี้ ! หลังหายโควิด เกินกว่าครึ่งมีอาการผิดปกติระยะยาว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มาข้อมูล : www.gedgoodlife.com www.khaosod.co.th

บทความโดย

Sutthilak Keawon