คุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ NIPT สิทธิบัตรทอง คัดกรองดาวน์ซินโดรม ฟรี! โดย สปสช. ไฟเขียว! สนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มในวงเงิน 2,700 บาทต่อครั้ง
29 ม.ค. 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศปรับเพิ่มวงเงินค่าตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี NIPT เป็น 2,700 บาทต่อครั้ง จากเดิม 1,700 บาท เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่แท้จริง
โดยวิธี NIPT เป็นเทคนิคการตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมที่มีความแม่นยำสูงกว่าวิธีเดิม (Quadruple Test) สปสช. จึงเลือก NIPT เป็นทางเลือกหลักในการคัดกรอง แทนวิธี Quadruple Test ตั้งแต่ 2 ก.ย. 2567 เป็นต้นมา เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าถึงบริการตรวจคัดกรองที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลังจาก สปสช. ได้หารือกับผู้ให้บริการตรวจ NIPT พบว่าราคาอยู่ระหว่าง 2,500 – 5,000 บาทต่อครั้ง การปรับเพิ่มวงเงินเป็น 2,700 บาท ช่วยให้ผู้ให้บริการที่มีศักยภาพสามารถให้บริการได้ทั่วถึง ทั้งนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณรวมประมาณ 644.20 ล้านบาท
การตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรมจำเป็นอย่างไร
หลายคนเข้าใจผิดว่าเด็กดาวน์ซินโดรมจะเกิดกับคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเท่านั้น ความจริงแล้ว ถึงแม้คุณแม่จะมีอายุน้อย ก็มีโอกาสมีบุตรเป็นดาวน์ซินโดรมได้
จากสถิติพบว่า
- 70-75% ของเด็กดาวน์ซินโดรม เกิดจากคุณแม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี
- 25-30% เกิดจากคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอายุเท่าไหร่ ก็ควรให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมนะคะ อายุเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยง ยิ่งอายุมาก ความเสี่ยงก็ยิ่งสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าอายุน้อยแล้วจะไม่มีความเสี่ยงเลย
ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีกี่วิธี
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในครรภ์ มีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เรามาเปรียบเทียบ 3 วิธีหลักๆ ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing), Quadruple Test และการเจาะน้ำคร่ำ ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบวิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
NIPT
|
Quadruple Test |
การเจาะน้ำคร่ำ |
|
วิธีการ | เจาะเลือดแม่ | เจาะเลือดแม่ | เจาะน้ำคร่ำ |
อายุครรภ์ที่ตรวจ | ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ | 14-16 สัปดาห์ | 16-20 สัปดาห์ |
ความแม่นยำ | > 99% | 80% | > 99% |
ความเสี่ยง | ไม่มีความเสี่ยงแท้งบุตร | ไม่มีความเสี่ยงแท้งบุตร | มีความเสี่ยงแท้งบุตร ประมาณ 0.5% |
ตรวจอะไรบ้าง | -ดาวน์ซินโดรม, -ความผิดปกติของโครโมโซม 13, 18, -โครโมโซมเพศ |
-ดาวน์ซินโดรม -ความผิดปกติของโครโมโซม 18 |
-ดาวน์ซินโดรม,
-ความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ -ความผิดปกติทางพันธุกรรม |
ข้อดี | – แม่นยำสูง – ปลอดภัย – ตรวจได้เร็ว |
– ราคาถูกกว่า NIPT – เข้าถึงบริการได้ง่าย |
– ยืนยันผลได้ 100%
– ตรวจหาความผิดปกติได้หลากหลาย |
ข้อเสีย | – ราคาค่อนข้างสูง – อาจให้ผลบวกลวง/ลบลวง |
– แม่นยำน้อยกว่า NIPT – ให้ผลเป็นค่าความเสี่ยง |
– มีความเสี่ยงแท้งบุตร – ต้องรอผลนาน |
เหมาะกับ | – หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการความแม่นยำสูง – หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง เช่น อายุมาก, มีประวัติครอบครัว |
– หญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการตรวจคัดกรองเบื้องต้น – หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สะดวกตรวจ NIPT |
– กรณีผล Quadruple Test มีความเสี่ยงสูง
– ต้องการยืนยันผลวินิจฉัย |
การตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมสำหรับผู้ที่มีสิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ
หลายคนอาจสงสัย คุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ NIPT สิทธิบัตรทอง ฟรี แล้วคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคมหรือสิทธิข้าราชการ ตรวจ NIPT ฟรีด้วยหรือไม่ จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า สิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการ ยังไม่ครอบคลุมการตรวจ NIPT ไม่สามารถเบิกได้ แต่ สามารถตรวจคัดกรองด้วยวิธี Quadruple test โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
ทางเลือกเมื่อตรวจพบว่าลูกมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม
การตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ ช่วยให้คุณแม่มีทางเลือกมากขึ้น และมีเวลาตัดสินใจอย่างรอบคอบ
- ตั้งครรภ์ต่อ: หากคุณแม่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อ คุณแม่จะมีเวลาศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว และเตรียมตัวสำหรับการดูแลบุตร รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
- ยุติการตั้งครรภ์: คุณแม่สามารถเลือกยุติการตั้งครรภ์ได้กฎหมาย
theAsianparent ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้องแข็งแรง ไม่มีภาวะเสี่ยงใดๆ และลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัยทุกคนนะคะ
ที่มา : ไทยโพสต์ , โพสต์ทูเดย์ , โรงพยาบาลกรุงเทพ , โรงพยาบาลรวมใจรักษ์, โรงพยาบาลวิชัยเวช, โรงพยาบาลเปาโล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
22 หมอสูตินรี ที่ไหนดี ปี 2568 รวมสูตินรีแพทย์ที่คุณแม่บอกว่าดี
ออกจากงานมาเลี้ยงลูก ดีมั้ย? ควรทำงานประจำ หรือเป็นแม่ Full Time
นวดคนท้อง ที่ไหนดี 10 พิกัด ที่นวดคนท้อง ปี 2568