ไขข้อสงสัย เมื่อลูก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

การมีลูกนั้นเหมือนเป็นการเดินทางที่ไม่รู้จบ พ่อแม่ จะได้สัมผัสช่วงเวลาระหว่างการได้ดูแลลูกน้อย ไขข้อสงสัย เมื่อลูก "สะอึก" ลูกสะอึก ทารกสะอึก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

 

การมีลูกนั้นเหมือนเป็นการเดินทางที่ไม่รู้จบ พ่อแม่ จะได้สัมผัสช่วงเวลาระหว่างการได้ดูแลลูกน้อย และ สิ่งที่น่ากังวลคือหลายๆคนไม่เคยมีลูกมาก่อน มีหลายเรื่องที่ไม่รู้เกี่ยวกับอาการต่างๆของลูกวันนี้มาดู ความจริงของ ทารกสะอึก ลูกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง

ไขข้อ สงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูก สะอึก ทารก สะอึก มีอะไรที่ ควรรู้บ้าง!

มีหลายสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยและดูน่าสงสัย และ น่าสนใจ เช่น ทารกหลายคนอาจจะหลับอยู่แต่ลืมตา หรือ หัวของลูกอาจจะอ่อนได้ หรือบางครั้ง ลูกอาจจะมีการสะอึก วันนี้เรามาดูเรื่องราวทั้งหมดของลูกสะอึก ทารกสะอึก กันเถอะ

 

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

 

การสะอึกเป็นเรื่องปกติของทารก  สาเหตุที่เจ้าหนูสะอึกเป็นเพราะกล้ามเนื้อกระบังลมทำงานไม่สัมพันธ์กับการหายใจเข้าออก อาการทารกสะอึกมักจะเกิดหลังจากที่ลูกกินนมอิ่ม  เมื่อทารกอิ่มกระเพาะอาหารเกิดการขยายตัวเพราะมีนมเข้าไปอยู่  ทำให้เกิดแรงดันไปที่กล้ามเนื้อกระบังลมตรงบริเวณรอยต่อระหว่างช่องปอดกับช่องท้อง  ทำให้กระบังลมหดตัวอย่างรวดเร็ว  ขณะหายใจออกจึงทำให้ทารกเกิดอาการสะอึกนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวนะคะ ถึงแม้ว่าการสะอึกนั้นจะดูน่ารำคาญสำหรับเราที่เป็นผู้ใหญ่ แต่การสะอึกสำหรับทารกนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติโดยสิ้นเชิง รู้ไหมคะว่าเด็กๆนั้น บางครั้งมีการสะอึกตั้งแต่ในท้องแม่ เพราะฉะนั้นมันถึงไม่ได้เป็นปัญหากับการหายใจของพวกเขา

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

ถามว่าอันตรายไหม? คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ  อาการทารกสะอึกถือเป็นเรื่องปกติค่ะ  เหมือนกับที่ผู้ใหญ่อย่างเราสะอึกเช่นกัน  อาการสะอึกของทารกจะเริ่มดีขึ้น หรือเกิดไม่บ่อยนัก ตอนอายุประมาณ 4 – 5 เดือน เพราะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้นตามวัย แต่ถ้าทารกสะอึกต่อเนื่องเป็นเวลานานและอาเจียนร่วมด้วย  แบบนี้ไม่ดีแน่ต้องพบคุณหมอแล้วค่ะ ในกรณีที่เป็นทารกแรกเกิดสะอึกเป็นเวลานานคุณหมอจะรักษาตามอาการ  โดยการซักถามประวัติของทารก  สำหรับยาที่จัดให้รับประทานนั้นเป็นยาคลายเครียด เพื่อให้ยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหาร  หรือยาขับลม  ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อีกเรื่องหนึ่งที่เราควรทำความเข้าใจคือ อาการสะอึก นั้นจะพบได้บ่อยในทารกมากกว่าผู้ใหญ่ และ จะเกิดขึ้นบ่อยเมื่อเด็กได้ทานอาหารและกลืนอากาศมากขึ้น

ไข ข้อ สงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูก สะอึก ทารก สะ อึก มีอะ ไรที่ ควรรู้บ้าง!

ต้นเหตุอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดสะอึกได้ เช่น ลูกของเราอาจจะกินเร็วเกินไป หรือ กินนมมากเกินไป ซึ่งอาหารหรือนมนั้นจะเข้าไปทำให้เกิดปัญหาที่กระเพาะอาหารซึ่งอาจจะนำไปสู่อาการสะอึก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

หากพ่อแม่สังเกตว่า ลูกน้อยของเรามีปัญหาและทุกข์ทรมานจากอาการสะอึกควรพยายามจะหยุดที่จะให้นม หรือ อาหารที่เร็วเกินไป 

ลูกสะอึกเป็นหนึ่งในพัฒนาการ

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

การวิจัยใหม่จาก University College London เผยว่า เมื่อลูกน้อยแรกเกิด มีอาการสะอึด นั้นหมายความ สมองมีการพัฒนาที่จะควบคุมระบบหายใจในร่างกาย การศึกษานี้ถูกตีพิมพ์ลงวารสาร Clinical Neurophysiology ซึ่ง นักวิจัยได้ทพการสแกนสมองของลูกน้อยแรกเกิด เพื่อทำความเข้าใจว่าทำไม ลูกน้อยในครรภ์ และ ทารกแรกเกิดนั้นมีการสะอึกที่ค่อนข้างบ่อย โดนทารกในครรภ์ เริ่มมีอาการสะอึกเร็วที่สุดเมื่ออายุครรภ์ 9 สัปดาห์

“อาการสะอึกเกิดขึ้นเมื่อสมองส่งสัญญาณให้ไดอะแฟรมดึงอากาศจำนวนมากเข้าสู่ด้านหลังของลำคอ” Harvard Health อธิบาย เสียง “อึก” ที่เกิดขึ้นระหว่างสะอึก 

“กิจกรรมที่เกิดจากการสะอึกนั้น อาจจะช่วยทำให้สมองของลูกน้อยได้เรียนรู้วิธีกำหนดลมหายใจ รวมถึง ช่วยให้ ลูกน้อยควบคุมลมหายใจได้ในที่สุด” กล่าวโดย Dr.Lorenzo Fabrizi เพราะฉะนั้นการสะอึดในเด็กแรกเกิดนับเป็นพัฒนาการที่ช่วยพัฒนาสมองของลูกน้อย

วิธีแก้อาการสะอึก หลังทารกกินนม

ไขข้อสงสัย เมื่อลูก “สะอึก” ลูกสะอึก ทารกสะอึก มีอะไรที่ควรรู้บ้าง!

  • หลังจากที่ลูกกินนมแล้ว คุณแม่ต้องทำให้ลูกเรอเพื่อไล่ลมออกทุกครั้ง โดยอาจจะใช้การตบหลับเบา ๆ หรือวนมือเป็นวงกลมบริเวณท้องก็ช่วยได้เหมือนกัน
  • วิธีอุ้มให้ลูกเรอ ให้อุ้มโดยให้ส่วนหัวพักอยู่บนไหล่ของเราแล้วลูบหลัง หรือจะอุ้มพาดบ่าไปเลยก็ได้ แต่ต้องให้ลูกตัวตั้งด้วย และอุ้มเดินไปเดินมาเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลออกจากกระเพาะอาหารได้เร็วขึ้น
  • ให้ลูกนั่งตัวตรงบนตัก แล้วใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับประคองคางลูกไว้ โดยให้ตัวลูกเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มือลูบขึ้นเบา ๆ ช้า ๆ ลูบจากเอวด้านหลังขึ้นมาจนถึงต้นคอ เพื่อไล่ลม
  • การให้ลูกดูดนมแม่ก็ช่วยแก้อาการสะอึกได้ โดยไม่ต้องกินน้ำ แต่ถ้าเคสที่เด็กกินนมผง อาจจะแก้โดยให้เด็กกินนมจากขวด ก็จะช่วยให้เด็กหยุดสะอึกได้เร็วขึ้น

 

Source : Babygaga

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

ชุดทารกแรกเกิดน่ารัก ๆ ราคาเบา ๆ คุณแม่สายช้อปห้ามพลาด!

ทําไมคนท้องต้องกินไข่? ไข่สุดยอดอาหารที่ทำให้แม่ท้องและลูกแข็งแรง!

วิจัยเผย สุขภาพจิตหญิงตั้งครรภ์ สำคัญ แม่ท้องซึมเศร้ามีผลต่อลูกน้อยในครรภ์!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

bossblink