เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน เหตุผลคืออะไร มาดูข้อมูลกัน

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น จนอะไร ๆ ก็ง่ายไปหมด เด็กไทยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น จนเด็กเริ่มอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ หรือแม้แต่เล่นนอกบ้านน้อยลง จนน่าเป็นห่วง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน เหตุผลคืออะไร มาดูข้อมูลกัน

เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน จริงหรือไม่ที่เด็กไทยยุคใหม่ ไม่ชอบ การอ่าน การเขียน เราจะต้องมาดูข้อมูลกันว่า สถิตินี้ บอกอะไรเราได้บ้าง? และ ทำไมเด็กไทย ยุคใหม่เหล่านี้ ถึง ไม่ชอบเขียนกันหลายต่อหลายคน จนต้องมีงานวิจัยออกมา

เด็กไทยยุคใหม่ทำไมไม่ชอบการเขียน

เด็กไทยติด Social Media มากขนาดนั้นเลยหรือ?

เด็กไทยยุ คใหม่ไม่ชอบการเขียน

– สิ่งแรกที่เด็กไทยร้อยละ 51.1 ทำอย่างแรกหลังจากตื่นนอนคือการเช็คโทรศัพท์มือถือ
– สิ่งสุดท้ายที่เด็กไทยร้อยละ  35 ทำก่อนนอนคือการเล่น Facebook และ LINE
– เด็กไทยมีตัวเลขการใช้โทรศัพท์มือถือสูงขึ้น 2-3 เท่าในหนึ่งปี
– เด็กไทยร้อยละ 75.7 เล่น Social Network บ่อยจนไปถึงประจำ
– เด็กนักเรียนหญิงเล่น Social Network มากกว่านักเรียนชาย
– เด็กไทยร้อยละ 20.3 มีการใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ
– เด็กไทยร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์
– เด็กไทยร้อยละ 28.7 ระบุว่าถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันบน Social Media

นอกจากนี้ผลวิจัยจากบริษัทมือถือแห่งหนึ่งยังชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นไทยมีมือถือและใช้มือถืออันดับหนึ่งของเอเชีย ทั้งทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถืออันดับหนึ่ง แถมวัยรุ่นไทยมีเพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับหนึ่ง สถิติการมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของเด็กไทยยังสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย ร้อยละ 23 ของวัยรุ่นไทยบอกอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ =_=!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สถิตินี้กำลังบอกอะไรกับเราอยู่? กำลังบอกว่าลูกหลานของเรามีเพื่อนเป็น “โทรศัพท์มือถือ” กันอยู่ใช่หรือไม่? หรือกำลังบอกไปถึงสาเหตุของอะไรบางอย่างที่เรากำลังค้นหาเหตุผล เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กไทย ที่ส่งผลให้ปัจจุบันนักบำบัดและจิตแพทย์เด็กต้องมาทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาให้กับเด็กที่เกิดมามี “ภาวะปกติ” มากกว่าเด็กที่มีภาวะพิเศษแบบต่าง ๆ กันอยู่ค่ะ

เปลี่ยนผู้ร้าย IT ให้เป็นพระเอกตัวจริง

เราจะฝึกลูกให้พัฒนาสมองได้อย่างไร?

เด็กไทยยุคให ม่ไม่ชอบการเขียน

กล้ามเนื้อมือ เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่ในการพัฒนาสมองของลูกค่ะ เพราะนิ้วมือแต่ละนิ้วของลูกมีความสัมพันธ์กับสมองในแต่ละส่วนและการพัฒนาด้านต่าง
– นิ้วโป้ง สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหน้าซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านจิตใจ
– นิ้วชี้ สัมพันธ์กับสมองกลีบด้านหลังซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านความคิด
– นิ้วกลาง สัมพันธ์กับสมองกลีบข้างขม่อมซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านร่างกาย
– นิ้วนาง สัมพันธ์กับสมองกลีบขมับซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการฟัง
– นิ้วก้อย สัมพันธ์กับสมองกลีบท้ายทอยซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการมอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กควรได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำมาก ๆ

นักการศึกษาหลายท่านจึงมุ่งเน้นการพัฒนาเด็ก ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำให้มากที่สุดเพราะนอกจากจะได้ฝึกกำลังของกล้ามเนื้อมือแล้ว ยังเป็นการส่งสัญญานไปพัฒนาสมองส่วนต่าง ๆ ของเด็กได้อีกด้วย ความลับของสมองอีกข้อหนึ่ง คือการปฏิวัติตนเองแบบอัตโนมัติทุก ๆ 7 ปี ไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สูงขึ้น

เด็กหลายคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทักษะใดใดมาก็อาจจะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ แต่ไม่ได้ไปถึงขั้นสูงสุดของศักยภาพสมอง เพราะในช่วงสำคัญ 0-7 ปี มีโอกาสในการได้ใช้นิ้วมือทั้ง 5 เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสื่อกระตุ้นประสาทสัมผัส อาทิ ทราย แป้งปั้น น้ำ ฯลฯ น้อยกว่าเด็กคนอื่น ๆ เมื่อกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสนี้มีข้อมูลที่น้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การนำความจำเดิมที่เป็นประโยชน์ตอนที่สมองปฏิวัติตนเองก็เลยไปไม่ถึงจุดสูงสุด เมื่อเด็กโตขึ้นจนเลยวัยสำคัญ ปัญหาของการใช้ “นิ้วมือ” ที่น้อยก็จะไปส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กไทย ดังที่เห็นในงานวิจัยค่ะ

การใช้โทรศัพท์ สัมพันธ์กับการเขียน

เด็กไทยยุคใหม่ไ ม่ชอบการเขียน

แล้วเกี่ยวอย่างไรกับการเขียน? ปัญหาเรื่องลายมือ ปัญหาเรื่องการเขียนกลับด้าน ปัญหาเรื่องการมีความพยายามต่ำ ฯลฯ เป็นปัญหาที่มีจุดเริ่มต้นมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันทั้งสิ้นค่ะ การออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราซึ่งเป็นแม่บ้านในยุคใหม่

สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างสะดวกสบายขึ้น กลายมาเป็นตัวขวางการพัฒนาการของข้อมือของเด็กในช่วงที่ถึงวัยต้องจับปากกาดินสอ ก็เพราะว่า “ที่พยุงเด็กฝึกเดิน” ไปทำให้โอกาสในการคลานของเด็ก ๆ “ลดลง” แบบที่เราก็ไม่เคยคาดคิดค่ะ

เมื่อข้อต่อบริเวณข้อมือไม่ได้ฝึกรับน้ำหนักมาตั้งแต่วัยหัดคลาน พอถึงวัยหัดเขียนคุณพ่อคุณแม่หรือแม่กระทั่งคุณครู ต้องมาเห็นบรรยากาศการวาดรูปด้วยน้ำตาของลูกแทนที่จะเป็นการปลดปล่อยจินตนาการ

นักบำบัดจึงเข้ามามีบทบาทในการฝึกคลาน หรือฝึกทำท่าไถนา (ให้เด็กใช้มือตั้งศอกตรงวางลงบนพื้นและผู้ฝึกยกขาให้เด็กเดินไปข้างหน้าเหมือนไถนา) นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่เครื่องอำนวยความสะดวกเข้ามาทำหน้าที่จนทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนาลูกแบบที่หลายครอบครัวคงคิดไม่ถึงนะคะ

ทำให้ลูกมีนิสัยรักการอ่าน

การสอนต้องมาพร้อมกับความสนุก

เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอ บการเขียน

ทั้งนี้เมื่อรวมเข้ากับวิธีการใช้ชีวิต ของ คุณพ่อ คุณแม่ Generation Y อย่าง พวกเราแล้วละก็ ยังมีอีก หลายข้อ ที่ ความสะดวกรวดเร็ว กำลังกลับมาเป็นปัญหา ที่ต้องมา แก้เมื่อ ลูกถึงวัยที่ควรจะ พัฒนาได้ค่ะ จาก ปัญหาการไม่อยากขีด ๆ เขียน ๆ มาประกอบ กับ การแทนที่ ของเครื่องมือ ลาก ๆ จิ้ม ๆ ที่ง่าย สำหรับการใช้งาน เเถมยังสนุก เพราะเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การกระตุ้นสมองด้านเดียว คือ ด้านความคิด (ส่วนใหญ่ใช้นิ้วชี้) เด็ก ๆ จึงสนุกคิด แต่ไม่สนุกทำ ความสามารถในการคิดฝันจิตนาการ project ต่าง ๆ สูงลิ่ว แต่ความสามารถในการลงมือทำต่ำแบบสวนทางกันค่ะ

จึงไม่น่าแปลกใจที่วัยประถมศึกษา จะเป็นวัยที่พบว่าเด็กมีปัญหาในการเรียนสูงมากขึ้น ๆ เมื่อถึงวัยมัธยมก็ได้กลายไปเป็นเด็กหลังห้องให้คุณครูและผู้ปกครองตามแก้กันอย่างน่าปวดหัวค่ะ

การเขียนของเด็กในวันนี้สะท้อนภาพอะไรที่มากมาย เราลองกลับมาให้เครื่องมือง่าย ๆ เช่น กะบะทราย ดินสอ สี กระดาษ ใบไม้ใบหญ้า หรือดินเหนียวกับลูก ๆ ให้ลูกได้เรียนรู้จากสัมผัสที่มากพอเพื่อเป็นประสบการณ์ของสมองที่สมดุลย์ ก่อนที่จะต้องกลับมาซ่อมแซมและสร้างสมดุลย์ที่เสียไปกันดีไหมค่ะทุกท่าน ^_^

โดย ครูป๋วย

Source : nytimes

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

15 นิทานอีสป นิทานสอนเด็ก คติสอนใจ อ่านสนุกสาระเน้น ๆ

7 วิธีการเรียนรู้ของเด็ก

วิธีดูเพศลูกในใบซาวด์ อ่านผลอัลตร้าซาวด์ยังไง ซาวด์ตอนไหนเห็นเพศชัดสุด

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team