แผลคลอดธรรมชาติ แผลฝีเย็บ ใช้มีดกรีด หรือกรรไกรตัดกันแน่?

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คุณแม่หลายคนมักกังวลใจเรื่องแผลผ่าคลอด เพราะกลัวจะทำให้สูญเสียความมั่นใจ แม่ที่คลอดธรรมชาติส่วนใหญ่ มักมีแผลฝีเย็บทิ้งรอยไว้หลังจากคลอดลูก วันนี้เราจะพามาดูกันว่า แผลคลอดธรรมชาติ การตัดฝีเย็บ หมอใช้มีดกรีดหรือกรรไกรตัด แผลฝีเย็บที่เกิดขึ้นระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก หมอทำอย่างไร และมีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันครับ

 

แผลฝีเย็บจากการคลอดธรรมชาติ

นพ.แมนวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล เจ้าของเพจ เรื่องเล่าจากโรงหมอ ได้โพสต์ถึงกรณีที่มีการถกเถียงกันว่า เวลาคลอดลูก เค้ากรีดหรือเค้าตัดแผลฝีเย็บกันแน่? โดยระบุว่า การตัดแผลฝีเย็บเพื่อช่วยคลอด เป็นหัตถการที่มีประโยชน์ ถ้าเลือกใช้อย่างเหมาะสม ทำได้ไม่ยาก แต่หลายคนโดยเฉพาะบุคลากรการแพทย์ อาจไม่เคยรู้ว่า หัตถการนี้ เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเค้ากลัวกันทั้งโลก

มีการสำรวจในต่างประเทศที่การแพทย์พัฒนาไปมาก ๆ การตัดแผลฝีเย็บ คือเรื่องน่ากลัวสำหรับคุณแม่ติดอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว เชื่อว่าคุณแม่คนไทยเองก็น่าจะหวาดเสียวและอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่แพ้กัน

 

แผลคลอดธรรมชาติระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก การตัดฝีเย็บ

การตัดแผลฝีเย็บ (episiotomy หรือ perineotomy) คือ การทำให้เกิดแผลผ่าตัดบริเวณระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก ในช่วงที่ผิวหนังตึงและยืดออกขณะเบ่งคลอด เพื่อเพิ่มความกว้างของช่องทางคลอด ให้เด็กคลอดออกมาได้ และอาจช่วยลดการฉีกขาดของช่องคลอด รวมทั้งลดระยะเวลาการคลอดลงด้วย

การตัดแผลฝีเย็บนี้ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในตำรา A Treatise of Midwifry: In Three Parts ของคุณหมอ Fielding Ould ตั้งแต่ปี 1742 ในยุคนั้นหัตถการนี้ทำโดยไม่มียาแก้ปวด ไม่ใส่ถุงมือ ไม่มียาปฏิชีวนะ ตัดกันสด ๆ ด้วยกรรไกร หรือใช้มีดคม ๆ กรีด นำมาซึ่งความเจ็บปวดแสนสาหัส และมีการตกเลือด ติดเชื้อ มีผลข้างเคียงรุนแรง จะทำเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นแล้วเท่านั้น (no chance for saving either mother or child)

ในช่วงปี 1920-1980 มีแนวคิดที่ว่า การตัดแผลฝีเย็บจะทั้งช่วยให้คลอดง่ายขึ้น ป้องกันการฉีกขาดของช่องคลอดเและหูรูด ซ่อมแผลง่าย ลดทั้งระยะเวลาการคลอดและการตกเลือด ดังนั้น การตัดฝีเย็บจึงเป็นหัตถการปกติที่ทำในคนไข้คลอดแทบทุกราย โดยกว่า 80% ของแม่ท้องแรกที่คลอดในอเมริกายุคนั้น ได้รับการตัดฝีเย็บ

หลังปี 1980 จนถึงปัจจุบัน…ข้อมูลต่าง ๆ ชี้ชัดว่า การตัดฝีเย็บเพื่อช่วยคลอดนั้น ไม่ได้มีผลดีอย่างที่คิด กลับกัน อาจทำให้ตกเลือดมากขึ้น มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหูรูดมากขึ้น ไม่ลดปัญหามดลูก-ช่องคลอดหย่อน ไม่ลดอัตราการเกิดปัสสาวะเล็ดราด และยังอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหลังคลอด/หลังแผลหาย/ปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : แผลฝีเย็บ หลังคลอด รู้สึกเจ็บจี๊ด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไร?

 

 

ปัจจุบัน…ในสหรัฐอเมริกา มีอัตราการตัดฝีเย็บเพียง 10+% เท่านั้น

*ข้อบ่งชี้ของการตัดแผลฝีเย็บที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เป็นการคลอดท้องแรก
  • ทารกตัวโต (เช่นในต่างประเทศยึดที่มากกว่า 4 กก.)
  • คลอดยากและนาน
  • คลอดติดไหล่

และการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการต่าง ๆ โดยการตัดแผลฝีเย็บแบบ mediolateral ที่มุมกว้างกว่า 40 องศา และตัดเร็วกว่าเดิม คือให้ตัดก่อน crowning อาจจะช่วยลดการบาดเจ็บของช่วงทางคลอดได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ยังมีความนิยมในการตัดฝีเย็บเพื่อช่วยคลอดอยู่มาก ซึ่งเหตุผลอาจมาจากความเชื่อว่าสรีระของผู้หญิงไทยแตกต่างจากชาวตะวันตก หรือเป็นความเคยชินของผู้ดูแลการคลอด (ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านยังเชื่อว่า แผลตัด ซ่อมง่ายและสวยกว่าฉีกขาดเอง) ถ้าคุณแม่ท่านไหนสงสัย ลองคุยกับคุณหมอ คุณพยาบาลที่ดูแลท่านนะครับ 🙂

 

แผลคลอดธรรมชาติใช้มีดกรีดหรือกรรไกรตัด

ย้อนไปที่คำถาม ตกลง กรรไกรตัด หรือมีดกรีด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีดกรีด…คงมีแหละ อย่างน้อยก็ในตำราโบราณ ๆ มีกล่าวถึง แต่เป็นหมอมานานพอสมควร ก็ยังไม่เคยเห็นใครเอามีดมากรีดช่องคลอดสักที

เค้าใช้กรรไกรตัดกันทั้งนั้น มีกรรไกรที่ออกแบบไว้เพื่อการนี้โดยเฉพาะด้วยซ้ำครับ 🙂

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการเจ็บฝีเย็บ การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด ให้แผลแห้งไว หายไว

 

 

วิธีดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด

  1. ล้างด้วยน้ำอุ่นทุกครั้งหลังเสร็จภารกิจในห้องน้ำ ถ้าต้องการซับหรือเช็ด ให้เบามือและเช็ดจากด้านอวัยวะเพศไปทางทวารหนัก ไม่เช็ดย้อนกลับ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บได้
  2. อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้ง เพราะหลังคลอดจะมีน้ำคาวปลาออกมาทางช่องคลอด จึงควรใส่ผ้าอนามัยไว้ตลอด
  3. หากปวดมากให้ใช้การประคบเย็นเข้าช่วย สเปรย์สำหรับป้องกันการติดเชื้อก็มีประโยชน์สำหรับแผลขนาดใหญ่
  4. กินอาหารที่มีเส้นใยสูงเพื่อป้องกันอาการท้องผูก จะได้ไม่ทรมานเวลาขับถ่ายนะครับ

 

ช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด แม่จะเจ็บและตึงบริเวณแผลฝีเย็บ พยายามรักษาความสะอาดแผลคลอดธรรมชาติสม่ำเสมอ หากปวดแผลฝีเย็บ แผลบวมมากขึ้น มีไข้ อาจจะอักเสบและติดเชื้อได้ แม่ควรไปพบแพทย์นะครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

การดูแลแผลฝีเย็บหลังคลอด วิธีดูแลแผล และการกระชับฝีเย็บ

เผยเคล็ดลับ วิธีรักษารอยแผลเป็น รักษาอย่างไรให้รอยแผลหาย เห็นผลจริง!

เคล็ดลับดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด แม่หลังคลอดต้องทำอย่างไรบ้างให้ฟื้นตัวเร็ว

ที่มา : facebook

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya