เตือนพ่อแม่! อวยลูกมากเกินไป จนลูกกลายเป็นคนหลงตัวเอง

ไม่ดีแน่ถ้าปล่อยให้ลูกกลายเป็น คนหลงตัวเอง เพราะลูกจะกลายเป็น คนขี้อิจฉา ชอบคิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น และทำอะไรก็ไม่คิดถึงคนอื่น ซึ่งเด็กเหล่านี้มีการวิจัยพบว่า จะไม่ประสบความสำเร็จในอนาคต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ว่ากันว่า ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น เด็กจะเติบโตไปเป็นแบบไหน ขึ้นอยู่กับ วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ และการประสบการณ์ การรับรู้ที่พวกเขาอยู่มาตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ทุกครอบครัว มุ่งมั่นศึกษา หาวิธี และทุ่มเท เพื่อให้ต้นกล้าต้นน้อยเติบโตไปเป็น ต้นไม้ใหญ่ที่แข็งแรง สมบูรณ์ และได้รับคำชื่นชมยินดี คำชื่นชมแต่เด็กก็มีความสำคัญ ที่จะส่งผลให้เด็กน้อยมีความเชื่อมั่นในตนเอง (self esteem) ซึ่งเป็นสังคมสมัยนี้ร่วมกันผลักดัน แต่ในคำชื่นชมเหล่านั้น ก็มีบางอย่างที่พ่อแม่ต้องระวัง หากไม่อยากให้ลูกกลายเป็นคนที่หลงตัวเอง มีพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นหัวคนอื่น มักแสดงตนว่า มีสิทธิเหนือ ชอบเอาชนะ ขี้อิจฉา คงไม่มีใครอยากให้ลูกเป็นแบบนั้น ลองดูดี ๆ มันจะมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ระหว่าง คำชื่นชม กับ คำอวย ระวัง อย่า อวยลูกมากเกินไป 

เตือนพ่อแม่! อวยลูกมากเกินไป จนลูกกลายเป็นคนหลงตัวเอง

มาดูกันก่อนว่า โรคหลงตัวเอง คืออะไร

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ National Academy of Sciences พบว่า เด็กที่พ่อแม่ชอบบอกว่า ลูกเป็นคนพิเศษ และดีกว่าคนอื่น จะทำให้เขากลายเป็นคนหลงตัวเอง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย San Diego State University และผู้เขียนเรื่อง Narcissism Epidemic และ Generation Me ได้บอกว่าโรคหลงตัวเองนั่น ทำให้คนเกิดความรู้สึกถือตัว ภูมิใจในตัวเองมากเกินไป การมีสิทธิ์เหนือคนอื่น ทำอะไรก็ไม่นึกถึงคนอื่น และสนใจแต่ความคิดของตัวเองเท่านั้น ซึ่งนั่นมันจะทำให้คนอื่นมองว่า “แย่” โรคนี้จะเริ่มปรากฎให้เห็นได้ ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และเด็กจะเริ่มเปรียบเทียบตนเอง กับเพื่อนคนอื่นๆ เพราะฉะนั้นคำพูดของพ่อแม่ จึงสำคัญที่สุด

Eddie Brummelman นักวิจัยด้านดุษฏีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม กล่าวว่า เด็กที่หลงตัวเอง มักจะสนใจแต่ตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่สนใจใคร โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะเขามักจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนอื่น ได้รับการยกย่องจากผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้เด็กเกิดการภาคภูมิใจในตัวเองมาก

เด็กที่หลงตัวเอง มักจะมีพฤติกรรมที่ชอบข่มเหงคนอื่นๆ มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ เมื่อติดตัวเด็กไปจนโตก็จะกลายเป็นตัวขัดขวางความสำเร็จในอนาคต หรือมีปัญหาในการเข้าสังคมก็เป็นได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ทำไมเด็กถึงเติบโตเป็นคนหลงตัวเองได้ล่ะ? 

นักวิจัยได้บอกถึงสาเหตุของ เด็กที่หลงตัวเองว่า เกิดจาการที่พ่อแม่ชอบพูดเน้นย้ำ และเน้นความพิเศษของลูก ทำให้เกิดการหลงตัวเอง ส่วนอีกสาเหตุหนึ่ง มีนักวิจัยมองว่า เกิดจากการถูกประเมินค่า และได้รับการปฎิบัติอย่างรุนแรง

จากการศึกษาคนในประเทศเนเธอร์แลนด์ 565 คน ในวัย 7-11 ปี รวมถึงพ่อแม่ของเด็กๆ ซึ่งพวกเขาได้ทำการสำรวจ และเยี่ยมชม 4 ครั้ง ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ทำให้ทราบว่า เด็กชอบจะได้รับความพิเศษเสมอ เด็กๆ อย่างฉันมีความสุขกับตัวเอง และ พ่อแม่ทำให้รู้ว่าเขารักฉัน ส่วนพ่อแม่จะถูกถามว่า พวกเขาให้ความสำคัญกับลูกยังไง ส่วนใหญ่จะตอบว่า ลูกฉันมีความพิเศษกว่าคนอื่น หรือ บอกกับกับเด็กๆ ว่าพ่อแม่รักพวกเขา ทำให้ทราบว่า ความอบอุ่นของพ่อแม่นำไปสู่การนับถือตัวเองสูง และเด็กที่เชื่อว่าตนเองเป็นคนพิเศษ หรือมีสิทธิมากกว่าคนอื่น มักจะหลงตัวเอง

ผลการศึกษา พบว่า พ่อมีแนวโน้มที่จะพูดให้เด็กรู้สึกว่าตนเองพิเศษมากกว่าแม่ และยังพบอีกว่า การหลงตัวเอง สามารถถ่ายทอดทางพันธูกรรมได้ หรือ สามารถที่จะถ่ายถอดกันรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

วิธีที่ป้องกันไม่ให้เด็กเป็นคนหลงตัวเอง

พ่อแม่ควรเปลี่ยนวิธีที่จะคุย หรือบอกกับลูกว่า ลูกเป็นคนพิเศษ ให้บอกเป็น พ่อ/แม่รักลูกนะ ถึงแม้ว่าจะเป็นคนที่ธรรมดา แต่เด็ก ๆ รับรู้ และเข้าใจมันได้อย่างดี นั่นเป็นข้อความที่พ่อแม่ควรพูดมากกว่า ลองดูนะคะ พ่อแม่ควรจะรักลูกแบบพอดี

_________________________________________________________________________________________

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

theAsianparent Thailand เชื่อว่าการศึกษาที่ดี จะช่วยเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็ก เป็นการเริ่มต้นสร้างสภาะแวดล้อมในการเรียนรู้ได้อย่างสมวัย และเป็นไปตามที่พ่อแม่ต้องการการเลือกโรงเรียนให้กับลูกคือหัวใจหนึ่งของการศึกษา เพราะการเลือกโรงเรียนตั้งแต่เนอสเซอรี่ การเลือกโรงเรียนอนุบาล เป็นด่านแรกที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกได้ เช่น มีหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรวิชาการที่พอดีกับการเรียนรู้ การใช้ Play Base Learning เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญษทั้ง 8 ด้าน หรือ EF ที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill อย่างสมดุลย์ เพราะการเรียนรู้ที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ต่อเนื่องไม่จำกัด และทำให้เด็กค้นพบตัวตน และมีความสุขกับการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

ที่มา: pbs

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ชมลูกอย่างไรได้ผลดี ไม่มีหลงตัวเอง

บทความโดย

Khunsiri