คนท้องห้ามย้ายบ้าน! วิจัยเผย คนท้องย้ายมีเกณฑ์คลอดก่อนกำหนด
หลาย ครอบครัวเมื่อทราบข่าวว่ามีคนท้องอยู่ในบ้าน ก็พร้อมใจที่อยากจะย้ายไปอยู่บ้านใหม่ เพื่อที่จะหาบ้านที่ใหญ่ขึ้น ดีขึ้น และ เหมาะกับคนท้องและลูกน้อยในครรภ์ที่กำลังจะเกิด แต่วิจัยเผยว่า คนท้องห้ามย้ายบ้าน เพราะการเคลื่อนไหว และ การย้ายบ้านในช่วงตั้งครรภ์ มีความเชื่อมโยงกับ การคลอดก่อนกำหนด เพราะฉะนั้นหากคิดจะย้ายบ้านในช่วงแม่ท้องอาจจะต้อง พับแพลน ไปก่อนนะคะ
นักวิจัยศึกษา และ วิเคราะห์ ข้อมูลจากแม่ท้องมากกว่า 100,000 คน ในรัฐวอชิงตัน (Washington) นักวิจัยพบว่า แม่ท้องที่ย้ายบ้านในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ 42% นั้นมีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดลูกก่อนกำหนด และ 37% มีแนวโน้ม ที่ทารกที่คลอดออกมา จะมี น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มากกว่าแม่ท้องที่ไม่ได้มีการย้ายบ้านในช่วงไตรมาสแรก
จากการศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวันที่ 30 กรกฏาคม 2019 ในหนังสือวารสารระบาดวิทยาและสุขภาพชุมชม (Journal of Epidemiology and Community Health) พบว่าการย้ายบ้านในระหว่างการตั้งครรภ์นั้นมีผลลัพธ์ที่สามารถเกิดอันตราย
จากการศึกษานั้นพบว่าการเคลื่อนย้ายไปมา ในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสแรกนั้นมีความเสี่ยงเนื่องจากการเคลื่อนไหว ยกของ ที่อาจจะสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ แมท้องไตรมาสแรกควรที่จะลดความเคลื่อนไหวในช่วงแรก
Julia Bond หนึ่งในทีมกรณีศึกษา ในรัฐวอชิงตัน (Washington) ได้ มีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติม บอกว่า การย้ายบ้านนั้นไม่เพียงแต่มีการเคลื่อนไหวตัวไปมา แต่ การย้ายบ้านนั้นบางครั้งอาจจะส่งผลต่อความเครียด และ แรงกดดัน ที่จะเข้ามาถึง
Julia Bond ยังอธิบายเพิ่มอีกว่า การย้ายบ้านนั้น ไม่เพียงแต่เป็นการที่ทั้งครอบครัวของแม่ท้องย้ายเข้าไป แต่มันหมายถึงการรีโนเวท ปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม เกี่ยวกับบ้านซึ่งบางครั้งการย้ายบ้าน อาจจะมีความเชื่อมโยงกับ ความกดดันของแม่ท้องอีกด้วย
การศึกษาแสดงให้เห็นว่าแม่ท้องหลายคนประสบกับความตึงเครียด ในไตรมาสแรก ที่มาจากการย้ายบ้านซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงปัญหาสำคัญของการคลอด นั้นก็คือการคลอดก่อนกำหนด
และสำหรับการวิจัย และ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่าจากการวิจัยมีแม่ท้องถึง 28,000 ที่มีการย้ายบ้านในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร
โดยบรรดาคนที่ย้ายบ้านในช่วงไตรมาสแรกนั้นมี เปอร์เซ็นต์ ในการคลอดก่อนกำหนดถึง 9.1% (ก่อน 37 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์) เมื่อเทียบกับ 6.4% ของแม่ท้องที่ไม่ได้ย้ายบ้าน ในช่วง ไตรมาสแรก
นอกจากนี้ในบรรดาผู้ที่ย้ายบ้านในช่วง ไตรมาสแรก 6.4% นั้น มีเกณฑ์ที่ ทารกถูกจัดและ พิจารณาว่ามี “น้ำหนักแรกเกิดต่ำ” (ต่ำกว่า 5.5 ปอนด์ หรือ 2,500 กรัม) เมื่อเปรียบเทียบกับ 4.5% ของแม่ที่ไม่ได้ย้ายบ้าน
การค้นพบเกิดขึ้นเพราะปัจจัยการย้ายบ้านมีผลเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และ ลูกน้อยที่น้ำหนักแรกเกิดต่ำ
การศึกษา และ การวิจัย ได้เปิดเผยเหตุผลในการเคลื่อนไหวในไตรมาสแรก เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการคลอดก่อนกำหนด และ ลูกน้อย น้ำหนักต่ำ นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่อาจมีบทบาท ในการเชื่อมโยง ทั้งจากการไม่ดูแล สุขภาพ ความเครียดทางร่างกาย และ ความเครียดจากการ อารมณ์ และ การย้ายบ้าน
โดยนักวิจัย เผยว่า หากมีการย้ายบ้านเกิดขึ้น แม่ท้องไม่ควรที่จะออกแรง หรือ เคลื่อนไหว เยอะในการจัดบ้าน หรือ เคลื่อนย้ายของต่างๆ และ ในด้าน อารมณ์ แม่ท้องควรผูกมิตรกับคนข้างบ้าน เพื่อนบ้านใหม่ๆ เพื่อที่จะไม่เหงา และ อารมณ์จะได้ไม่สวิง
ที่มา : live science
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพยา ถ้ามารดาเสพสารเสพติดขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
คนท้องอดอาหาร กินข้าวไม่ตรงเวลา ระวังลูกสมองไม่ดี
ท้องใกล้คลอด เจ็บท้องคลอด อาการเป็นยังไง คุณหมอช่วยไขความกระจ่าง
วิจัยมาแล้วแม่สะโพกใหญ่จะทำให้ลูกเกิดมาฉลาดและสมองดี