แม่ติดโซเชียลหนักมาก... ระวังโพสต์รูปลูกๆ บ่อยจะเกิดอันตราย

-

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ติดโซเชียล ฯ ในปัจจุบันอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในประเทศไทย การที่พ่อแม่นิยมโพสต์รูปลูกๆ ลงโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ Youtube ถือเป็นช่องทางเผยแพร่ความน่ารักของลูกๆ ให้ญาติพี่น้องชม อยากเก็บไว้เป็นอัลบั้มภาพและวิดีโอ หรือสร้างคอมมูนิตี้เอาไว้พูดคุยกับพ่อแม่ด้วยกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า การที่คุณแม่ติดโซเชียลมีเดียมากเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายแก่คุณและครอบครัวได้

หากแม่ติดโซเชียล ต้องระวังเรื่องใดบ้าง

ในประเทศไทยอาจยังไม่มีกฎหมายการโพสรูปเด็กลงโซเชียลมีเดีย บรรดาแม่ติดโซเชียลจึงประมาทกับเรื่องเหล่านี้ แต่ในต่างประเทศมีการใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเด็ก และคุ้มครองความปลอดภัย เช่น ประเทศเยอรมนี ห้ามพ่อแม่หรือผู้ปกครองเช็กอินว่าเด็ก (อายุ 0-14 ปี) อยู่ที่ไหนบนสื่อออนไลน์ ส่วนทในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กในอินเทอร์เน็ต รวมถึงฝรั่งเศสห้ามโพสต์รูปส่วนตัวของผู้อื่นสู่สาธารณะ ซึ่งมีบทลงโทษตามกฎหมายแต่ละประเทศ

ระวังการโพสต์รูปลงเฟซบุ๊ก

10 ข้อควรระวังก่อนโพสต์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย

  1. ปิดโลเคชั่น

ก่อนโพสต์รูปลงเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ ลองเช็กสักหน่อยว่าคุณแม่ปิดการแสดงโลเคชั่นหรือยัง เพราะอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีคอยจับตาดู ซึ่งอาจติดตามเราอย่างไม่รู้ตัวทั้งที่บ้าน โรงเรียน หรือแม้แต่สถานที่ที่คุณแม่ชอบพาลูกไปเช็กอิน

  1. ปิดการตั้งค่าสาธารณะ

ในกรณีนี้คนที่จะเห็นรูปได้ จะมีเพียงเพื่อนบัญชีเท่านั้น ซึ่งคุณแม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้ใครเห็นสิ่งที่โพสต์ได้บ้าง ระวังอย่าเลือกโพสต์แบบสาธารณะเด็ดขาด

  1. ตั้งค่าเฉพาะญาติและเพื่อน

ถ้าอยากแชร์ความน่ารักของลูกเอาไว้ดูกับญาติพี่น้องและเพื่อนสนิท คุณแม่ควรตั้งค่าระบุกลุ่มเพื่อนที่จะให้เห็นโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับลูกได้ แต่ถ้าอยากเก็บความน่ารักของลูกเอาไว้ดูคนเดียว ก็อย่าลืมตั้งค่าเป็นเฉพาะฉัน (Only Me)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. อย่าโพสรูปลูกในชุดนักเรียน

คุณแม่ไม่ควรโพสรูปลูกใส่ชุดนักเรียน เพราะโรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการลักพาตัวเด็ก ดังนั้นการโพสต์รูปลูกในชุดนักเรียนทำให้ผู้ไม่หวังดี มีข้อมูลส่วนตัวของลูกมากขึ้น เพราะเพียงทราบว่าเรียนโรงเรียนอะไร ก็สามารถติดตามเด็กได้ง่าย

  1. อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูก

คุณแม่ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของลูกไม่ว่าจะในเฟซบุ๊กที่สร้างขึ้น หรือแคปชั่นของคุณแม่เอง รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกในอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเอกสารประจำตัวต่างๆ พาสปอร์ต บัตรประชาชน วัน เดือน ปีเกิด

  1. เขียนแคปชั่นที่เหมาะสม

การเขียนแคปชั่นประกอบภาพก็สำคัญ คุณแม่ควรเขียนถ้อยคำที่ให้เหมาะสมและเกียรติลูกอย่าลืมว่าข้อความที่โพสต์ในอินเทอร์เน็ตสามารถคงอยู่ไปได้อีกนานเท่านาน แม้ว่าจะแก้ไขหรือลบมันทิ้งไปแล้วก็ตาม

  1. อย่าโพสต์รูปไม่เหมาะสม

คุณแม่ต้องเช็ครูปลูกก่อนโพสต์ลงโซเชียลทุกครั้งว่า ลูกอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมหรือไม่ เพราะบางอิริยาบทหรือการแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย อาจย้อนกลับมาทำร้ายตัวคุณแม่และลูกได้ โดยเฉพาะเมื่อเขาโตขึ้น หากย้อนกลับมาดูรูปตัวเอง อาจเกิดความอับอายซึ่งไม่รู้ว่ารูปนั้นถูกบันทึกไว้ที่ใดบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. อย่าโพสต์รูปลูกกับรถยนต์ครอบครัว

ไม่ว่าจะเป็นรูปลูกหรือรูปคุณแม่ การถ่ายรูปรถยนต์ควรระวังเรื่องทะเบียนรถสักนิด เพราะเราไม่สามารถทราบว่า จะมีคนร้ายหรือมิจฉาชีพติดตามเราอยู่หรือไม่ และทะเบียนรถอาจไปสู่การเช็คข้อมูลจนติดตามคุณมาถึงครอบครัว

  1. อย่าโพสต์รูปหน้าบ้าน

หากคนร้ายสามาถเช็คได้ว่าคุณและลูกอาศัยอยู่ย่านไหน หมู่บ้านอะไร อาจนำไปสู่การโจรกรรมหรือลักพาตัวเด็กไม่ต่างจากการโพสรูปลูกใส่ชูดนักเรียนและหน้าโรงเรียน

  1. อย่าโพสต์รูปแบบเรียลไทม์

แม่ติดโซเชียล มักจะถ่ายรูปปุ๊บลงปั๊บ คุณแม่ต้องใจเย็นลงสักหน่อย เพ่อนความปลอดภัยในทุกๆ ข้อที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Youtube และ tiktok อย่าให้ข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ของลูกนั้นหลุดออกไปแล้วกลับมาทำร้านครอบครัวเราได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : แชร์ประสบการณ์หักดิบ งดเล่นโซเชียล 1 เดือนเต็ม!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ติดโซเชียล

ข้อมูลการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของพ่อแม่บนสื่อออนไลน์

จากข้อมูลเผยแพร่ของ The Wall Street Journal พบว่า โดยเฉลี่ยผู้ปกครองจะโพสต์รูปเด็กราว 1,000 รูป บนสื่อออนไลน์ตั้งแต่อายุแรกเกิดถึง 5 ขวบ ส่วนใหญ่พ่อแม่จะโพสต์รูปลูกตามใจตนเอง โดยที่ไม่ได้ถามหรือบอกลูกก่อน และมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยไม่ยอมตั้งค่าความเป็นส่วนตัว รวมทั้งส่วนใหญ่รูปจะมีสถานที่ที่ถ่ายรูปบอกไว้ชัดเจนมาก นั่นหมายความว่า พ่อแม่กำลังนำลูกไปสู่ความเสี่ยงอีกประเภทหนึ่ง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยจึงเกิดความละเลย

  • เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับลูกตัวเองมากเกินไป 74 %
  • เผยแพร่ข้อมูลมากจนกระทั่งสามารถสืบไปถึงที่อยู่ของลูกได้ 51 %
  • เผยแพร่ข้อมูลที่น่าอับอายเกี่ยวกับลูก 56 %
  • เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับลูก 27 %

นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบอีกว่าร้อยละ 68 ของพ่อแม่เป็นห่วงต่อเรื่องความเป็นส่วนตัวของลูกและร้อยละ 67 เป็นห่วงต่อเรื่องรูปของลูกถูกนำไปเผยแพร่ต่อ จากข้อมูลการสำรวจจะเห็นได้ว่าเปอร์เซ็นต์ของการให้ข้อมูลในทางลบซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่จะเกิดกับลูกมีค่อนข้างสูงและเป็นสิ่งที่น่าห่วงหาก พ่อแม่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับลูก

ข้อมูลดิจิทัลที่แสดงพฤติกรรมของมนุษย์

  • การคลิก
  • การกดไลค์
  • การโพสต์

แม่ติดโซเชียล ต้องตระหนักว่า การบันทึกข้อความหรือรูปใดๆ ก็ตามลงบนอินเทอร์เน็ต จะถูกบันทึกไว้เสมอ เท่ากับว่าแม่กำลังทิ้งร่องรอยทางดิจิทัล (Digital Footprint) เอาไว้และสามารถถูกนำไปใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเท่าที่ต้องการ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นรูปลูกหรือข้อมูลทั้งหลายเกี่ยวกับลูกที่ถูกเผยแพร่ไปอยู่ในโลกออนไลน์นั้นจะถูกแกะรอยได้โดยง่ายดายจากผู้ที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นนักการตลาด นักขาย นักวิเคราะห์ข้อมูลและมิจฉาชีพได้ ซึ่งจากข้อมูลของ i-SAFE Foundation พบว่าเด็ก 1 ใน 3 มีประสบการณ์จากการถูกคุกคามทางโลกออนไลน์ แต่มากกว่าครึ่งของเด็กไม่เคยเล่าเรื่องเหล่านี้กับพ่อแม่ ซึ่งเท่ากับว่าเด็กกำลังเผชิญความเสี่ยงด้วยตัวเองเพียงลำพัง

ระวังการโพสต์รูปครอบครัวลงในโซเชียล

 

การโพสต์รูปลูกลงบนบนโซเชียลมีเดียจึงอาจเกิดผลกระทบต่อครอบครัวดังต่อไปนี้

1.การละเมิดต่อความเป็นส่วนตัวของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ต้องตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวของลูกอยู่เสมอ จากการศึกษาพบว่าลูกจะเริ่มรู้สึกถึงความเป็นตัวของตัวเองเมื่ออายุราว 4 ขวบ ซึ่งเด็กในวัยนี้มีความสามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น เริ่มมีเหตุผลและสามารถเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

แม้ว่าพ่อแม่จะเป็นผู้ให้กำเนิดลูก แต่ในขณะเดียวกันก็มีหน้าที่ปกป้องความเป็นส่วนตัวและการเปิดเผยตัวตนของลูกในขณะที่ลูกยังอยู่ในวัยเยาว์ ดังนั้นการเปิดเผยตัวตนของลูกไม่ว่าจะเป็นรูปในอิริยาบถต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่แสดงตัวตน เช่น วัน เดือน ปี เกิด ตำแหน่งที่อยู่ สิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบของลูกต่างๆ บนโลกออนไลน์ จึงเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อการละเมิดความเป็นส่วนตัวและการยินยอมของลูก ซึ่งผิดกฎหมายในบางประเทศ

2. การนำข้อมูลและรูปไปใช้ในทางมิชอบ

ในแต่ละปีที่สหรัฐอเมริกามีเด็กจำนวนกว่า 500,000 คน ตกเป็นเหยื่อของการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว จากการศึกษาของ Cyber Lab ที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon จาก เด็กจำนวนกว่า 40,000 คน พบว่า เด็กมีโอกาสเป็นเหยื่อของการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 51 เท่า หมายความว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงเป็นอย่างยิ่งบนสื่อสังคมออนไลน์

นอกจากการขโมยข้อมูลส่วนตัวแล้วรูปของเด็กมีโอกาสที่จะไปอยู่บนเว็บมืด (Dark Web) เพื่อขายให้กับผู้มีรสนิยมทางเพศแปรปรวน ไม่ว่าเด็กนั้นจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ดังนั้นการส่งรูปหรือข้อมูลเด็กลงบนสื่อออนไลน์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จะละเลยไม่ได้เป็นอันขาด

3. การนำข้อมูลไปใช้เพื่อสืบหาตำแหน่งที่อยู่

นอกจากรูปและข้อมูลต่างๆ ของลูกแล้ว พ่อแม่จำนวนมากมักลงข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับตัวลูกลงบนอินเทอร์เน็ตโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงทำให้มิจฉาชีพเหล่านี้ สามารถสืบค้นที่อยู่ของลูกได้โดยง่ายดาย พ่อแม่ต้องจำไว้เสมอว่า สื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook นั้นรู้ว่าเราเป็นใคร แม้แต่ Google ก็รู้ว่าเรากำลังค้นหาอะไรอยู่ นอกจากนี้โทรศัพท์มือถือที่สามารถระบุตำแหน่งด้วย GPS นั้นยิ่งทำให้ใครสามารถแกะรอยตำแหน่งของลูกโดยง่าย

4. การนำข้อมูลไปใช้เพื่อเป็นเป้าหมายทางการตลาด

แม่ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า โซเชียลมีเดียที่ให้บริการแบบไม่เสียเงินนั้น เราต้องแลกกับความเป็นส่วนตัวและข้อมูลต่างๆ ทั้งของเราและลูกด้วย บางครั้งจะเห็นว่า เราได้รับโฆษณาแปลกๆ อยู่เสมอจากบริษัทที่เราไม่เคยติดต่อเลยด้วยซ้ำ พ่อแม่อาจได้รับการนำเสนอผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น เสื้อผ้า ของเล่น หรือ หนังสือการ์ตูน ซึ่งเป็นสินค้าที่ตรงใจ พ่อแม่ เพราะเราอาจเคยไปกดไลค์หรือแสดงความเห็นในโฆษณาสินค้านั้น เป็นต้น

5. การเรียกข้อมูลกลับคืนไม่สามารถทำได้

เมื่อพ่อแม่โพสต์รูปลูก เท่ากับว่าเราไม่สามารถควบคุมการใช้งานของรูปนั้นได้อีกต่อไป ซึ่งหมายความว่าใครก็ตามที่อยากจะใช้รูปนั้นอาจขโมยเพื่อนำไปใช้ หรือเผยแพร่ต่อ หรือบันทึกรูปนั้นเอาไว้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าแม่จะรีบลบรูปที่โพสต์ออกไปแล้ว แต่ก็อาจมีคนแคปรูปนั้นไว้เพียงเสี้ยววินาที

 

ทุกวันนี้สิ่งที่เราค้นหาหรือมองเห็นโดยใช้ Search Engine ทั่วไป เช่น Google หรือ Yahoo ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ของโลกออนไลน์เท่านั้น เพราะความจริงแล้วสิ่งที่เรายังมองไม่เห็นบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีอีกมากมายกว่าสิ่งที่เราเห็นอีกมากมาย ซึ่งเว็บไซต์ที่อยู่ลึกลงไปจนเราไม่สามารถเข้าถึงได้เหล่านี้เรียกกันว่า Deep Web เว็บไซต์เหล่านี้ไม่สามารถสืบค้นจากเครื่องมือสืบค้นทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวันได้  เว็บมืดทั้งหลายที่อยู่ใน Deep web จึงเป็นแหล่งซ่องสุมของบรรดาเว็บไซด์ ลามกอนาจาร และอาชญากรรม ซึ่งไม่แน่ว่าวันหนึ่งรูปที่น่ารักของลูกท่านอาจไปปรากฏเป็นของเล่นให้กับบรรดาสื่อลามกเหล่านี้ก็เป็นได้

 

บทความที่น่าสนใจ

ลูกน้อยพูดช้า…เพราะหน้าจอ วิจัยเผยหน้าจอเป็นต้นเหตุให้ลูกพูดช้า

ป้องกันเด็กหาย!!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

ที่มา : LINE TODAY , isranews

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan