แม่ท้องเป็นหอบหืดอันตรายถึงลูกในท้องหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืดคงเกิดความกังวลว่าจะมีปัญหากระทบถึงลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ และมีวิธีการดูแลตนเองอย่างไรหากเป็นโรคหอบหืดในช่วงตั้งครรภ์ มาหาคำตอบกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้จักโรคหอบหืดในแม่ท้อง

โรคหอบหืด เป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดขึ้นเป็นระยะ มักจะถูกกระตุ้นเนื่องจากการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นจากสารก่อภูมิแพ้ การระคายเคือง การติดเชื้อ สภาพอากาศที่หนาวเย็น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน   กว่าร้อยละ 50 โรคหอบหืดจะเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคมาก่อน หรือมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน เมื่อได้รับสารกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ คุณแม่บางคนนั้นอาจจะมีอาการรุนแรงได้ แต่ก็มีคุณแม่บางคนมีอาการหอบหืดโดยที่ไม่ทราบมาก่อนว่าตัวเองเป็น เช่น เดินเยอะ ๆ แล้วมีอาการหอบเหนื่อย และมีอาการมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งพอมาตรวจวินิจฉัยจริง ๆ จึงพบว่าเป็นโรคหอบหืด

อาการของโรค

1.หายใจลำบาก มีเสียงหวีด ( wheezing)

2.ไอ เกิดจากหลอดลมเกร็งตัว เยื่อบุทางเดินหายใจบวมและมีเสมหะขังอยู่ เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ

3.ขณะหายใจลำบากจะต้องใช้กล้ามเนื้ออื่นๆช่วย เช่น กล้ามเนื้อที่คอและไหล่

4.หายใจเร็ว ชีพจรเร็ว เหงื่อออกมาก ทำให้ผู้ป่วยมีความกลัวและอ่อนเพลียจนไม่สามารถพูดคุยรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้

วิธีการรักษาโรคหอบหืดในระหว่างตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายๆคนพยายามหลีกเลี่ยงการรักษาโรคหอบหืดในขณะตั้งครรภ์ เพราะรู้ว่าผลของยาจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อเด็กทารกในครรภ์ด้วย ซึ่งก็เป็นความจริงว่ายาหอบหืดไม่ดีต่อทารก แต่หอบหืดก็ไม่สามารถจะดูแลควบคุมได้ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการเลวร้ายลงไปด้วยซ้ำ มันจะลดปริมาณออกซิเจนกับแม่และเด็กทารก สามาถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเด็กทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์หรือคลอดก่อนกำหนดได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับการรักษาในระหว่างตั้งครรภ์ต้องเกี่ยวข้องกับปอด และสูตินารีแพทย์ อย่าหยุดยาด้วยตัวเองเมื่อคุณรู้ว่าตั้งครรภ์ แต่จะต้องแจ้งสูตินารีแพทย์ให้ทราบเกี่ยวกับยาของคุณ แล้วแพทย์จะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องปริมาณยาเอง หรือให้ยาใหม่ที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

ยาที่นิยมใช้รักษาหอบหืดจะเป็นสเตียรอยด์ เปิดระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการอาจจะเป็นยาพ่นในช่องปาก ปริมาณยาขึ้นอยู่กับความถี่ของอาการ คุณไม่ต้องกังวลเพราะแพทย์จะเลือกยาที่เหมาะสมมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดกับคุณแม่และเด็กทารก

โรคหอบหืดจะเกิดขึ้นเนื่องจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ แพทย์จะกำหนดยากในการควบคุมอาการแพ้ คัดจมูกเนื่องจากการติดเชื้อทางเดินหายใจมักใช้ยาพ่นในช่องปาก คนที่มีแนวโน้มเป็นไข้หวัดอาจจะมีปัญหาหอบหืดกำเริบได้ การใช้ยาในปริมาณที่ปกติที่แพทย์แนะนำ ยังช่วยป้องกันคุณจากโรคปอดได้ สูตินารีแพทย์จะแนะนำการใช้ยาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ และการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์

อ่านโรคหอบหืดผลกระทบต่อแม่ท้อง คลิก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคหอบหืดผลกระทบต่อแม่ท้อง

พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโรคหอบหืดผลกระทบต่อแม่แม่ท้อง ดังนี้  เมื่อผู้ป่วยหอบหืดตั้งครรภ์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคไปได้ 3 แบบ คือ 1ใน 3 ของผู้ป่วยอาการคงเดิม ,1ใน 3 อาการทุเลาลง, และอีก 1ใน 3 อาการกำเริบมากขึ้น ซึ่งส่วนมากมักมีอาการกำเริบในช่วงสัปดาห์ที่ 29 –36 ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยหอบหืดมักมีอาการมักดีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 36-40 และรวมถึงระหว่างการคลอดด้วยค่ะ มีคนไข้ไม่ถึง 10 % เท่านั้น ที่โรคหอบหืดกำเริบระหว่างคลอด  หลังคลอดแล้วประมาณ 3 เดือน 75%ของผู้ป่วยจะกลับมีอาการแบบเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์

แม่ตั้งครรภ์เป็นหอบหืดอันตรายถึงลูกในครรภ์หรือไม่

ในกรณีที่มีอาการมาก  จะส่งผลถึงทารกในครรภ์  พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ  ได้ชี้แจงถึงโรคหอบหืดที่ส่งผลต่อลูกในครรภ์ ดังนี้  ถ้าเราปล่อยให้โรคหอบหืดกำเริบ ไม่ได้ควบคุม ขณะที่โรคกำเริบออกซิเจนในเลือดแม่จะลดต่ำลง ซึ่งเลือดของแม่จะผ่านรกไปสู่ลูก ทำให้ลูกได้รับออกซิเจนน้อยลงตามไปด้วย ถ้ากำเริบบ่อยๆ นานเข้า เด็กก็อาจตัวเล็ก น้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด หรือตายคลอดได้ ซึ่งสูติแพทย์สามารถตรวจเช็คความผิดปกติของเด็กในครรภ์นี้ได้ ด้วยการทำ ultrasound, non-stress test, contraction stress test ทั้งนี้แล้วแต่ดุลยพินิจของสูติแพทย์ค่ะ  เราพบว่า ในคุณแม่ที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ไม่ดี เช่น วัดสมรรถภาพการทำงานของปอดได้ต่ำกว่า 90% จะมีโอกาสได้ลูกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ และ/หรือเป็นเด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มากกว่าคุณแม่ที่มีสมรรถภาพการทำงานของปอดสูงกว่า 90% ถึง 2.5 เท่าค่ะ  ส่วนคุณแม่ที่แพทย์สามารถควบคุมโรคไว้ได้ดี จะพบอัตราการตายของทารกต่ำ, เด็กจะมีน้ำหนักตัวปกติ แข็งแรงได้เหมือนเด็กทั่วไปค่ะ  ยาทางสูตินรีเวชบางตัวอาจมีผลต่อโรคหอบหืด เช่นยาที่ทำให้มดลูกหดตัวบางชนิด ที่อาจนำมาใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด อาจทำให้หลอดลมหดตัว เป็นผลให้หอบหืดกำเริบได้ต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านยาของโรคหอบหืดแต่ละชนิดมีผลต่อแม่และลูก คลิก

ยาของโรคหอบหืดแต่ละชนิดมีผลต่อแม่และลูก

พญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ  อธิบายถึงยาของโรคหอบหืดแต่ละชนิดมีผลต่อแม่และลูกดังนี้

1.Theophyllines ยาตัวนี้ผ่านรกไปยังเด็กในครรภ์ได้ ถ้าเด็กได้รับในปริมาณสูงอาจเกิดโทษ โดยทำให้เด็กมีอาการกระตุก อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว และอาจหยุดหายใจได้ ถ้าหากจะใช้ยาตัวนี้ระหว่างตั้งครรภ์ควรเจาะเลือดคุณแม่ เพื่อวัดระดับยาไม่ให้สูงเกินจนเกิดโทษดังกล่าวค่ะ ที่น่าเป็นห่วงในเมืองไทยคือ ยากลุ่มนี้ขายกันเกร่อตามร้านขายยา เพราะเป็นยากิน กินวันละ1 –2 ครั้ง สะดวกสบาย คนไข้หอบหืดมักชอบซื้อหามากินเอง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ค่ะ

2.Adrenaline (epinephrine) ที่เอามาใช้ฉีดตอนหอบกำเริบมากๆ นั่นก็ผ่านรกเหมือนกัน แต่ไม่พบว่ามีผลต่อเด็กค่ะ ยาสูดพ่นกลุ่มขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น มีมากมายหลายยี่ห้อ ต่างประเทศใช้กันแพร่หลายมานานแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะเรายังไม่พบความผิดปกติของทารกจากการใช้ยาค่ะ

3.ยากินกลุ่ม leukotriene antagonist ที่มีขายในเมืองไทย คือ montelukast ยังไม่มีรายงานการศึกษาในหญิงมีครรภ์ ถ้าไม่จำเป็นก็ยังไม่ควรใช้ค่ะ

4.ยาสเตียรอยด์ หากได้รับโดยการรับประทานจะสามารถผ่านรกได้เล็กน้อย โดยเด็กจะได้รับยาประมาณ10–13%ของยาที่แม่ได้รับ แต่จากการศึกษาในเด็กที่เกิดจากแม่ที่ได้รับprednisolone ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งระหว่างตั้งครรภ์ ไม่พบว่าเด็กมีความผิดปกติ

5.ส่วนยาสเตียรอยด์ขนิดสูดพ่น ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคหอบหืด ก็ยังไม่พบว่าทำให้เด็กมีความพิการแต่กำเนิดจากยา ยาหลายตัวจึงสามารถใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ค่ะ

วิธีป้องกันการกำเริบของหอบหืด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. เด็กและหญิงตั้งครรภ์ควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่น ปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด

2.เคร่งครัดในการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ควรเลิกสูบบุหรี่ทันที่ที่ทราบว่าตั้งครรภ์  การสูบบุหรี่สามารถนำไปสู่อาการหอบหืดได้

3.อย่าไปสัมผัสกับอากาศเย็น ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสควรมีผ้าคลุมจมูก ปิดปาก จมูก ผ้าพันคอกันให้ปลอดภัย

4. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่บ้านมีสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีสารก่อภูมิแพ้ สิ่งแวดล้อม สิ่งสกปรก ฝุ่นละอองต่างๆเชื้อรา ควรดูแลกำจัดให้หมด

5. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูดเช่น เบนโซเอท ซัลไฟท์

6. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine , brilliant blue

7.นวดที่บริเวณหน้าอกเบาๆด้วยน้ำมันหอมระเหยก็จะช่วยบรรเทาลดโอกาสของอาการหอบหืดได้

8.กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการจากโรคหอบหืดได้ นำกระเทียมมา ต้ม 8-10 กลีบ เป็นเวลา 10 นาที ดื่มทุกวันเป็นประจำ เพื่อสุขภาพที่ดีได้

9.จุดมุ่งหมายของการรักษาหอบหืดคือ เพื่อแม่และลูกน้อยมีสุขภาพที่ดี หากคุณเป็นแม่ตั้งครรมีโรคหอบหืด คุณสามารถจัดการกับโรคนี้ได้ด้วยการดูแลของแพทย์ที่เหมาะสม

อ้างอิงข้อมูลจาก

www.tinyzone.tv/
https://baby.kapook.com

https://www.hibstation.com/

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เพราะอะไร “การผ่าคลอด” จึงทำให้ทารกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด

สุนัขช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคหอบหืดในเด็ก