แพ้อาหารทะเล เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งค่ะ ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายได้รับสิ่งกระตุ้นซึ่งในที่นี้ก็คืออาหารทะเลนั่นเองและมีปฏิกิริยาตอบสนองมากกว่าปกติหรือไวเกินกว่าปกติ ผ่านกลไกภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกายเกิดเป็นอาการแพ้ขึ้น เราสามารถทาน ยาแก้แพ้อาหารทะเล ก่อนจะทานอาหารทะเลได้หรือไม่
และ แพ้อาหารทะเล คือ ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในสัตว์น้ำทะเลและสัตว์น้ำจืดบางชนิด ได้แก่ สัตว์น้ำมีเปลือกทั้งหลาย เช่น กุ้ง ปู หอยนางรม หอยแครง ล็อบสเตอร์ หรือปลาหมึกชนิดต่าง ๆ เช่น หมึกยักษ์ หมึกกล้วย ซึ่งอาการแพ้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต
อาการของการแพ้อาหารทะเลมีอะไรบ้าง? ลักษณะผื่นแพ้อาหารทะเล
การแพ้อาหารทะเลทำให้เกิดอาการในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ หรือผื่นแดงทั่วตัว ริมฝีปากบวม ระบบทางเดินหายใจ เช่น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ปวดมวนท้อง ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงระบบเดียวหรือหลายระบบ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ส่วนมากอาการของผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเลมักเกิดเร็ว ใน 1-2 ชั่วโมง
อาการแพ้อาหารทะเล เบื้องต้น และเฉียบพลัน เป็นอย่างไร ลักษณะผื่นแพ้อาหารทะเล
อาการแพ้อาหารทะเลมักจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลาตั้งแต่หลายนาทีหรือเป็นชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารชนิดนั้น ๆ เข้าไป และอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ จากการได้รับสารก่อภูมิแพ้แต่เด็ก จนค่อย ๆ ก่อให้เกิดอาการเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้บางคนอาจเพิ่งพบว่ามีอาการแพ้ในภายหลัง จากที่แต่ก่อนเคยรับประทานได้ปกติ อย่างไรก็ตามอาการแพ้ที่สังเกตได้ มีดังนี้
- เกิดลมพิษ รู้สึกคัน หรือมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- คัดจมูก หายใจเสียงดังวี้ด หรือหายใจลำบาก
- มีอาการบวมที่ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก ลิ้น หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น หู ฝ่ามือ นิ้วมือ
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- รู้สึกมึนงง วิงเวียน บ้านหมุน หรือคล้ายจะเป็นลม
- ปวดคล้ายเข็มทิ่มในปาก
นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้บางรายอาจมีอาการรุนแรงที่ส่งผลถึงชีวิต มักเกิดขึ้นไม่นานหลังจากการรับประทานอาหารที่แพ้ และถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วนด้วยการฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) และนำตัวส่งห้องฉุกเฉินทันที ทั้งนี้อาการแพ้รุนแรงจะแสดงให้เห็น ดังนี้
- คอบวมหรือมีก้อนในลำคอ ส่งผลให้ทางเดินหายใจแคบลงและหายใจลำบาก
- ชีพจรเต้นเร็ว
- วิงเวียนศีรษะอย่างมาก หรือหมดสติ
- มีอาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำลงมาก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ คนท้องแพ้อาหารทะเล ส่งผลต่อลูกในท้องอย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบ
การวินิจฉัยแพ้อาหารทะเลทำได้อย่างไร?
ถ้าหลังทานอาหารทะเลแล้วมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเวลาไม่นานหลังจากทานเข้าไป จะเป็นข้อสงสัยเบื้องต้นว่าแพ้อาหารทะเล ถ้ามีประวัติเช่นนี้คุณหมอจะทำการทดสอบภูมิแพ้ เช่น การทดสอบทางผิวหนัง (skin test) หรือการตรวจเลือดดูค่าการแพ้อาหารทะเล ได้แก่ กุ้ง ปู ปลา หอย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้แน่นอน
เพราะอะไรมีประวัติแค่แพ้กุ้ง แต่คุณหมอให้งดอาหารทะเลทั้งหมด?
ส่วนมากเมื่อทราบแน่นอนว่าแพ้อาหารทะเล ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ปู หอย คุณหมอจะแนะนำให้งดอาหารทะเลกลุ่มนี้ทั้งหมด ถ้าทราบว่าแพ้ปลาทะเลก็ควรงดปลาทะเลทั้งหมด เพราะมีการแพ้ร่วมกันในกลุ่มได้มาก ยกตัวอย่างเช่น คนที่แพ้กุ้ง มีโอกาสแพ้ปูร่วมด้วยถึง 75% จากสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นโปรตีนชนิดเดียวกัน คนที่แพ้ปลาแซลมอนจะมีโอกาสแพ้ปลาทะเลอื่นๆ เช่น ปลาลิ้นหมา ร่วมด้วยถึง 50% แม้จะมีการศึกษาว่าบางคนก็แพ้เฉพาะอาหารทะเลชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีทางทราบได้ก่อนเลยว่าอาการแพ้ที่ผู้ป่วยเป็นนั้นมีความจำเพาะเจาะจงต่ออาหารทะเลชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด นอกจากจะได้ทำการทดสอบภูมิแพ้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงแนะนำให้งดอาหารทะเลทั้งหมดดีกว่า
ผู้ที่แพ้อาหารทะเลควรปฏิบัติตัวอย่างไร?
- ผู้ป่วยที่แพ้อาหารทะเล ต้องหลีกเลี่ยงเท่านั้นค่ะ ไม่มียาที่ป้องกันอาการ
- ไม่ควรการทานยาแก้แพ้หรือยาขยายหลอดลมก่อนไปทานอาหารทะเล เพราะไม่ใช่วิธีการที่ช่วยป้องกันอาการได้ และอาจบดบังอาการแพ้รุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นะคะ
- หากเกิดอาการแพ้อาหารทะเลขึ้นคุณหมอจะทำการรักษาด้วยหลักการเดียวกับโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆคือ ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้แพ้เพื่อลดอาการคันและผื่นลมพิษ ยาพ่นขยายหลอดลมเพื่อลดอาการหอบ ฉีดยาและรักษาตัวในโรงพยาบาลถ้ามีอาการแพ้รุนแรง นอกจากนี้อาจได้รับยาฉีดรักษาอาการแพ้รุนแรงพกติดตัวไว้ด้วย
มีโอกาสหายจากแพ้อาหารทะเลหรือไม่?
โอกาสหายขาดจากการแพ้อาหารทะเลมีน้อยกว่า 10-20% บางครั้งที่ทานแล้วไม่มีอาการแพ้อาจจะเป็นเพราะผู้ป่วยมีอาการแพ้อาหารทะเลแค่บางชนิดอย่างจำเพาะเจาะจง เมื่อทานสิ่งที่ไม่แพ้จึงไม่เกิดอาการ โดยไม่ได้แปลว่าหายแพ้ เช่น มีประวัติแพ้กุ้งชัดเจน แต่ทานกุ้งบางพันธุ์แล้วไม่เกิดอาการ เป็นต้น
หมอขอย้ำอีกครั้งหากทราบว่าแพ้อาหารทะเลก็ควรจะหลีกเลี่ยงตลอดไปนะคะ ผู้ที่แพ้อาหารทะเลอาจพกยาแก้แพ้ติดตัวไว้ เผื่อไปทานอาหารที่มีอาหารทะเลปนเปื้อนโดยไม่รู้ตัวแล้วเกิดอาการขึ้น แต่หากเกิดอาการแพ้รุนแรงก็ควรฉีดรักษาอาการแพ้รุนแรงที่คุณหมอให้พกติดตัวไว้ทันที แล้วรีบไปโรงพยาบาลค่ะ
สาเหตุของการแพ้อาหารทะเล
อาการแพ้ที่เกิดจากอาหารทั้งหลายล้วนมีสาเหตุจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองมากเกินไป เนื่องจากอาหารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ดังกล่าวถูกตรวจจับว่าเป็นอันตราย จึงมีการกระตุ้นให้เกิดการผลิตสารภูมิต้านทาน (Antibodies) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารชนิดนั้นขึ้น และในครั้งต่อไปที่ร่างกายสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากอาหารชนิดนั้น ๆ อีก ระบบภูมิคุ้มกันที่จดจำไว้แล้วว่าสารดังกล่าวเป็นอันตรายจึงปล่อยสารฮีสทามีนและสารเคมีอื่น ๆ ออกมาเพื่อป้องกันและจู่โจม ซึ่งสารเหล่านี้เองที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ที่เกิดขึ้นตามมา
แต่ละคนย่อมมีความเสี่ยงต่อการแพ้อาหารทะเลมากน้อยแตกต่างกัน หากบุคคลในครอบครัวเคยมีอาการแพ้ยา อาหาร หรือสารใด ๆ ก็ตาม สมาชิกในครอบครัวนั้นมักมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้อาหารทะเลมากกว่าปกติ นอกจากนี้ อาการแพ้อาหารทะเลยังสามารถเกิดขึ้นในช่วงวัยใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแพ้ตั้งแต่เด็ก โดยจะพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนอาการแพ้อาหารทะเลของเด็กนั้นมักพบในเด็กผู้ชาย
ทั้งนี้ สัตว์น้ำมีเปลือกนั้นมีหลากหลายชนิด และแต่ละชนิดก็ประกอบด้วยโปรตีนชนิดแตกต่างกันในการทำให้เกิดอาการแพ้ แบ่งประเภทได้ดังนี้
- สัตว์น้ำจำพวกกุ้งกั้งปู ได้แก่ ปู ล็อบสเตอร์ กุ้งต่าง ๆ รวมถึงกุ้งน้ำจืด
- สัตว์น้ำลำตัวอ่อนนิ่ม ได้แก่ ปลาหมึก ปลาหมึกยักษ์ หอยทาก หอยกาบ หอยตลับ หอยแครง หอยนางรม
อย่างไรก็ตาม บางคนมีอาการแพ้อาหารทะเลเพียงบางชนิดแต่ยังสามารถรับประทานชนิดอื่น ๆ ได้ ในขณะที่บางคนอาจต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์น้ำมีเปลือกดังข้างต้นทุกชนิด
การวินิจฉัย อาการแพ้อาหารทะเล
แพทย์จะสอบถามอาการและตรวจร่างกายเบื้องต้นเพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ และอาจใช้การทดสอบต่อไปนี้
- การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เป็นการวินิจฉัยโดยใช้โปรตีนที่พบในสัตว์น้ำมีเปลือกปริมาณเล็กน้อยหยดเข้าไปภายใต้ผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อดูว่ามีอาการแพ้อย่างเม็ดผื่นหรืออาการคันเกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณนั้นหรือไม่
- การตรวจเลือดหรือที่เรียกว่าการตรวจเลือดหาแอนติบอดีต่อสารก่อภูมิแพ้ (Radioallergosorbent: RAST) เพื่อดูการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนในสัตว์น้ำมีเปลือก โดยวัดปริมาณสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี (Antibodies) ในกระแสเลือดชนิด IgE ที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม
ปฏิกิริยาบางอย่างหรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นหลังรับประทานหรือสัมผัสสัตว์น้ำมีเปลือกบางชนิดอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกของการแพ้อาหารทะเล แต่การทดสอบภูมิแพ้เป็นวิธีที่จะช่วยยืนยันถึงสาเหตุของอาการดังกล่าวและคัดแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันออกไป เช่น อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
ยาแก้แพ้อาหารทะเล มีอะไรบ้าง
- ยาแก้แพ้อาหารทะเล ชื่อยา ว่า ยาต้านฮีสทามีน (Antihistamines) เป็นยาที่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลมพิษ อาการคัน หรือผื่น หากอาการไม่รุนแรงสามารถซื้อยาทานเองได้
- ฉีดยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจจะต้องได้รับการฉีดยาทันที
- ใช้ยาพวกสเตอรอยด์ (Steroid) จะอยู่ในรูปแบบของยาทา เพื่อบรรเทาอาการทางผิวหนัง
ที่มา : pobpad
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ลูกป่วยบ่อย เกิดจากแพ้อาหาร ได้หรือไม่?
อาหารเด็ก 2 ขวบ อาหารอิตาเลี่ยน อาหารเด็ก รสชาติอร่อย เพิ่มพัฒนาการ!