ข้อดี vs ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส สิ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจแต่งงาน

การแต่งงานและจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามประเพณีนั้น เป็นการประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้ว่าคุณสองคนได้เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ในสังคมปัจจุบันคู่รักหลายคนอาจมองว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นจะส่งผลถึงข้อผูกพันทางกาย และทางกฏหมายหลายอย่าง

ข้อดี vs ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส สิ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจแต่งงาน การตัดสินใจในชีวิตคู่ร่วมกันและมีการแต่งงานขึ้นเพื่อประกาศให้ครอบครัวทั้งสองฝ่าย ญาติสนิทมิตรสหาย ได้รับรู้ ในเรื่องของการแต่งงานที่เกิดขึ้นนั้นทางกฏหมายไม่ได้บังคับเรื่องการจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจของคนทั้งคู่ แต่ก่อนที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะจดหรือไม่จดทะเบียนดี มาพิจารณาข้อดีและ ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส จดทะเบียนสมรสก่อนแต่งงาน และไม่จดทะเบียนสมรสจากก่อนจรดปลายปากกากันค่ะ

 

ก่อนจดทะเบียนสมรสเราต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

 

(รูปโดย freepic.diller จาก freepik.com)

 

การจดทะเบียนสมรสถือเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญของการใช้ชีวิตคู่ โดยเฉพาะคู่ไหนที่กำลังจะแต่งงานหรือแต่งงานแล้ว แน่นอนว่าเราก็อาจจะมีการจดทะเบียนสมรสกันไว้ เพื่อที่สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจของกันและกันได้ ส่วนใครที่ยังไม่รู้ว่าการจดทะเบียนสมรสนั้นต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้าง มาดูกันเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ชุดผู้ชายออกงาน รวมชุดไปงานแต่งงาน และสไตล์ชุดเพื่อนเจ้าบ่าว ทริคแต่งตัวผู้ชาย!

 

1. ต้องอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

จดทะเบียนสมรสก่อนแต่งงาน อย่างที่รู้กันดีว่าการที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้นั้น ทั้งชายและหญิงจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ก่อน เพราะเมื่อไหร่ที่เราอายุยังไม่ถึง 17 ปี ก็จะไม่สามารถจดเทียนสมรสได้เลย เว้นเสียแต่กรณีเกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นจริง ๆ หรือในกรณีที่เกิดเหตุอันควร ศาลก็จะอนุญาตให้เราสมรสกันก่อนที่เราจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้นั่นเอง

 

2. ต้องไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น

ข้อนี้เป็นอะไรที่สำคัญมากๆ แน่นอนว่าการที่เราจะจดทะเบียนสมรสกับใครสักคน บุคคลนั้นจะต้องไม่เป็นสามีหรือภรรยาของคนอื่น เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำพฤติกรรมแบบนี้ ก็อาจจะบ่งบอกว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ไม่ดีอยู่ เพราะฉะนั้นการที่เรารักใครสักคนเราจะต้องศึกษาดูใจและรู้ที่มาของเขาด้วยว่า เขาคนนี้เคยแต่งงานมาก่อนไหม หรือหย่าร้างกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือยัง เพื่อที่เราจะได้ไม่มานั่งเสียใจทีหลัง

 

3. ต้องให้ผู้ปกครองยินยอม

การที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้นั้น ถึงแม้เราจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่เมื่อไหร่ที่เรายังอายุไม่ถึง 20 ปี จะต้องให้คุณพ่อและคุณแม่มาแสดงความยินยอมด้วย เพื่อความถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมาย แต่ถ้าใครที่มีอายุครบ 20 ปี หรือเกิน 20 ปีขึ้นไป ก็สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง : 12 วิธีที่ผู้ปกครองสามารถช่วยให้เด็กฝึกความจำได้ดี วิธีทำให้ความทรงจำดีขึ้น

 

4. ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ

คนที่เราจะจดทะเบียนสมรสได้ เขาคนนั้นจะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือไร้ความสามารถ เช่น บุคคลที่มีอาการจิตไม่ปกติ หรือสมองพิการ เพราะบุคคลเหล่านี้ในทางกฎหมายจะไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้เลย ดังนั้นก่อนที่เราจะรักใครเราต้องศึกษาดูใจกันให้นาน ๆ เพื่อที่เหตุการณ์เหล่านี้จะได้ไม่เกิดขึ้นกับเรา

 

5. ต้องไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดาและมารดา

ข้อนี้อาจเกิดขึ้นได้น้อยมาก ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรามักจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะจดทะเบียนสมรสหรือแต่งงานกันได้นั้น เราจะต้องไม่เป็นพี่น้องกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าถ้าเป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกันเราจะไม่สามารถทำแบบนี้ได้ เว้นเสียแต่ใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้เป็นลูกแท้ หรือไม่ได้อยู่ในสายเลือดเดียวกันกับเราก็อาจจะจดทะเบียนสมรสและแต่งงานกันได้

 

6. คนที่รับเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมไม่สามารถสมรสกับบุตรบุญธรรมได้

อีกหนึ่งข้อที่เราควรรู้ นั่นคือคนที่รับลูกคนอื่นมาเป็นลูกบุญธรรมจะไม่สามารถแต่งงานกับเขาได้ สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายได้เลย เขาอาจจะไม่ใช่ลูกแท้ ๆ ของเราก็จริงแต่เมื่อไหร่ที่เรารับเขาเป็นลูกบุญธรรมแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะกระทำสิ่งเหล่านี้ได้จริง ๆ

 

7. จดทะเบียนสมรสกับคนเดิม

หญิงคนไหนที่เคยจดทะเบียนสมรสกันมาก่อน แล้วเกิดการหย่าร้างกัน แต่อยู่ ๆ ก็อยากจะกลับมาจดทะเบียนสมรสกับคนเดิมอีกครั้งในกรณีนี้ก็สามารถทำได้เลย แต่ใครที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน แล้วหย่าร้างเพื่อมาจดทะเบียนสมรสกับคนใหม่ เราก็อาจจะต้องรอระยะเวลาการหย่าร้างให้ครบอย่างน้อย 310 วันก่อน ถึงจะทำการจดทะเบียนสมรสใหม่ได้ เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นจริง ๆ ก็อาจจะต้องรอศาลอนุญาตต่อไป

 

พฤติกรรมแบบไหนที่ทำให้เรามั่นใจในตัวเขาได้

 

(รูปโดย prostook จาก freepik.com)

 

การที่เราจะตกลงปลงใจกับใครสักคน แน่นอนว่าใครคนนั้นจะต้องแสดงความรักและความจริงใจให้เราเห็น เพื่อที่เราจะได้มั่นใจ และยอมแต่งงานกับเขาได้ โดยสิ่งที่จะทำให้เรารู้ได้นั้นอาจจะเกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผัวเมียกันห้ามมีความลับต่อกันจริงหรือ เว้นระยะแค่ไหนในชีวิตคู่

1. ไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงอื่นเข้ามา

ในขณะที่เขาคบกับเรา หรือคุยกับเรา เขาจะต้องไม่เปิดใจให้กับคนอื่น ถึงแม้จะบางเวลาหรือบางโอกาสเขาอาจจะนอกใจหรือสามารถคุยกับคนอื่นได้ เพราะยังไงเราก็ไม่ได้มารู้กับเขา แต่เขาก็ไม่ทำและซื่อสัตย์กับเราแค่คนเดียว สิ่งนี้ถ้าเกิดขึ้นกับใครเรียกได้ว่าเป็นผู้หญิงที่โชคดีมาก ๆ เลยทีเดียว

 

2. ให้เกียรติเราตลอด

เมื่อไหร่ที่เขารู้สึกโกรธหรือโมโห เขาสามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ไม่ด่าหรือทำร้ายเรา ไม่เอาเรื่องของเราไปพูดในทางเสียหาย และที่สำคัญเขาจะไม่ฉวยโอกาสหากเราไม่เต็มใจและให้เกียรติเราในทุก ๆ เรื่องนั่นเอง

 

3. เป็นที่ปรึกษาและรับฟังที่ดี

ไม่ว่าเราจะมีปัญหาหรือมีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตก็ตาม เขาคนนั้นพร้อมที่จะอยู่เคียงข้าง ให้คำปรึกษาและพร้อมช่วยเราแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ทิ้งเราไปไหน อีกทั้งยังเป็นคนที่คอยรับฟังเราตลอดในช่วงเวลาที่เราไม่สบายใจหรือกำลังมองหาที่ระบาย

 

4. พูดเรื่องอนาคตที่มีเรา

การที่คบกับใครสักคนเป็นเวลานาน ๆ แน่นอนว่าเราก็อยากวางแผนอนาคตไว้ด้วย ซึ่งถ้าเขาคนนั้นมีการวางแผนอนาคตและอยากใช้ชีวิตกับเรา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และที่สำคัญเราควรดูการกระทำของเขาด้วย ไม่ควรเชื่อเพียงแค่คำพูดของเขา

 

5. แนะนำให้คนรอบตัวรู้จักเรา

การที่เขาพาเราไปทำความรู้จักกับครอบครัว และคนที่เขารู้จักเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เพราะนั่นกำลังบ่งบอกว่าเราคือตัวจริงของเขา และเขาอาจจะภูมิใจที่มีเราเป็นแฟนนั่นเอง

 

ข้อเสียการจดทะเบียนสมรส

- ภรรยาที่มีชื่อเป็นหุ้นส่วนในหลาย ๆ บริษัท การทำธุรกรรมต่าง ๆ จะยุ่งยากมากขึ้น

- ภรรยาต้องเปลี่ยนข้อมูลทางนิติกรรม ทั้งเปลี่ยน Passport เปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวต่างๆ

- ต้องแยกสินส่วนตัวกับสินสมรส โดยจะต้องตกลงกันเป็นสัญญาก่อนการสมรสไว้ในทะเบียนสมรส

- ดอกผลจากสินส่วนตัว ต้องกลายเป็นสินสมรส เช่น การได้รับเงินเดือนโบนัสก็ถือเป็นสินสมรสได้เหมือนกัน

- การทำนิติกรรมตาม **มาตรา 1476 **ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจึงจะทำได้

- ถ้าสามีหรือภรรยาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรสให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน

- ถ้าสามีภรรยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้ง 2 ฝ่าย

 

ข้อดีของการจดทะเบียน

- เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฏหมาย

- คู่สมรสมีสิทธิ์ได้รับมรดกเสมือนตนเป็นทายาทชั้นบุตร

- ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต

- บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายทั้ง 2 ฝ่าย

แล้วข้อดี vs ข้อเสียจากการไม่จดทะเบียนสมรสล่ะ >>>

 

ข้อเสียของการไม่จดทะเบียนสมรส

- เป็นสามีภรรยากันแต่ในนาม

- ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของคู่สมรส

- ไม่มีสิทธิ์รับเงินประกัน

- บุตรที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฏหมายแต่ฝ่ายหญิงเท่านั้น เว้นแต่ฝ่ายชายจะจดทะเบียนรับรอง

- ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าอุปการะบุตรจากฝ่ายชาย

 

ข้อดีของการไม่จดทะเบียนสมรส 

- ไม่มีสินสมรส เงินใครเงินมัน

หมายเหตุ ***ความหมายของมาตรา1476 สามีภริยาที่จดทะเบียนร่วมกันต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนี้

  • ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า จำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ ยกเว้นการจำนำที่ทำฝ่ายเดียวได้
  • ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
  • ให้กู้ยืมเงิน
  • ให้โดยเสน่หาเว้นแต่การให้พอสมควรแก่ฐานะ
  • นำทรัพย์สินไปเป็นประกัน
  • ประนีประนอมยอมความ

การจัดการทรัพย์สินสมรสนอกจากที่ระบุ สามีภริยาจัดการได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

 

บทความที่น่าสนใจ : วิธีประคองชีวิตคู่ คนรักกันอย่างเดียวไม่พอ อยากให้ชีวิตรักเวิร์คต้องทำยังไง?

20 วิธีจัด งานแต่งงานแบบประหยัด ลดค่าใช้จ่ายในงานแต่งงาน ใครกำลังจะแต่งต้องจดให้ดี

 

ที่มา : 1, mom and baby, LINE TODAY

 

 

บทความโดย

Napatsakorn .R