Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
มะปราง กินแล้วดีอย่างไร ประโยชน์ของมะปรางมีอะไรบ้าง วันนี้ theAsianparent ขอนำประโยชน์และสรรพคุณของมะปรางมาฝาก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
มะปราง ชื่อเรียกมะปรางมีอะไรบ้าง ?
มะปราง (Marian Plum) มะปรางมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bouea macrophylla Griffith ภาคอีสานมักเรียกมะปรางว่า บักปาง และภาคเหนืองจะเรียกว่า มะผาง , บะผาง
มะปรางมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ?
- Bouae microphylla : เป็นมะปรางสายพันธุ์ที่มีใบเล็ก รสเปรี้ยว เป็นมะปรางของทางภาคใต้ ภาคใต้นิยมกินแบบดิบ ๆ ตำกับน้ำพริก ใส่ในแกงส้ม หรือเอามาจิ้มกับมันกุ้ง
- Bouae macrophylla : เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ขนาดใบเกือบเท่าใบของต้นมะม่วง สายพันธุ์นี้จะมีอยู่ที่ต่างประเทศ และปลูกที่แหลมมลายู
- Bouae burmanica : เป็นมะปรางบ้าน หรือมะปรางสวนที่คนนิยมปลูกทั่วไป
พันธุ์มะปรางหวาน
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ส่วนใหญ่แล้วชื่อของมะปรางจะเรียกตามแหล่งที่ปลูก ตามชื่อของเจ้าของสวน และลักษณะของผลมะปราง
- พันธุ์ท่าอิฐ : เนื้อหนา เมล็ดน้อย รสหวาน ต้นอยู่ที่ท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
- พันธุ์ลุงชิด : เนื้อหวาน มีเนื้อหนา เมล็ดเล็ก ต้นอยู่ที่สวนนายชิด ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
- พันธุ์ทองใหญ่ : เป็นมะปรางหวานที่มีผลใหญ่ มีเนื้อที่หนา ต้นเดิมอยู่ที่สวนผู้พันทองคำ ตำบลไม้เก็ด อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
- พันธุ์สุวรรณบาท : มะปรางเป็นสายพันธุ์ที่มีเนื้อหนา มีรสชาติที่หวานผลใหญ่ ต้นเดิมอยู่ที่สวนนางระเบียบ หาญสวธา ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
- พันธุ์ลุงพล : ลักษณะผลใหญ่ ผิวของพันธุ์นี้จะมีริ้วรอยสีขาวเป็นทางยาง ต้นอยู่ที่สวนลุงพล ตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
- พันธุ์ลุงประทีบ : เป็นมะปรางสายพันธุ์หวาน ต้นเดิมอยู่ที่สวนลุงประทีบ เลิศไกร ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
- พันธุ์ไข่ห่าน : ผลของพันธุ์นี้จะมีลักษณะเป็นรูปไข่ห่าน
- พันธุ์อีงอน : เป็นพันธุ์ที่ผลยาวกว่าพันธุ์ไข่ห่าน
บทความที่เกี่ยวข้อง : มะลอกอ มีประโยชน์อย่างไร สรรพคุณของมะละกอมีอะไรบ้าง
มะปรางพันธุ์ไหนอร่อย ?
ถ้าพูดถึงความอร่อย หรือรสชาติของมะปรางก็อาจขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน เรามาดูกันเลย ว่ารสชาติของมะปรางนั้น มีรสชาติแบบไหนกันบ้าง
- มะปรางหวาน : ลูกมะปรางมีขนาดเล็กถึงใหญ่ คนส่วนใหญ่เรียกว่ามะปรางหรือมะปรางหวาน
- มะปรางเปรี้ยว : มีรสชาติที่เปรี้ยวจัด ถึงแม้จะผลจะสุกแล้วแต่ก็ยังมีรสเปรี้ยว ขนาดของผลมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ชาวสวนชอบเรียกมะปรางเปรี้ยวว่า กาวาง นิยมนำมะปรางเปรี้ยวไปแช่อิ่มหรือดอง
- มะยง : มะยงจะมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย จะเรียกว่า มะยงชิด ส่วนรสหวานอมเปรี้ยวมากกว่าจะเรียกว่า มะยงห่าง
มะปรางกับมะยงชิดต่างกันยังไง ?
- มะปรางดิบจะมีสีเขียวออกซีดผลจะมีสีใส ส่วนมะยงดิบจะมีสีเขียวจัดกว่ามะปราง
- มะปรางเมื่อสุกจะมีสีเหลืองอ่อน ส่วนมะยงจะมีสีเหลืองแกมส้ม
- มะปรางดิบจะมีรสชาติที่มัน ส่วนมะยงชิดดิบจะมีรสเปรี้ยว
- มะปรางเมื่อสุกจะมีรสหวานมาก ส่วนมะยงชิดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน
- ขนาดของมะปรางจะเล็กกว่าขนาดของมะยง
- บางสายพันธุ์ของมะปรางกินแล้วจะคันคอ ส่วนมงยงชิดเมื่อกินแล้วจะไม่มีอาการคันคอ
ประโยชน์และสรรพคุณของมะยงชิดมีอะไรบ้าง ?
- มะปรางเหมาะกับคนธาตุดิน ที่เสี่ยงกับโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ มะปรางจะช่วยอาการเหล่านี้ได้
- ใครที่แปรงฟันแล้วมีเลือดออก เมื่อกินมะปรางจะทำให้ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน
- มะปรางมีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง
- กินมะปรางช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดัน
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- กินมะปรางช่วยฟอกโลหิต
- รากของต้นมะปราง มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ถอนพิษได้
- น้ำจากต้นมะปราง ใช้เป็นยาอมกลั้วคอให้หายคันคอ หรืออาการไอได้
- ผลของมะปรางจะช่วยสร้างภูมิต้านทาน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
- ใบของมะปรางนำมาตำละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
- ใครน้ำลายเหนียว เมื่อกินมะปราง จะช่วยแก้น้ำลายเหนียวได้
- มีวิตามินสูงช่วยบำรุงสายตาได้
- แก้เสลดหางวัว
- มะปรางสุกใช้เป็นผลไม้ทานเล่น หรือทำน้ำผลไม้ได้
- นำมะปรางไปกวน หรือแปรรูปเป็นอาหารอื่น ๆ ส่วนผลดิบ ๆ นำมาจิ้มน้ำหวาน หรือกะปิ
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น
บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ประโยชน์ของมะนาว และสรรพคุณของมะนาวที่คุณอาจจะยังไม่รู้
ข้อควรระวังเมื่อกินมะปราง
- ใครที่มีอาการแพ้ยางของมะม่วงควรระวังการสัมผัสยางของมะปราง เนื่องจากมะปรางเป็นพืชพันธุ์เดียวกับมะม่วง
- หากกินมะปรางมากเกินไปจะทำให้ท้องเสีย ท้องเดิน ควรกินในปริมาณที่เหมาะสม
- การใช้มะปรางเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ควรระมัดระวัง ไม่ควรใช้เป็นประจำหรือใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
ที่มา : baanjomyut,disthai