วันมาฆบูชา 2568 ประวัติวันมาฆบูชา ความสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรรู้

lead image

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วันมาฆบูชา 2568 ปีนี้ ตรงกับวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 ค่ะ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนานี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเรื่องน่ารู้น่าสนใจ รวมถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นกับพุทธศาสนิกชนในวันนี้มีอะไรบ้าง theAsianparent ขอพาไปค้นให้รู้กันค่ะ

 

ทำไมถึงเรียกว่า วันมาฆบูชา ?

วันมาฆบูชา

 

วันมาฆบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือน 3 โดยคำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 แต่ถ้าในปีไหนมีเดือน 8 สองครั้ง วันมาฆบูชาจะเลื่อน ไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในวันพุทธศาสนา ในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาสปาติโมกข์ แก่พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป

บทความที่เกี่ยวข้อง : 100 แคปชั่นวันมาฆบูชา คำคมวันมาฆบูชา วันมาฆบูชาทั้งทีต้องมีคำคมเด็ด ๆ ลง

 

ประวัติวันมาฆบูชา วันนี้มีความสำคัญอย่างไร ?

หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วันวิสาขบูชา) และได้ทรงประกาศพระศาสนาและส่งพระอรหันตสาวกออกไปจาริก เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสถานที่ต่างๆ ได้ 9 เดือน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระอรหันต์ทั้งหลายได้ระลึกไว้ว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเหล่าผู้ศรัทธาพราหมณลัทธินิยมนับถือว่าวันนี้เป็นวันศิวาราตรี โดยจะทำการบูชาพระศิวะด้วยการลอยบาปหรือล้างบาปด้วยน้ำ พระสงฆ์ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนจึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปมารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โดยความสำคัญของวันมาฆบูชา คือ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการและวิธีการปฏิบัติต่างๆ โดยสามารถสรุปเป็นใจความสำคัญได้ว่า “ให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

ซึ่งในวันมาฆบูชานี้เองได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นพร้อม ๆ กันถึง 4 ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต อันได้แก่

  1. วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งพระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
  2. มีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกัน โดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  3. พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
  4. พระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็น เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง

ทั้งนี้ จาตุรงคสันนิบาต คือ

  • จาตุร แปลว่า 4
  • องค์ แปลว่า ส่วน
  • สันนิบาต แปลว่า ประชุม

จาตุรงคสันนิบาต จึงมีความหมายว่า การประชุมด้วยองค์ 4 นั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

โอวาทปาฏิโมกข์ คืออะไร ?

โอวาทปาฏิโมกข์ คือหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา หรือหัวใจสำคัญของศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน 3 ที่เรียกกันว่า วันมาฆบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้

สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มีความหมายว่า : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง 1 การบำเพ็ญแต่ความดี 1 การทำจิตของตนให้ผ่องใส 1 นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะการไม่กล่าวร้าย 1 การไม่ทำร้าย 1 ความสำรวมในปาฏิโมกข์ 1 ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร 1 ที่นั่งนอนอันสงัด 1 ความเพียรในอธิจิต 1 นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

 

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติคือ “โอวาทปาติโมกข์” ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้น ได้แก่

  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ การลด ละ เลิก ทำบาปทั้งปวง อันได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นทางแห่งความชั่ว 10 ประการที่เป็นความชั่วทางกาย (การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม) ทางวาจา (การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ) และทางใจ (การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม)
  2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ การทำความดีทุกอย่างตาม กุศลกรรมบถ 10 ทั้งความดีทางกาย (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ประพฤติผิดในกาม) ความดีทางวาจา (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย ไม่พูดเพ้อเจ้อ) และความดีทางใจ (ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น มีความเมตตาปรารถนาดี มีความเข้าใจถูกต้องตามทำนองคลองธรรม)
  3. การทำจิตใจให้ผ่องใส คือ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หลุดจากนิวรณ์ที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้เข้าถึงความสงบ ได้แก่ ความพอใจในกาม, ความพยาบาท, ความหดหู่ท้อแท้, ความฟุ้งซ่าน และความลังเลสงสัย

 

กิจกรรมในวันมาฆบูชา

โดยปกติแล้วในวันนี้ตามวันต่าง ๆ จะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล งดเว้นการทำบาป ถวายสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลา ฟังเทศน์ และเวียนเทียนรอบโบสถ์ในช่วงเย็น โดยก่อนการเวียนเทียนควรกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันมาฆบูชา ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนช่วง 20.00 น. โดยบทสวดที่พระวงฆ์นิยมสวดในวันมาฆบูชาก่อนทำการเวียนเทียน มีดังนี้

  • บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
  • บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ 3 จบ)
  • บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อิติปิโส ฯลฯ)
  • บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
  • บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สวากขาโต ฯลฯ)
  • บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
  • บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:สุปฏิปันโน ฯลฯ)
  • บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย:สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
  • บทสวดบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อัชชายัง ฯลฯ)

จากนั้นจุดธูปเทียนและดอกไม้ที่ แล้วเดินเวียนเทียน 3 รอบ โดนขณะที่เดินนั้นจะต้องมีจิตใจที่สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยการสวดบทอิติปิโส

  • เดินรอบที่ 1 ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวดสวากขาโต
  • เดินรอบที่ 2 ระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวดสุปะฏิปันโน
  • เดินรอบที่ 3 จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอบ จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานจึงเป็นอันเสร็จพิธี

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจจะสนใจ :

บทสวดมนต์ขออโหสิกรรม ขอขมากรรม เพื่อความเป็นสุข ชีวิตดีขึ้น

รวมบทสวดมนต์ เพื่อจิตใจแจ่มใส เสริมความเป็นสิริมงคล สวดแล้วชีวิตดีขึ้น

สอนลูกสวดมนต์ก่อนนอน ต้องสวดบทไหนลูกถึงจะเจริญ

ที่มา : sanook 2 , สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong