ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าว่า “พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์” คืออะไร
พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ก็คือ พ่อแม่ที่ไม่ค่อยปล่อยให้ลูกทำอะไรเอง โดยจะไม่ปล่อยให้ลูกตัวเองต้องเจออุปสรรคใด ๆ เลย จะคอยปัดกวาดทุกอย่าง ชนิดมดไม่ให้ไต่ ยุงไม่ให้ตอมเลยก็ว่าได้
อะไรคือ สัญญาณบ่งบอกว่าคุณคือ “พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์”
– ไม่ปล่อยให้ลูกได้รับความเจ็บปวดใด ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว
– เชื่อว่า ชีวิตของลูกจะมีความสุขมาก ๆ ถ้ามีชีวิตที่ปราศจากอุปสรรคใด ๆ
– รับไม่ได้เลยเวลาที่ลูกเอาเรื่องไม่ดี หรือเรื่องที่ลูกทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาบอก
– เข้าไปแทรกแซงทุก ๆ อย่าง ในสังคมของลูก ยกตัวอย่างเช่น สังคมในที่โรงเรียน คุณพยายามที่จะรับรู้ถึงความเป็นไปของลูกตลอดเวลาว่า ตอนนี้ลูกคุณกำลังเรียนหรือทำกิจกรรมอะไรอยู่ เป็นต้น
– คอยเรียกหาลูกตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจะทำอะไร
คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่า ก็ฉันรักลูก ฉันก็ต้องดูแลเขาสิ … จริงอยู่ที่การดูแลลูกคือหน้าที่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่ในบางครั้งการแสดงออกที่มากเกินไป ก็อาจจะส่งผลที่ไม่ดีให้กับลูก ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น การรักษาสมดุล จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
อ่านวิธีการปรับสมดุล ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
วิธีปรับสมดุลถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์
– เวลาที่ลูกรู้สึกผิดหวังเสียใจ ทำอะไรผิดพลาด หรือเจ็บตัวก็ปล่อยให้เขาได้รับรู้และเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นสักพักนึงก่อน แล้วคุณค่อยเข้าไปอธิบายและให้กำลังใจพวกเขา
– ปล่อยให้ลูก ได้มีอิสระในความคิดของเขาเองบ้าง ไม่ใช่ว่าเราขีดเส้นทางอย่างไรไว้ เขาจะต้องเดินตามเส้นทางนั้น
– สอนให้ลูกรู้จักพึ่งพาตัวเอง อยากได้อะไร ต้องรู้จักช่วยตัวเองก่อน หากเกินความสามารถแล้ว พ่อแม่ค่อยยื่นมือเข้าไปช่วย
ผลกระทบที่ได้จะได้รับจากการที่มีพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์
เด็กจะไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลย และรู้สึกขาดอิสระ เนื่องจากพ่อแม่สไตล์นี้มักจะทำตัวราวกับตัวเองเป็นเฮลิคอปเตอร์ ที่คอยบินตรวจการณ์อยู่รอบ ๆ ตัวลูก คอยดูแลตลอดเวลาไม่ว่าลูกจะทำอะไร หากติดปัญหา ก็จะรีบบินดิ่งลงมาเพื่อให้การช่วยเหลือทันที ไม่ปล่อยให้ลูกได้พัฒนาทักษาการแก้ปัญหาอย่างที่เด็กควรจะเป็น
ดังนั้นเด็กที่มีพ่อแม่สไตล์นี้ จะมีความเครียดสูงกว่าเด็กที่มีพ่อแม่สไตล์อื่น ๆ รวมทั้งเด็ก มักจะไม่ค่อยพอใจกับชีวิตของตนเอง และขาดทักษาในการเข้าร่วมกลุ่มกับคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งในการนำพาไปสู่โรคซึมเศร้าในอนาคตได้
ที่มา: sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
5 เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่ เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด
4 เคล็ดลับการเลี้ยงลูกที่จะทำให้ลูกรู้สึกดีและมีความสุข