โรคตับอักเสบ และโรคตับแข็งในเด็ก เกิดได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไร

โรคตับอักเสบ ส่วนใหญ่ถ้าเราได้ยินคำว่า โรคตับ มักจะเข้าใจว่า โรคนี้เกิดกับผู้ใหญ่หรือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมไม่ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคตับอักเสบ ส่วนใหญ่ถ้าเราได้ยินคำว่า โรคตับ มักจะเข้าใจว่า โรคนี้เกิดกับผู้ใหญ่หรือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมไม่ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเอง เช่น ดื่มเหล้าหนัก จนเป็นตับแข็ง ลามไปเป็นมะเร็งตับ หรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี แล้วเกิดตับอักเสบเรื้อรัง แต่ความจริงแล้ว โรคตับสามารถเกิดกับเด็กเล็กๆ ได้แม้แต่เด็กทารก

 

โรคตับอักเสบ เกิดขึ้นกับทารกได้ ดังนั้นมารู้จัก “ตับ” ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

"ตับ" คืออวัยวะอยู่ในช่องท้องด้านขวาบน ตับมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น เป็นอวัยวะคล้ายเป็นตัวกลางรับเลือดจากลำไส้ ส่งผ่านสารอาหารที่มาจากลำไส้ไปสู่ร่างกายอื่น อธิบายง่ายๆ มีหน้าที่คือ

  1. ตับคือตัวกลางส่งผ่านสารอาหารจากลำไส้ไปสู่อวัยวะอื่นๆ
  2. ตับมีหน้าที่ทำลายสารพิษที่ปนในเลือดผ่านลำไส้
  3. ตับมีหน้าที่ผลิตน้ำดีและไปตามท่อน้ำดีแล้วเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
  4. ตับมีหน้าที่ย่อยและดูดซึมไขมันที่ส่งจากน้ำดีสู่ลำไส้เล็ก ช่วยให้เลือดแข็งตัว

 

โรคตับอักเสบ ในเด็ก เกิดจากอะไร แสดงอาการอย่างไร

อย่างที่กล่าวไปว่า โรคตับอักเสบ ไม่ได้เกิดเฉพาะแค่ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัน ที่น่าตกใจคือ สามารถเกิดในวัยเด็กเล็กมาก ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีสังเกตอาการโรคตับอักเสบในเด็ก

  1. เด็กที่ป่วยเป็นโรคตับจะมีอาการดีซ่าน ตา หรือผิวหนังเป็นสีเหลือง
  2. โรคตับเรื้อรัง เด็กจะมีอาการท้องโต เกิดจากภาวะมีน้ำในช่องท้อง ตับและม้ามมีขนาดใหญ่ขึ้น
  3. อวัยวะบวมขึ้น เช่น ขาบวม แขนบวม หน้าบวม เป็นเพราะว่าตับไม่สามารถสร้างโปรตีนได้
  4. รูปร่างผอมลง แขนลีบ ขาลีบ เนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อยลง รวมถึงร่างกายเผาผลาญสารอาหารมากผิดปกติ
  5. อาการรุนแรงถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด และถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ เพราะเส้นเลือดในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารที่โป่งพองขึ้นแล้วแตกทำให้มีเลือดออกไม่หยุด สาเหตุเพราะตับไม่สามารถผลิตสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว

 

โรคตับในเด็กที่เกิดอย่างเฉียบพลัน

โรคตับเรื้อรังแบบเฉียบพลันในเด็กสามารถหายเองได้ นั่นเป็นเพราะว่า ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แพทย์จะรักษาตามอาการที่เป็นอยู่ ไม่ใช้ยาแรงหรือผ่าตัดใดๆ ถ้าต้องหยุดยารับประทาน เช่น การรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด แพทย์จะคอยเฝ้าระวังอาการและให้ยาล้างสารพิษที่ตกค้างในร่างกาย

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง

1. เกิดจากความผิดปกติของท่อน้ำดี

โรคตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากท่อน้ำดีตีบตัน ท่อน้ำดีโป่งพอง โรคท่อน้ำดีในตับมีจำนวนลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เด็กมีอาการดีซ่านพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 2-3 สัปดาห์

 

2. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จากแม่สู่ลูก

โรคตับอักเสบที่เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ซึ่งเด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มักเกิดจากติดเชื้อจากมารดาระหว่างคลอด แต่ทารกแรกเกิดกลับจะไม่แสดงอาการผิดปกติจนกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ ผ่านไปจนเติบโต จนเด็กบางคนอาจเกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งเป็นมะเร็งตับได้เหมือนผู้ใหญ่ ส่วนเด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เกิดจากได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้อไวรัสอยู่ได้น้อยมาก ดังนั้นจึงมีการตรวจเลือดของผู้บริจาคเลือดทุกครั้งว่ามีเชื้อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆหรือไม่ ก่อนจะนำไปรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. เกิดจากสารทองแดงสะสมในตับมากกว่าปกติ

เคยได้ยินคำว่า โรคไขมันพอกตับหรือไม่ ปกติถ้าเราลดน้ำหนัก ลดไขมัน ทางผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำการออกกำลังกายและควบคุมอาหารประเภทไขมันเพื่อลดไขมันที่เกาะตับอยู่ ซึ่งโรคตับอักเสบจะเกิดจากโรคไขมันในตับ ซึ่งพบในเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งเด็กที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด อาจจะมีการรักษาจริงจังถึงขั้นผ่าตัด แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณารักษาตามอาการก่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องเป็นไวรัสตับอักเสบบี ถ่ายทอดจากแม่ท้องสู่ทารก ท้อง เป็นไวรัสตับอักเสบบี ลูกเสี่ยงมะเร็งตับ

 

ข้อควรระวังและสังเกตลูกๆ ที่เสี่ยงต่อโรคตับอักเสบ

อย่างที่กล่าวไปว่า คนส่วนใหญ่มักคาดไม่ถึงว่า เด็กทารกจะเป็นโรคตับอักเสบได้ ปัจจุบันแพทย์พยายามสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจว่า โรคตับอักเสบที่เด็กเป็นนั้น นอกจากเกิดติดเชื้อจากมารดาระหว่างคลอดแล้ว ยังเกิดจากความผิดปกติของท่อน้ำดีที่ตีบตันแล้วไปพบแพทย์ไม่ทันการณ์ เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่คิดว่าเกิดจากเด็กรับประทานนมแม่ แล้วพยายามให้ลูกดื่มน้ำมากๆ แทน ซึ่งจริงๆ แล้วโรคท่อน้ำดีตีบตันต้องรักษาด้วยการผ่าตัดภายในอายุ 2 เดือน เพื่อไม่ให้ตับเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นตับแข็ง จนอาจส่งผลให้เด็กเสียชีวิตภายในอายุ 2 ปี  ทั้งนี้ถ้าประชาชนทั่วไปรู้จักโรคตับอักเสบในเด็กดีขึ้น และพาลูกมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้เด็กหายจากโรคตับและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

มาดูภาวะโรคตับแข็งในเด็กกันบ้าง

อย่างที่ทราบว่า ตับ มีหน้าที่ขับของเสียในเลือด ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็น สร้างน้ำดี นำสารอาหารจากลำไส้เล็กไปสู่อวัยวะต่างๆ หากเซลล์ในตับถูกทำลาย ของเสียจะไม่ได้รับการกำจัด ทำให้เกิดการสะสมของเสียจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งภาวะตับแข็งไม่ใช่แค่การดื่มแอลกอฮอล์อย่างที่เราเคยได้ยินมา แต่เกิดจากหลายสาเหตุ

 

1. เกิดจากไวรัสตับอักเสบ

เด็กทารกอาจได้รับเชื้อไวรัสผ่านทางมารดาตอนคลอด แล้วมารดาก็เป็นพาหะนำโรค ผ่านทางอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ตับแข็งเกิดจากโรคทางพันธุกรรม

เกิดจากโรควิลสัน (Wilson’s Disease), โรคไกลโคเจนสะสม (Glycogen Storage Disease) หรือร่างกายมีเหล็กในร่างกายมากกว่าปกติ (Hemochromatosis) ธาตุทองแดงมากเกินไป อีกทั้งมีความบกพร่องของการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตจนทำให้ภาวะตับแข็ง

 

3. ตับแข็งเกิดจากท่อน้ำดีทำงานผิดปกติ

ทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพร่างกายไม่สมบูรณ์มีท่อน้ำดีตีบตัน แล้วน้ำดีไม่สามารถพาของเสียออกจากร่างกายได้ ของเสียไปอุดตันตามท่อต่างๆ ของร่างกาย ส่วนน้ำดีก็ย้อนกลับเข้าสู่กระแสเลือด และสะสมค้างอยู่ในตับ เมื่อของเสียไม่ได้รับการขับออก ตับก็จะเริ่มแข็งตัว ร้ายแรงสุดคือ ตับล้มเหลวเฉียบพลัน

 

4. การได้รับยาบางชนิดเกินขนาด

เรามักจะได้รับการตักเตือนว่าไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดมากเกินไป จะเป็นอันตรายต่อตับ อย่างยาลดไข้ประเภทพาราเซตามอล ยิ่งคุณแม่กินยาตอนตั้งครรภ์เป็นประจำ ตัวยาก็จะส่งผ่านสายสะดือ ทำให้ไปสะสมในตัวเด็ก ส่งผลให้มีอาการตับแข็งตอนโตได้

 

โรคตับแข็งจะแสดงอาการอย่างไร แล้วคุณแม่สังเกตลูกน้อยได้อย่างไรบ้าง?

ในเด็กเล็กอาการของโรคตับแข็งจะไม่ค่อยแสดงออกให้เห็นทันที จนกระทั่งการทำงานของตับเริ่มล้มเหลว มีความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตอาการของลูกได้ดังนี้

  • สังเกตร่างกายของลูกว่ามีเลือดคั่งตามฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือไม่มี มีเส้นเลือดสีแดงอมม่วงปรากฏตามร่างกายหรือเปล่า โดยเฉพาะบริเวณสะดือที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน
  • หากลูกเกิดมีเส้นผมและขนตามตัวขาดหลุดร่วงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • หากลูกมีไข้ขึ้นสูง อาเจียนเป็นเลือด ให้รีบพาลูกพบแพทย์ทันที
  • สังเกตดูว่าท้องโตหรือไม่ รวมถึงขาทั้งสองบวมใหญ่ เนื่องจากเกิดจากมีน้ำในร่างกายมากเกินไปจนไม่ขับออก
  • อย่านิ่งนอนใจหากเกิดผื่นคันตามผิวหนัง อาจเป็นสาเหตุของโรคตับแข็งได้
  • หากกล้ามเนื้อกระตุกๆ และร่างกายมีอาการสั่นเทาผิดปกติ ให้รีบพาลูกพบแพทย์ทันที
  • สังเกตดูว่าลูกของคุณมีอาการตัวเหลือง นัยน์ตาเหลืองไหม นั่นเป็นเพราะเกิดการสะสมของน้ำดีมากเกินไป

 

โรคตับแข็งวินิจฉัยได้อย่างไร

ใบเบื้องต้นแพทย์จะมีการสอบถามประวัติสุขภาพ เช็คประวัติสุขภาพ หรือกิจวัตรประจำวันว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ มีพฤติกรรมการดื่มสุราหรือไม่ จากนั้นจะมีการตรวจร่างกายทั่วไปโดยการคลำดูขนาดและตำแหน่งของตับ เพื่อประเมินการรักษาต่อไป

 

1. ใช้วิธีตรวจเลือด

เป็นการตรวจสารเคมีในเลือดเพื่อวัดประสิทธิภาพในการทำงานและความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตับ เช่น ตรวจดูการแข็งตัวของเลือด เช็คค่าการทำงานของตับโดยดูค่าสารบิลิรูบิน (Bilirubin) คือการแตกตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงหรือเอนไซม์และทดสอบหาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี

 

2. ใช้วิธีสแกนตับ

แพทย์จะใช้การสแกนตับโดยถ่ายภาพจากการเอกซเรย์ เพื่อดูสภาพของเนื้อเยื่อว่าเกิดพังผืดหรือรอยแผลขึ้นหรือไม่ เช่น เข้าเครื่องอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีที สแกน (CT Scan) ไปจนถึงการตรวจตับและม้ามด้วยรังสี (Radioisotope Liver/Spleen Scan) หรือไฟโบร สแกน (Fibro Scan)

 

3. ใช้วิธีการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ

แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อและนำตัวอย่างบางส่วนของเนื้อเยื่อตับจากผู้ป่วยไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยยืนยันผลที่แม่นยำอีกครั้ง ซึ่งวิธีนี้เป็นการวินิจฉัยของแพทย์และช่วยหาสาเหตุของโรคได้ค่อนข้างตรงจุด

 

คุณพ่อคุณแม่มีวิธีป้องกันลูกจากโรคตับแข็งได้อย่างไรบ้าง?

หากลูกของคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบตอนแรกคลอด ฉะนั้นก็อย่างวางใจว่า เด็กๆ จะไม่สามารถเป็นโรคนี้ได้ ควรมีวิธีป้องกันโรคตับให้ลูกวัยเด็กเล็กของเราได้ง่ายๆ

  • เช็ควัคซีนที่ลูกควรได้รับตามวัย โดยเฉพาะ HB2 ที่ป้องกันโรคตับอักเสบบี ซึ่งมีกำหนดฉีดเมื่อเด็กอายุ 1 เดือน
  • เช็คสุขภาพลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิด ว่าท่อน้ำดีของลูกสมบูรณ์เป็นปกติหรือไม่ หากผิดปกติ ควรรีบผ่าตัดภายในอายุ 2 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันในท่อน้ำดี แล้วเป็นโรคตับแข็งในตอนโต
  • หมั่นทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารของลูกน้อย จากนั้นนำภาชนะต่างๆ ไปอบความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค นอกจากนี้ควรระวังเรื่องอาหารของลูก ต้องมั่นใจว่าปรุงสุกและสดใหม่ทุกครั้ง
  • ดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยให้เหมาะสม ไม่ควรให้ลูกกินขบเค้ยวมากเกินไป เนื่องจากมีโซเดียมสูง รวมถึงอาหารรสเค็มจัด อาหารรสเผ็ดจัด นอกจากจะทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคอ้วนแล้ว ยังเกิดไขมันพอกที่ตับอีกด้วย

 

 

บทความที่น่าสนใจ :

วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

โรคตับในเด็ก จากใจของแม่ที่ลูก 9 เดือน ป่วยเป็นตับแข็งระยะสุดท้าย

ทำความรู้จัก 6 โรคอันตรายในเด็ก ที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนรวม เพียงเข็มเดียว

ที่มา : Vejthaini , kapook

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan