ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอด แม่ท้องส่วนใหญ่ ถ้าไม่มีภาวะเสี่ยง หรือความผิดปกติใด ๆ ก็มักจะคลอดลูกในช่วงอายุครรภ์ 38 สัปดาห์ขึ้นไป อาจจะก่อน หรือ หลังจากนั้นไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ แล้วถ้าอายุครรภ์ ท้อง 40 สัปดาห์ แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะคลอดล่ะ จะทำอย่างไรดี คุณแม่ที่มี อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอด ลองมาดูกันค่ะ ว่าควรทำอย่างไร
ครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่คลอด สาเหตุคืออะไร
- ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ ต่อมหมวกไตฝ่อ
- การขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด
- คำนวณอายุครรภ์ผิด
หากครบกำหนดคลอดแล้ว แต่ยังไม่มีวี่แววว่าลูกจะออกมา ทำอย่างไร อ่านกันต่อเลยค่ะ
ตั้งครรภ์เกินกำหนด คืออะไร
รองศาสตราจารย์ พญ.ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์ กล่าวถึง ตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดไว้ว่า ตามปกติแล้วอายุครรภ์ที่ครบกำหนดคลอดและทารกมีความสมบูรณ์เต็มที่ คือ อายุครรภ์ช่วงระหว่าง 37 สัปดาห์ถึง 41 สัปดาห์ และอีกไม่เกิน 6 วัน เมื่อคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาปกติ สำหรับแม่ท้องที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วัน ถือว่าเป็น “การตั้งครรภ์เกินกำหนด (Post term pregnancy)” ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง
สาเหตุของครรภ์เกินกำหนด เกิดจากอะไร
ทางการแพทย์ยังไม่มีข้อยืนยันชัดเจนว่า ครรภ์เกินกำหนดคลอด เกิดจากสาเหตุใด แต่อาจเกิดจากความผิดปกติ หรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่พบว่า ทารกในครรภ์พิการบางอย่าง เช่น ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (Anencephaly) ต่อมใต้สมองผิดปกติ, ต่อมหมวกไตฝ่อ และการขาดฮอร์โมน Placental sulfatase deficiency ทำให้การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนมีน้อยลง คุณแม่จึงไม่มีอาการเจ็บท้องคลอด แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์เกินกำหนด คือ การที่แม่ท้องจำวันแรก ที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้ หรือจำวันผิด ทำให้คำนวณอายุครรภ์ผิดไป
40 สัปดาห์ 9 เดือนเต็มแล้วนะ ยังไม่มีสัญญาณว่าจะคลอด ทำไงดี
-
คำนวณอายุครรภ์ให้ถูกต้อง
อย่าเพิ่งตกใจไปนะคะ บางทีคุณอจจะแค่คำนวณผิดเท่านั้นเอง ลองตั้งสติว่าตั้งครรภ์จริง ๆ กี่สัปดาห์แล้ว สามารถตรวจสอบได้จากการนับวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย หรือจากการอัลตร้าซาวด์
-
อัลตร้าซาวด์
วิธีการนี้คุณหมอจะทำการตรวจน้ำคร่ำ และฟังเสียงหัวใจเด็กว่า เต้นผิดปกติหรือไม่ การอัลตร้าซาวด์ เพื่อวัดปริมาณน้ำคร่ำ ขั้นตอนนี้คือ แม่ท้องต้องมั่นใจค่ะว่า ท้องเกินกำหนดไปแล้ว
-
นับลูกดิ้น
ช่วงใกล้คลอด ลูกในท้องจะดิ้นน้อยลง เพราะตัวใหญ่เต็มท้อง ไม่มีพื้นที่ว่างให้ดิ้นมาก ลองนับลูกดิ้นว่ายังปกติอยู่ไหม โดยหลังทานอาหารไปแล้ว 1 ชั่วโมง ลูกดิ้นถึง 3 ครั้งหรือไม่ ถ้าลูกนิ่งไป ไม่มีอาการตอบสนองให้รีบไปหาหมอค่ะ
คุณแม่ที่มีอาการ หรือมีความกังวล แนะนำว่า ปรึกษาแพทย์จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่ และลูกในครรภ์ค่ะ
อาการก่อนคลอด อาการใกล้คลอดเป็นอย่างไร
-
ลูกเคลื่อนตัวลง
ถ้าคุณเป็นคุณแม่ท้องแรก ลูกจะค่อยๆเคลื่อนตัวลงมาใกล้ๆบริเวณ กระดูกเชิงกราน ในช่วงสองถึงสี่สัปดาห์ก่อนที่การคลอดจะเกิดขึ้น ลูกจะเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อที่จะออกมาจากแม่ ในทางที่ถูกต้องหัวจะคว่ำต่ำ ในช่วงนี้คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณต้องเดินเหมือนเป็ด มากกว่าแต่ก่อน และคุณอาจจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นในช่วงไตรมาสที่สามนั่นเป็นเพราะว่า ลูกกดทับบริเวณที่เป็นกะเพาะปัสสะวะ ข่าวดีก็คือ คุณจะมีพื้นที่ให้หายใจมากขึ้น เพราะเจ้าตัวน้อยจะเคลื่อนตัวออกห่างจากปอดไปแล้ว
-
ปากมดลูกจะขยาย
ปากมดลูกเองก็จะเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดเช่นกัน ปากมดลูกจะเริ่มเปิดและบางตัวลง ในช่วงหลายสัปดาห์หรือวันก่อนที่จะคลอด แต่ร่างกายของคุณแม่หลายคนก็จะต่างกันออกไปเพราะฉะนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลที่ปากมดลูกของตนยังไม่ขยาย หรือยังไม่ขยายมากอาการใกล้ คลอด
-
คุณจะรู้สึกปวดช่วงท้องและปวดหลัง
ยิ่งถ้าคุณไม่ใช่ คุณแม่ท้องแรก คุณจะรู้ปวดช่วงท้องและช่วงหลัง บริเวณหลังล่าง และ ขาหนีบ เวลาใกล้จะคลอด กล้ามเนื้อและข้อต่อของคุณกำลังขยายตัวและเคลื่อนตัวเพื่อเตรีมพร้อมสำหรับเวลาคลอดที่ใกล้เข้ามาถึงเต็มที
-
ข้อต่อหลวม
ตลอดเวลาช่งระหว่างที่กำลังตั้งครรถ์ ฮอร์โมนจะทำให้ กล้ามเนื้อเอ็นหลวมขึ้นเล็กน้อย ก่อนจะคลอด คุณอาจจะรู้สึกว่า ข้อต่อในร่างกายของคุณจะไม่แน่นเท่าเดิม และผ่อนคลายมากขึ้น มันเป็นวิธีของธรรมชาติที่จะขยายช่วงกระดูกเชิงกราน เพื่อให้เจ้าตัวน้อยออกมาง่ายขึ้น
-
คุณอาจจะท้องเสีย
เช่นเดียวกับการที่กล้ามเนื้อในช่วงช่องคลอดผ่อนคลายเพื่อเตรียมตัวพร้อมสำหรับการคลอดลูก กล้ามเนื้ออื่นๆในร่างกายก็จะผ่อนคลายมากขึ้นเช่นกัน ทวารหนักก็ด้วย นั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคุณอาจจะท้องเสีย แม้ว่าอาการนี้จะพบได้ง่ายในคุณแม่ที่ใกล้จะคลอดแต่มันก็น่ารำคาญพอสมควร เราแนะนำให้คุณดื่มน้ำเยอะๆ และคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ และเป็นเรื่องดีด้วย เพราะมันแสดงว่าร่างกายของคุณเตรียมพร้อมแล้ว
-
คุณน้ำหนักลดลง หรือ ไม่เพิ่มขึ้นอีก
น้ำหนักจะเริ่มไม่ขึ้นตอนช่วงใกล้คลอด แม่บางคนอาจจะน้ำหนักลดด้วยซ้ำ นี่เป็นเรื่องที่ปกติมาก และไม่มีผลกับน้ำหนักลูกแต่อย่างใด ลูกยังเจริญเติบโตอยู่ แต่น้ำหนักคุณลดลงเพราะ น้ำคร่ำลดลง เข้าห้องน้ำบ่อย และร่างกายมีกิจกรรมที่ต้องทำมากขึ้น
-
คุณรู้สึกเหนื่อยมากๆ ต้องการพักตลอดเวลา
ท้องที่ใหญ่ และ กะเพาะปัสสะวะที่ถูกกดทับ มันทำให้คุณหลับได้ยากในช่วงท้ายๆของการตั้งครรถ์ เราแนะนำให้คุณหาเวลานอนกลางวัน แต่แม่บางคนก็จะมีอาการตรงข้ามคือ จะรู้สึกมีพลัง อยากทำนู้นทำนี่ตลอดเวลา คุณสามารถทำความสะอาด จัดเก็บของต่างๆได้ แต่อย่าฝืนร่างกายตัวเอง
-
เมือกที่ปิดปากมดลูกจะหลุดออก อวัยวะเพศขยาย เปลี่ยนสี และ หลวมขึ้น
คุณอาจจะรู้สึกว่าเมือกที่ปิดปากมดลูกหลุดไป มันอาจมีลักษณะคล้ายเมือกในน้ำมูก ซึ่งอาจจะหลุดออกมาภายในทีเดียว หรือออกมาเป็นชิ้นเล็กๆก็ได้เช่นกัน คุณอาจจะไม่เห็นมันทั้งหมด และ คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการแบบนี้ตอนก่อนคลอดไม่กี่นาที ในช่วงที่ใกล้คลอดจิมี๊จะขยาย มีความหนาขึ้น ส่วนที่หนาออกมาและมีสีออกชมพูนั้นเป็นตัวบ่งบอกว่า คุณใกล้จะคลอดแล้ว
อ้างอิงข้อมูลจาก
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ท้องนานเกินลูกเสี่ยงตาย วิจัยเผยการท้องที่นานเกินไปอาจทำอันตรายให้ลูกถึงชีวิต
อายุครรภ์ นับอย่างไร วิธีการนับอายุครรภ์
อาการใกล้คลอด เป็นอย่างไร 10 สัญญาณบ่งบอกว่าลูกใกล้มาแล้ว