ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก ภัยเงียบจากการนอนดึก
พ่อแม่ มีเหตุผลใหม่ๆ ให้ลูกนอนเร็วขึ้นได้แล้วนั้นก็คือ เมื่อ ลูกนอนดึก เสี่ยงเป็น โรคอ้วนในเด็ก เพราะการพักผ่อน สำคัญต่อลูก ในหลายแบบ รวมถึง การเป็นโรคอ้วน และ ตัวเตี้ยได้อีกด้วย
จากการวิจัยพบว่า เด็กที่มีการตื่นตัวในช่วงเวลา 3 ทุ่ม มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคอ้วนในเด็ก ในช่วงอายุ 2-6 ปี จากการตีพิมพ์ใน Official Journal of the American Academy of Pediatrics เผยให้เห็นการวิจัย ที่มีการศึกษาโดยการบันทึกจากการกิจกรรมในการนอนหลับ ทางงานวิจัยพบว่า เด็กเล็ก ที่นอนไม่หลับจนถึง 21.00 น. หรือส ูงกว่านั้น ทำให้ ดัชนีมวลกาย (BMI) และ รอบเอว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักตัวสูงมากขึ้น
โดยจากการวิจัยพบว่า ไลฟ์สไตล์ และวิธีการอยู่อาศัยของเรา รวมถึง การนอนด้วย โดย Claude Marcus ผู้เขียนการศึกษาและศาสตราจารย์กุมารเวชศาสตร์ ในสวีนเดนเผยว่า สมาคมหัวใจของอเมริกันรายงานว่า 1 ใน 3 ของวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา มีน้ำหนักเกินและมีความเสี่ยงต่อโรคที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจนถึงวัยผู้ใหญ่ เช่น เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง และ ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
โดยโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของหลอดเลือดและหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก เป็นการป้องกัน โรคอ้วนจึงเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับเด็ก โดย Donna Arnett เอกศาสตราจารย์ด้านสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่มหาวิทยาลัยเคนตักกี้และชาวอเมริกัน
โดยโรคอ้วนในวัยเด็กนั้นกี่ยวข้องกับอาหารทางจิตใจ เช่น ความหดหู่ และ ความวิตกกังวล ความนับถือตนเองต่ำ และ คุณภาพชีวิตต่ำ และ มีปัญหาโดนกลั่นแกล้ง โดยรายงานนี้ถูกบันทึกจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)
ความสัมพันธ์ระหว่างลูกนอนดึก และ โรคอ้วนในวัยเด็ก
Shalini Paruthi ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์และการนอนหลับที่โรงพยาบาลเซนต์ลุคในเซนต์หลุยส์และโฆษกของ American Academy of Sleep Medicine กล่าวว่า ระยะเวลานอนหลับระยะสั้น ในเด็ก สัมพันธ์กับระดับอินซูลินที่สูงขึ้น และระดับอินซูลินที่ไม่ไวต่อความรู้สึกที่สูงขึ้นนั้นหมายความว่า ร่างกายของเด็กอาจไม่สามารถรับอินซูลินและน้ำตาลกลูโคสได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้การศึกษายังแสดงให้เห็นอีกว่า การอดนอนจะเพิ่มความต้องการอาหารและความเหนื่อยล้าจากการอดนอน จะทำให้การออกกำลังกายลดลง กล่าวโดย Shalini Paruthi
การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการที่เด็กนอนไม่หลับ ส่งผลต่อฮอร์โมนของเลปตินและแกรลิน โดยเลปตินจะถูกหลั่งในเซลล์ไขมันและช่วยให้สัญญาณสมองทำงานช้าลง และ เกรลินจะหลั่งเพื่อกระตุ้นความหิวในวัยเด็กอีกด้วย
การวิจัยอย่างต่อเนื่องช่วยอธิบายทฤษฎีเหล่านี้ได้เพิ่มเติมอีก โดย Dr. Carol Rosen ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ และ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์สำหรับบริการการนอนหลับของของ มหาวิทยาลัย Case Western Reserve และ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์สำหรับการนอนหลับของเด็กที่ โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย Rainbow Babies & โรงพยาบาลเด็กในโอไฮโอ
โดยจากการศึกษา แสดงให้เห็นว่าระยะเลาการนอนหลับสั้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของโรคอ้วนในเด็ก
นอกจากนี้ การที่ ลูกนอนดึก มีผลทำให้ลูกเตี้ยได้ โกรทฮอร์โมนนั้นจะผลิตในขณะที่เรานอนหลับ มีการหลั่งในชั่วโมงแรกหลังจากที่หลับสนิท ระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตีสาม หากลูกหลับไม่สนิท หรือนอนดึก โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืน ร่างกายก็จะไม่สร้างโกรทฮอร์โมน
Growth Hormone จะผลิตได้ดีหากลูกมีการนอนหลับพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เมื่อโกรทฮอร์โมนของลูกทำงานผิดปกติ นอกจากอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าค่าปกติแล้ว ลูกยังอาจมีอาการ เสียงเล็กแหลม รูปร่างเตี้ยแต่จ้ำม่ำ ในเพศชายอาจพบว่ามีอวัยวะเพศเล็กกว่าเด็กทั่วๆ ไป เด็กบางคนที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตชนิดรุนแรงจะพบว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจเป็นเหตุให้ลูกชักจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย
ที่มา : Healthline
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
10 เมนูคนท้องไม่อ้วน คนท้องกินยังไงให้น้ำหนักไม่เยอะ อาหารคนท้อง
กลัวลูกเตี้ย แม่ต้องทำไง แต่ละปีลูกควรสูงขึ้นกี่เซน ลูกนอนดึกก็มีผลต่อความสูง?
คนท้องทำงาน นั่งนาน ยืนนาน แม่ท้องทำงานหนัก นอนน้อย นอนดึก เครียด ส่งผลกับทารกในครรภ์