ภาษาของเด็กทารก ภาษาที่ใช้สื่อสารกับพ่อแม่ ลูกของคุณเป็นแบบไหน?

คุณอาจจะเคยสงสัยว่าภาษาที่ฟังไม่ได้ศัพท์ของทารกนั้นแปลว่าอะไร บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาษาอ้อแอ้ของทารกมากขึ้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

เราเคยได้ยินเกี่ยวกับการที่เด็กทารกใช้ภาษาของตัวเองสื่อสารกับพ่อแม่และเด็กอื่น ๆ ภาษานี้อาจจะฟังดูไม่ได้ศัพท์สำหรับผู้ใหญ่ แต่เด็กเล็ก ๆ ต่างมีภาษาเป็นของตัวเอง ซึ่งเราอาจต้องพยายามเรียนรู้กันสักหน่อย เรามีคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาษาอ้อแอ้ของเด็กน้อยมากขึ้นและทำไมเด็ก ๆ จึงสื่อสารเช่นนั้น?

 

ภาษาของเด็กทารก เข้าใจภาษาทารก

การสื่อสารของทารกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกคือการเริ่มส่งเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ ระยะที่สองคือการส่งเสียงพยางค์เดิมซ้ำ  ๆ เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 6-9 เดือน เช่น “มามามามามามามา! มามา! มามามามา!” และระยะสุดท้ายคือการพูดเสียงหลาย ๆ แบบ ซึ่งเมื่อฟังผ่าน ๆ อาจฟังดูคล้ายคำที่มีความหมายจริง ๆ ในช่วงที่เด็กเริ่มฝึกกล้ามเนื้อและพยายามเลียนแบบเสียงที่เขาได้ยิน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เด็กสองภาษา ลูกเข้าใจสิ่งที่พูดหรือไม่

 

ภาษาอ้อแอ้  

เพื่อทำความเข้าใจภาษาอ้อแอ้ของเด็กทารก ก่อนอื่นคุณต้องตั้งใจฟังโทนเสียงและคำที่เด็กใช้ เพราะโทนเสียงและ “คำ” เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถระบุเจตนาและอารมณ์ของเด็ก

นี่เป็นข่าวดีสำหรับครอบครัวที่ใช้หลายภาษา เพราะแต่ละภาษาก็มีโทนเสียงที่แตกต่างกันออกไป เด็ก ๆ ก็เหมือนฟองน้ำที่พร้อมจะซึมซับทุกอย่างที่พวกเขาได้ยินและมองเห็น เด็กทารกในจีนที่พ่อแม่พูดภาษาฝรั่งเศสก็จะสื่อสารไม่เหมือนกับเด็กในฝรั่งเศสที่ผู้ปกครองพูดภาษาฝรั่งเศสและโปรตุเกส

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เปิดหน้า 2 มีคลิปวีดีโอฮา ๆ ที่พิสูจน์ว่าทารกเค้ามีภาษาของเค้าเอง

“ภาษาอ้อแอ้” ในที่นี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เด็กที่ได้ยินเป็นปกติเท่านั้น เด็กทารกที่หูหนวกที่ “ฟัง” จากภาษามือ ก็สามารถสื่อสารภาษาอ้อแอ้ผ่านการเคลื่อนไหวเช่นกัน

เคล็ดลับการอ่านหนังสือให้ลูกวัยหัดพูด

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกของคุณเป็นแบบไหน?

คุณอาจสังเกตว่าลูกคนโตของคุณสื่อสารไม่เหมือนกับลูกคนสุดท้องของคุณเลยสักนิด เพราะเด็กแต่ละคนก็มีวิธีการสื่อสารที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหลัก ๆ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ เด็กที่ใช้คำ และเด็กที่ใช้น้ำเสียง

เด็กที่ใช้คำพูดอาจพยายามออกเสียงคำต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะที่เด็กที่ใช้น้ำเสียงอาจพยายามเล่นกับเสียงสูงต่ำของคำมากกว่า และจะเปลี่ยนไปพูดคำอื่นต่อเมื่อพอใจกับเสียงของคำที่หัดพูดก่อนหน้าเท่านั้น เด็กประเภทหลังนี้มักใช้เวลากับการออกเสียงพยางค์เดิมซ้ำ ๆ แต่โดยปกติเด็กทั้งสองประเภทจะมีพัฒนาการด้านภาษาไม่ต่างกัน

ภาษาของเด็กทารกถือเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง หากเราสังเกตปฏิกิริยาของผู้ปกครองต่อเสียงของทารกอย่างละเอียด เราจะพบว่าเด็กสามารถทำให้ผู้ปกครองเข้าใจพวกเขาได้ก่อนที่เขาจะเข้าใจผู้ปกครองเสียอีก

แอพช่วยสอนภาษาอังกฤษลูกน้อย

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team