“อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)” ชื่อนี้มีใครบ้างที่ไม่รู้จัก แต่ไม่ว่าจะตามหาอ่านข้อมูลที่ไหนก็เข้าใจยากไปเสียหมด จะอ่านแต่พอเข้าใจเอาเป็นความรู้เพียงพอจะให้บอกเล่าสู่เด็ก ๆ ในเวลาว่างก็ทำได้ลำบาก วันนี้เราจึงมาสรุปข้อมูลเกี่ยวกับอัจฉริยบุคคลผู้นี้ ทั้งประวัติชีวิต, ผลงาน และแนวคิดที่สำคัญที่นำไปใช้ได้จริงกับชีวิตของเด็ก ๆ ให้อ่านได้ง่ายไม่สับสน ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลย
ชีวประวัติตลอดช่วงอายุของไอน์สไตน์
อัจฉริยะคนนี้เกิดในเมืองอุล์ม ราชอาณาจักรเวิอร์ทเทิมแบร์ค ในสมัยที่ยังเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยคุณพ่อเป็นพนักงานขายทั่วไป และในขณะนั้นได้ทำการทดลองเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้าอีกด้วย ส่วนคุณแม่ถือว่ามีฐานะค่อนข้างดี ทำให้ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นครอบครัวชาวยิวครอบครัวหนึ่งที่ไม่ได้ขัดสนด้านการเงินแต่อย่างใด อัลเบิร์ตได้พบแรงบันดาลใจครั้งแรกตอน 5 ขวบ จากการได้เข็มทิศ ซึ่งเป็นของขวัญจากพ่อ ตอนนั้นเขาสงสัยว่าแรงดึงดูดอะไรที่ทำให้เข็มทิศสามารถเคลื่อนไหวไปตามทิศทางได้ ถึงอย่างนั้นเขาก็ถือว่าเขาไม่ใช่เด็กที่มีความโดดเด่นแต่อย่างใด เนื่องจากเขามีความเสียเปรียบในด้านการเรียนรู้ เพราะมีความพิการทางการอ่าน หรือเขียน และเป็นเด็กที่มีความเขินอายกว่าปกติ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กอัจฉริยะวัย 4 ขวบ ไอคิวสูง ต่ำกว่าไอน์สไตน์เพียงนิดเดียว !
อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ได้ช้าทำให้เขาสามารถเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด และถี่ถ้วนมากขึ้น เขาสามารถมองหาจุดในทฤษฎีต่าง ๆ และมองเห็นปัญหา รวมถึงการตั้งคำถาม เพื่อใช้นำไปหาคำตอบต่อไปได้เป็นอย่างดี ต่อมาด้วยความล้มเหลวของงานทดลองของพ่อทำให้ครอบครัวของเขาต้องย้ายออกจากเยอรมันไปอยู่ที่อิตาลี อัลเบิร์ตในวัยเพียง 12 ปี จึงออกจากโรงเรียนโดยไม่บอกพ่อแม่ ทำให้เขาไม่ได้ใบประกาศนียบัตรช่วงมัธยม แต่ต่อมาเขาก็ถูกส่งตัวกลับมาเรียนจนสำเร็จการศึกษาในที่สุด และศึกษาต่อจนจบปริญญาเอก
วิดีโอจาก : THE STANDARD PODCAST
เส้นทางชีวิต ครอบครัว และจุดสิ้นสุดของอัลเบิร์ต
เขาได้เข้าทำงานเป็นนักตรวจสอบใบสมัครสิทธิบัตรหมวดอุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้า ต่อมาเขาจึงกลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจักรกล” ระหว่างนั้นเขาได้ก่อตั้งชมรมกับเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นชมรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทั้งอ่านหนังสือร่วมกัน ทำกิจกรรม และตั้งวงสนทนาในประเด็นต่าง ๆ โดยกลุ่มนั้นมีชื่อว่า “The Olympia Academy” ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เองทำให้เขาได้รับแนวคิด, ความรู้ และแรงบันดาลใจต่าง ๆ มากมายในเวลาต่อมา ในส่วนของชีวิตครอบครัวเขาได้แต่งงาน และใช้ชีวิตคู่อย่างจริงจังกับพยาบาลที่เคยดูแลเขาในช่วงที่เขาป่วย ทั้งคู่ช่วยกันดูแลลูกซึ่งเป็นลูกของภรรยาถึง 2 คน ถือได้ว่าตัวของอัลเบิร์ตเองไม่ได้มีลูกแท้ ๆ ของตน
หลังจากนั้นภรรยาของเขาก็ล้มป่วย และเสียชีวิต ภายหลังต่อมาอัลเบิร์ตก็เสียชีวิตในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ด้วยโรคหัวใจวาย ที่รัฐนิวเจอร์ซี ประเทศอเมริกา ขณะนั้น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มีอายุรวมทั้งสิ้น 76 ปี ถึงแม้จะมีหลายงานวิจัยที่เขายังทำไม่สำเร็จ และล้มเหลวรอวันให้ผู้อื่นมาแก้ไข แต่ก็ถือได้ว่าตลอดช่วงชีวิตของเขานั้น ได้สร้างผลงานต่าง ๆ ไว้มากมายจนเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังในเวลาต่อมานั่นเอง
ผลงาน และทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ไอน์สไตน์มีชื่อเสียงด้านการคิดค้นทฤษฎี และผลงานด้านอื่น ๆ อยู่มากมาย แนวคิดของเขากลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และมีผู้พยายามต่อยอด รวมไปถึงพยายามโต้แย้งแนวคิดของเขาอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน
ทฤษฎีทั้ง 3 ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
- ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ : เขาได้เขียนบทความทั้ง 4 คือ “Annus Mirabilis Papers” ได้แก่ บทความเกี่ยวกับธรรมชาติเฉพาะตัวของแสง พาไปสู่แนวคิด “ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก” ในเวลาต่อมา, บทความเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของบราวน์ การกล่าวถึงวัตถุขนาดเล็กที่เคลื่อนไหวแบบสุ่ม, บทความอิเล็กโตรไดนามิกส์วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ และบทความสมดุลของมวล-พลังงาน เขาได้ปรับปรุงสมการสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในเวลาต่อมานั่นเอง
- แสงกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป : จากบทความเกี่ยวกับผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อแสงของเขา ที่อธิบายถึงการเคลื่อนไปทางแดง เป็นผลจากแรงโน้มถ่วง และการหักเหของแสงจากแรงโน้มถ่วงเช่นกัน แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับ และยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่อธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง
- ทฤษฎีแรงเอกภาพ : เกิดจากภายหลังตั้งทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป จากบทความที่มีชื่อว่า “On the Generalized Theory of Gravitation” เกี่ยวกับการอธิบายถึงทฤษฎีแรงโน้มถ่วงกับความเกี่ยวข้องของคุณสมบัติของแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้มีแรงสนับสนุนในทฤษฎี ทำให้หลายอย่างไม่ประสบความสำเร็จ และไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับเท่าไหร่นักในเวลานั้น
ผลงานการประดิษฐ์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
- ตู้เย็นไอน์สไตน์ : ใน พ.ศ. 2469 เขากับลูกศิษย์เก่าเข้าร่วมโครงการแมนฮัตตัน ซึ่งต่อมาได้รับยกย่องเป็นผู้ค้นพบห่วงโซ่ปฏิกิริยา ทั้งคู่ช่วยกันประดิษฐ์ “ตู้เย็นไอน์สไตน์” เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีส่วนใดสามารถเคลื่อนไหวได้เลย และใช้พลังงานความร้อนเพียงอย่างเดียว ต่อมาได้จดสิทธิบัตรใน พ.ศ. 2473
- แบบจำลองแก๊สชเรอดิงเจอร์ : ในขณะที่ “แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์” กำลังคิดค้นระดับพลังงานของแก๊ส เขาก็ได้รับคำแนะนำของอัลเบิร์ต ด้วยความช่วยเหลือนี้เองทำให้แอร์วินต้องการใส่ชื่อของอัลเบิร์ตลงในแนวคิดนี้ด้วย แต่ตัวของอัลเบิร์ตเองตัดสินใจปฏิเสธไป
ข้อคิดจากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่เป็นประโยชน์กับเด็ก ๆ
- การเรียนสำคัญเสมอ : จากที่ทุกคนอาจเคยได้ยินว่า “ไอน์สไตน์ ก็ไม่เห็นเรียนจบ ยังประสบความสำเร็จได้” แต่ถ้าได้อ่านบทความนี้ตัวของเขาไม่ใช่เรียนไม่จบ เพียงแต่เขาลาออก แล้วกลับไปเรียนภายหลัง แถมยังเรียนต่อจนจบปริญญาเอกอีกด้วย นั่นแสดงให้เห็นว่าสุดท้ายความรู้ที่เขาได้มาก็นำมาใช้ได้จริง ในชีวิตด้านต่าง ๆ ของเขา
- ความผิดปกติไม่ใช่ปัญหา : เด็กหลายคนอาจท้อแท้เมื่อตนเองมีภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ แต่หากมีความพยายาม และมีความตั้งใจ ก็สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้เช่นกัน แต่จะมากหรือน้อยนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับความพยายาม และกำลังใจที่ได้รับจากคนรอบข้างด้วย แน่นอนว่าความยากลำบากหลายอย่างอาจไม่สามารถพ้นผ่านได้ด้วยตัวคนเดียว
- ล้มเหลวได้แต่ไม่ได้ยอมแพ้ : เด็ก ๆ ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ แม้แต่อัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์เอง ก็ยังล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน คนอาจจดจำเกี่ยวกับงานวิจัยอันโด่งดัง แต่ก็มีงานวิจัยที่ล้มเหลวที่คนไม่ได้พูดถึงด้วย ดังนั้นเด็ก ๆ ต้องคำนึงเสมอว่าจะหวังแต่ความสำเร็จอย่างเดียวไม่ได้ เมื่อล้มเหลวแล้ว ก็ต้องแก้ไข ทบทวน และก้าวต่อไป
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวภาพรวมของชายที่มีชื่อว่า “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ซึ่งได้เป็นแบบอย่างทั้งการเรียนรู้ และเป็นบุคคลสำคัญในวงการด้านวิทยาศาสตร์ และฟิสิกส์ รวมถึงอาจเป็นแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ อีกหลายคนอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน
รวม 6 ศูนย์วิทยาศาสตร์ ในกรุงเทพ และใกล้กรุงเทพ สำหรับเด็ก ไปได้ทั้งบ้าน !
รวม 10 เกมวิทยาศาสตร์ เล่นสนุกช่วยลูกฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ที่มาข้อมูล : th.wikipedia.org