การตั้งใจเรียนในห้อง เป็นเรื่อง “พื้นฐานที่สุด” และ “สำคัญที่สุด” ที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนดี อาจดูเหมือนว่าเด็กบางคนไม่สนใจการเรียนในห้อง แต่ไปเรียนพิเศษกับครูข้างนอก แล้วสามารถสอบแข่งขันชนะ ต้องบอกว่าปัจจัยที่ทำให้เด็กแบบนั้นชนะคนอื่น ก็เพราะเขา “ ตั้งใจเรียนในห้อง ” กับครูสอนพิเศษของเขา ไม่ได้มีหลักการอะไรที่พิสดารไปกว่านั้นเลย นั่นแปลได้ว่า ขอให้เด็กตั้งใจเรียนในห้องเป็นอย่างแรก ไม่ว่าจะในโรงเรียนที่เรียนอยู่แล้ว หรือตามสถาบันสอนพิเศษ ความสำเร็จทางการศึกษาอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอน
เด็กไม่ตั้งใจเรียน ทำอย่างไร
จำกันได้หรือเปล่าคะว่า คุณทำอะไรอยู่ในวัยอนุบาล ภาพของการเล่นไล่จับ เล่นขายของกับเพื่อนในละแวกบ้านคงโผล่มาในหัว แต่เด็กอนุบาลในปัจจุบันถูกใส่เข้าไปอยู่ในกรอบวิชาการ ตั้งแต่ยังเล็กมาก ภาพที่เราเห็นเจนตาคือ เด็กอนุบาล 1 ที่ต้องนั่งเขียนหนังสือในห้องเรียนเวลากลางวัน หลังจากเลิกเรียนต้องทำการบ้าน เรียนพิเศษ เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ติวเข้มเข้าโรงเรียนประถมชื่อดัง ยังไม่นับรวมกิจกรรมเสริมอีกมากมาย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เด็กมากมายถูกนำมาปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เล็ก เนื่องจากทำตามกฎกติกา และอยู่ในกรอบไม่ได้ รวมทั้งบางคนมีปัญหาด้านอารมณ์พฤติกรรมร่วมด้วย เด็กเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาอะไรหรอกค่ะ เพียงเพราะเค้าไม่พร้อม และไม่ได้ถูกฝึกให้พร้อม มีเพื่อนคนหนึ่ง ได้ส่งข้อความมาปรึกษาหมอว่า ลูกชายวัยอนุบาล ไม่ยอมนั่งกับที่เขียนหนังสือที่โรงเรียน แม่ถามหมอตอบ ลูกวัยอนุบาลไม่สนใจเรียน ควรทำอย่างไร?
เชื่อว่าพ่อแม่หลายคนไม่ได้อยากเห็นภาพนี้ แต่ด้วยความที่ในปัจจุบันผู้คนมีลูกน้อยลง ความคาดหวังในลูกแต่ละคนสูงมากขึ้น ต้องการให้ลูกเป็นที่หนึ่ง แข่งขันกับคนอื่นๆได้ ได้รับการพัฒนารอบด้านชนิดที่ไม่น้อยหน้าใคร และยังบวกกับความกังวลใจในการสอบเข้าในระดับชั้นต่างๆ ต่อไปในอนาคต “วัยอนุบาล” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “วัยก่อนวัยเรียน” จึง กลายเป็น “วัยเรียน” ไปโดยปริยาย และทั้งๆ ที่มีการเรียนอย่างหนักมาตั้งแต่อนุบาล พบว่าเด็กส่วนหนึ่ง ไม่ประสบ ความสำเร็จในการเรียนในชั้นสูงขึ้น เพราะขาดแรงจูงใจ เบื่อ เหนื่อยล้าและรู้สึกไม่อยากเรียนอีก ในขณะที่เด็กอีกส่วนหนึ่ง ดูเหมือนประสบความสำเร็จในการเรียนต่อไปได้ดี แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตเพราะขาดทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
สิ่งที่ควรกระตุ้นในลูกวัยอนุบาล คือ การเล่นและทำกิจกรรม
เด็ก เรียนรู้ได้มากมายผ่านการเล่น และ กิจกรรม ได้แก่ การกระตุ้นพัฒนาการและประสาทสัมผัสรอบด้าน การเล่นนั้นจะช่วย ให้เด็กเรียนรู้การยอมรับกติกา และบังคับตนเองให้ทำตามกติกา การฝึกการรอคอยเพื่อให้ถึงคิวตัวเองในการเล่น การเล่นช่วยกระตุ้นทักษะสังคมในการเข้ากลุ่มเพื่อน รู้จักการแบ่งปัน การมีน้ำใจ หากเล่นแล้วเกิดปัญหา เด็กได้เรียนรู้ที่วิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง เมื่อเล่นแล้วทะเลาะและโกรธ เด็กได้เรียนรู้ที่ จะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมให้แสดงออกอย่างเหมาะสม
ส่วนการไปโรงเรียนของลูกวัยอนุบาล มีเป้าประสงค์เพื่อเรียนรู้ว่า ยังมีสังคมอื่น นอกเหนือจากบ้าน เรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม เข้าใจว่าสังคมมีกติกา การฝึกให้ยอมรับกติกาสังคม มีระเบียบวินัย ฝึกควบคุมตัวเอง รอคอยเป็น ทักษะดังกล่าวข้างต้น เรียกได้ว่า เป็นทักษะชีวิต เด็กที่มีความพร้อม เมื่อถึงเวลาในการนั่งเรียนวิชาการ เด็กจะควบคุมตนเองให้ทำงานที่น่าเบื่อ ที่ตนเอง ไม่สนใจนักได้ และทำได้สำเร็จลุล่วง ร่วมกับการมีทักษะทางชีวิตที่ดี จะส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จในชีวิตมากขึ้น
การเรียนรู้ในวัยอนุบาล จึงควรเป็นการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนวิชาการและเสริมสร้างความสำเร็จเมื่อโตขึ้น เมื่อพร้อมแล้ว ไม่ว่าจะใส่กรอบวิชาการอย่างไร เด็กก็สามารถเรียนรู้ ได้เต็มศักยภาพที่ตนเองมี
สร้างแรงบันดาลใจในการสอนลูก นำไปสู่การ ตั้งใจเรียน
เริ่มแรก ถ้าอยากให้ลูกตั้งใจเรียน ลองเปลี่ยนจากการพร่ำบ่น จ้ำจี้จ้ำไช “ตั้งใจเรียนหน่อย ขยันเรียนนะลูก เรียนให้ดี เรียนให้เก่ง ๆ” เป็นการวาดภาพให้ลูกเห็นอนาคตข้างหน้าให้ชัดขึ้น
ทีนี้การวาดภาพในอนาคตให้ชัดขึ้นมันทำอย่างไรกันล่ะคะ ง่าย ๆ เลยค่ะ ลองใช้วิธีสร้างบุคลตัวอย่าง หรือที่เรียกกันง่าย เข้าใจกันดีว่า ‘ไอดอล’ เป็นแบบอย่างที่ดี สอนลูก ให้ตั้งใจเรียน โดยไม่จำกัดแค่อาชีพที่ดี อาชีพในฝัน หรือการเห็นคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบอย่างเท่านั้นนะคะ
เรียนตามฝัน ได้เรียนสิ่งที่อยากเรียนก็ช่วยให้ ตั้งใจเรียนได้
ลูกตั้งใจเรียนมาก เพราะ ลูกแม่ อยากเรียนหมอค่ะ ตั้งใจเรียน เพราะ ลูกพ่อ อยากเป็นวิศวกรครับ เบรกสักนิดนะคะคุณพ่อคุณแม่ ทบทวนอีกครั้งค่ะ ลองถามตัวเองสักนิด ว่าลูกมีความสุขกับมัน เพราะ อยากเรียนด้วยตนเอง หรือ คุณเองที่ ‘เคย’ อยากเรียนกันแน่คะ คุณพ่อ คุณแม่ เอาความฝันที่ครั้งหนึ่งคุณไม่มีโอกาสได้ทำมายัดใส่มือลูกหรือเปล่า ถ้าลูกชอบจริง ๆ ก็ดีไปค่ะ หรือจริง ๆ น้องแค่เรียน เพราะอยากทำให้คุณพอใจ น้องแค่ทำตามที่คุณวางเส้นทางไว้ให้
“ถึงเวลาปล่อยลูกวัยอนุบาลไปวิ่งเล่นรึยังคะ”
ที่มา : 1
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียนอนุบาล
ญี่ปุ่น: สอนเด็กให้มีคุณภาพต้องเริ่มตั้งแต่ “อนุบาล”
https://www.facebook.com/ittiritsarinee/