ลูกของคุณเข้าข่ายเป็นเด็กติดเกมส์หรือเปล่า เมื่อการติดเกมส์กลายเป็นอาการเสพติด ลูกติดเกมส์ทำอย่างไรดี? พร้อมวิธีแก้ลูกรักติดเกมส์อย่างสันติ เรามาดูกันเลยค่ะ
การติดเกมคืออะไร?
อาการติดเกมส์ คือ การที่ลูกคุณใช้เวลาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า แบบไม่สนใจสิ่งอื่นใดในชีวิตรอบตัว 1 ใน 5 ของนักเรียนใช้เวลา 5 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้น ในแต่ละวันอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กละเลยการเรียน สังคมรอบข้าง รวมไปถึงการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว จนเกิดคำถาม ลูกติดเกมส์ทำอย่างไรดี? พร้อมวิธีแก้ลูกรักติดเกมส์อย่างสันติ
จิตแพทย์เด็ก เตือนผู้แม่ผู้ปกครองสังเกตสัญญาณเสี่ยง ลูกติดเกมส์ หากพบความผิดปกติเล่นเกมติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อดหลับอดนอน กระทบชีวิตประจำวัน และ มีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว เมื่อต้องหยุดเล่นเกม แนะปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
ต้นเหตุสำคัญ ของโรค ติดเกมส์ นั้น ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่ามาจากความไม่เข้าใจของพ่อแม่ และ ผู้ปกครอง ที่มองว่าเด็กอยู่กับเครื่องมือไอที และ เด็กเล่นอยู่ในสายตา แล้วรู้สึกว่าไม่อันตราย แต่จริง ๆ แล้วการเล่นเกมจนกลายเป็นการเสพติดกลับยิ่งทำให้เด็กไม่ได้พัฒนาทักษะ และ ส่งผลต่อสุขภาพ
บทความที่เกี่ยวข้อง : 5 พฤติกรรมหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกติดเกม ป้องกันก่อนที่จะสาย
สำหรับข้อสังเกต ว่าเด็กติดเกมหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้จาก 3 ข้อ ได้แก่
- เด็กเล่นเกมหลายชั่วโมงติดต่อกัน
- สูญเสียการควบคุมตนเอง ไม่ทำการบ้าน ไม่ไปโรงเรียน
- สูญเสียการควบคุมชีวิตตัวเอง เช่น ไม่กินข้าว อดหลับอดนอน
หากเด็ก เริ่มมีพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลกระทบตามมาให้ได้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านการกระทำของเด็ก คือ เด็กเริ่มใช้ความรุนแรง หรือ ก้าวร้าว เด็กเริ่มพูดโกหก และ สุดท้ายเด็กเริ่มขโมยเงิน เพื่อนำไปใช้ซื้อของในเกมหรือนำไปเล่นเกม
ดังนั้น พ่อแม่จะควบคุมการเล่นเกมของลูกอย่างไรดี? เรามีคำแนะนำสำคัญ 5 ข้อ ในการที่พ่อแม่จะช่วยลูก ๆ รับมือกับอาการติดเกม
ลงมือปฏิบัติ : ผู้ปกครองควรคิดแผนการควบคุม การเล่นเกมของลูก และ ปฏิบัติตามแผนนั้นให้ลุล่วง คุณอาจจะกำหนดเวลาการเล่นเกมของลูกให้น้อยลง แต่ไม่ใช่ให้หยุดเล่นทันที หรือ กำหนดว่าต้องทำการบ้านเสร็จก่อน หรือ อาบน้ำก่อนแล้วจึงเล่นเกมได้ และ เล่นในเวลาที่กำหนด
ความเชื่อมโยง : พ่อแม่ควรใช้เวลากับลูก ๆ อย่างมีคุณภาพ
ความสัมพันธ์ใกล้ชิด : พ่อแม่ควรวางแผนสำหรับมื้ออาหารเย็นหรือการทานข้าวนอกบ้านแบบพิเศษทุกอาทิตย์ เพื่อสานสัมพันธ์ในครอบครัว
การปฏิสัมพันธ์ : พ่อแม่ต้องทำให้ลูกมั่นใจได้ว่าข้อตกลงใด ๆ ที่สัญญากันไว้จะเป็นไปตามนั้น
คำสั่ง : พ่อแม่ต้องต้องสามารถควบคุมกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ในบ้านได้โดยที่ไม่ดูเป้นการบังคับจนเกินไป
3 ต้อง
- ต้องควบคุมเวลาให้เล่นเกมอย่างเหมาะสม เด็กประถมศึกษา ควรเล่นวันละ 1 ชั่วโมง เด็กมัธยมศึกษา ควรเล่นวันละ 1 ชั่วโมง ส่วนเด็กเล็กพ่อแม่ไม่ควรให้เล่น
- ต้องเลือกเกมที่ไม่มีความรุนแรง และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะทางความคิด
- ต้องเล่นด้วย พ่อแม่ และ ผู้ปกครองควรแบ่งเวลาเล่นเกมกับลูก เพื่อให้ทราบว่าลูกกำลังเล่นเกมอะไรอยู่
3 ไม่
- ไม่เล่นในห้องนอน เพราะเป็นพื้นที่ส่วนตัว อาจกระทบกับการใช้ชีวิตและอดหลับอดนอน
- ไม่เล่นตอนทำกิจกรรมในครอบครัว เช่น เล่นตอนรับประทานอาหารร่วมกัน
- ไม่เป็นแบบอย่าง พ่อแม่ และ ผู้ปกครองไม่ควรเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี เช่น การเล่นเฟซบุ๊ก หรือ เล่นอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์ตลอดเวลา
ทั้งนี้ หากพบว่าลูกติดเกมทำอย่างไรดี? ควรเร่งให้เด็กเข้ารับการปรึกษา โดยปัจจุบันโรงพยาบาลจังหวัดทั่วประเทศ มีการให้บริการจิตแพทย์เด็ก และ เยาวชน รวมถึงหน่วยงานของกรมสุขภาพจิต หรือ สามารถโทรปรึกษา สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 และเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต
ทั้งนี้ การแก้ปัญหาลูกติดเกมทำอย่างไรดี? พร้อมวิธีแก้ลูกรักติดเกมส์อย่างสันติ ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเปลี่ยนและปรับกันทั้งคู่ ทั้งเด็ก และ พ่อแม่ รวมถึงคนรอบข้างที่บ้านและ ที่โรงเรียน ปัญหาต่างๆ น่าจะเริ่มต้นแก้ไขด้วย ‘ความเข้าใจร่วมกัน’ ซึ่งจริงๆ แล้ว มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตคนเราที่อยู่ด้วยกัน โดยเฉพาะ ในการที่พ่อแม่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการติดเกมของลูกๆ
ที่มา : 1
บทความที่น่าสนใจ
คอมพิวเตอร์กับเด็ก: เร็วแค่ไหนถึงจะเรียกว่าเร็วเกินไป?