“ลูกโป่ง” เป็นของเล่นที่เด็กๆ ส่วนใหญ่ชื่นชอบ เพราะมีหลากสไตล์หลายสีสัน สร้างความตื่นตาตื่นใจ และความสุขให้กับเด็กๆ แต่ในความสุขและน่าตื่นเต้นนั้น ของเล่นแสนสนุกชิ้นนี้อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงอันตรายได้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากการอุดตันทางเดินหายใจจากเศษลูกโป่งแตก หรือลูกโป่งที่ยังไม่เป่า
ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีรายงานการตายของเด็กจากลูกโป่งถึง 110 ราย ในเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 – 2544 ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่ตายอายุน้อยกว่า 6 ขวบ เด็กๆ มักเป่าลูกโป่งเอง โดยในขณะเป่านั้นจังหวะที่เด็กต้องการหายใจเข้าเพื่อเติมลมในปอดนั้นจะต้อง ดูดอากาศเข้าอย่างแรง โดยมีลูกโป่งจ่ออยู่ที่ริมฝีปาก ทำให้เกิดโอกาสที่ลูกโป่งจะถูกดูดเข้าไป ในปากและลงไปในหลอดลม
บางครั้งเด็กนำลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าเข้าปากแล้วอมไว้หรือเคี้ยวเล่น การเผลอของเด็กขณะวิ่งเล่นซุกซน อาจทำให้สำลักลูกโป่งที่อมไว้เข้าปอด เกิดการอุดตันทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้เศษลูกโป่งที่แตกแล้ว ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน คือการนำเศษลูกโป่ง มายืดออกไว้ที่ริมฝีปากและเป่า ในจังหวะหายใจเข้าเศษลูกโป่งอาจจะถูกดูดเข้าไปในปากและสำลักลงหลอดลม หรือการนำเศษลูกโป่งแตกอมเคี้ยวในปาก
การป้องกันอันตรายจากลูกโป่ง
- ไม่อนุญาตให้เด็กๆ อายุน้อยกว่า 8 ขวบเล่นลูกโป่งที่ยังไม่เป่าอย่างเด็ดขาด พยายามแขวนลูกโป่งหรือเก็บลูกโป่งที่ยังไม่เป่าให้สูง อย่าให้เด็กหยิบถึงได้เอง
- ห้ามเด็กอมลูกโป่ง นำลูกโป่งเข้าปาก หรือเป่าลูกโป่ง เพราะเมื่อเด็กหายใจระหว่างเป่าลม หรือพักสูดลมหายใจเพื่อเตรียมเป่าอีกครั้ง อาจกะจังหวะผิดหรือสูดแรงเกินไป ทำให้กลืนลูกโป่งเข้าปากหรือหลอดลมได้
- เก็บเศษลูกโป่งที่แตกทันทีอย่าให้เด็กนำมาเล่น เพราะเด็กอาจหยิบเศษลูกโป่งมาเล่นต่อ เช่น เคี้ยว หรือดึงมาเป่าเล่นใกล้ ๆ ปาก เศษลูกโป่งมีโอกาสเข้าไปติดในหลอดลมหรือปอดแล้วอุดตันจนหายใจเข้าไม่ออก
- อย่าให้เด็กเล่นลูกโป่งใกล้หน้าใกล้ตา เพราะหากเกิดการแตก แรงระเบิดจะเป็นอันตรายต่อใบหน้าและตาได้ โดยเฉพาะพวกลูกโป่งลอยได้ เพราะข้างในบรรจุแก๊สฮีเลียม หรือแก๊สไฮโดรเจน (ติดไฟได้)
ที่สำคัญ ขณะเล่นลูกโป่งผู้ใหญ่ควรอยู่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และในเด็กวัยก่อนเรียน ผู้ใหญ่ต้องเป็นคนเป่าลูกโป่งให้เด็กเท่านั้น
นี่คือเรื่องจริงแสนสะท้านใจที่เริ่มต้นด้วยความยินดีกับชีวิตที่เกิดมา แต่จบท้ายด้วยความโศกเศร้ากับชีวิตที่จากไปชั่วนิรันดร์
ปลายกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ บ้านหลังหนึ่งในรัฐออนแทริโอ ประเทศแคนาดา ไมค์ แมคกลอธลอน จัดปาร์ตี้ฉลองวันเกิดกับครอบครัวและเพื่อน ๆ อย่างสนุกสนาน
หลังปาร์ตี้เลิก เพื่อน ๆ แยกย้ายกลับบ้าน ไมค์ล้างจานชามเสร็จแล้วก็แวะเข้าไปหาลูกสาววัย 8 ขวบในห้องนอน แต่เขากลับเห็นภาพที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ร่างของเด็กหญิงไจน่านอนนิ่งไม่ไหวติงโดยมีลูกโป่งฟอยล์ครอบอยู่บนหัว
เด็กน้อยไม่หายใจแล้ว!
ผู้เป็นพ่อรีบตัดลูกโป่งทิ้งและโทรเรียกรถพยาบาลทันที ระหว่างนั้นก็พยายามปั๊มหัวใจหวังยื้อชีวิตลูกสาวกลับคืนมา แต่อนิจจา ทุกอย่างสายไปแล้ว แม้จะปั๊มอยู่เกือบชั่วโมงแต่ก็ไม่ได้ผล
“เรื่องมันกะทันหันมาก” คุณยายของไจน่าให้สัมภาษณ์นักข่าวเสียงสั่นเครือ “เราทุกคนอยากย้อนเวลากลับไปเป็นเมื่อวานแล้วเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง”
ครอบครัวผู้โชคร้ายจึงอยากเตือนให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดได้เพราะลูกโป่ง
“มันเป็นลูกโป่งฟอยล์ขนาดใหญ่ ตัวเลข 3 ยาวเกือบเมตร” คุณยายเอ่ยถึงเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดกับหลานสาว “เราคิดได้แค่อย่างเดียว คือ หลานปล่อยก๊าซฮีเลียมข้างในออก แล้วเอาลูกโป่งมาครอบหัว”
ผลการสืบสวนและตรวจสอบทางการแพทย์คาดว่า ไจน่าคงอยากเล่นตลกให้น้องชายดู เลยเอาลูกโป่งมาครอบหัว แต่หนูน้อยเกิดสูดแก๊สฮีเลียมเข้าไปในปริมาณมาก และไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ จึงหมดสติและเสียชีวิตลง (ตามรายงานจาก Huffington Post)
ลูกโป่ง : สาเหตุ หลัก ที่ทำให้ เด็กเสียชีวิต เพราะ ขาดอากาศหายใจ
คณะกรรมการ คุ้มครอง ความปลอดภัย ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เคยออกประกาศเตือน ให้ระวัง อันตราย จากลูกโป่ง เพราะเป็นข องเล่นลำดับต้น ๆ ที่ ทำให้เด็ก ขาดอากาศ หายใจ ตาย
อุบัติเหตุ เกี่ยวกับลูกโป่งมักเกิดขึ้น 2 แบบ
1. เด็กเผลอ กลืนลูกโป่งเข้าไป ระหว่าง พยายาม เป่าลูกโป่ง
เมื่อเด็กหายใจ ระหว่างเป่าลม หรือพัก สูดลมหายใจเพื่อเตรียมเป่า อีกครั้ง แต่อาจกะ จังหวะผิด หรือ สูดแรงเกินไป ทำให้ กลืนลูกโป่ง เข้าปากหรือ หลอดลมแทน
2. เศษลูกโป่ง ติดคอ
เมื่อลูกโป่งแตก เด็กบางคนอาจยัง หยิบเศษลูกโป่ง มาเล่นต่อ เช่น เคี้ยว หรือดึงมาเป่าเล่นใกล้ ๆ ปาก เศษลูกโป่งมีโอกาสเข้าไปติดในหลอดลมหรือปอดแล้วอุดตันจนหายใจเข้าไม่ออก
ด้วยเหตุนี้ พ่อแม่และผู้ปกครองที่มีลูกหลานอายุต่ำกว่า 8 ขวบควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นกับลูกโป่งที่ยังไม่ได้เป่าตามลำพัง
- ถ้าลูกโป่งแตก ต้องรีบเก็บเศษลูกโป่งไปทิ้งในที่ที่พ้นมือเด็ก
- ระวังพวกลูกโป่งลอยได้ เพราะข้างในบรรจุแก๊สฮีเลียม (ไม่ติดไฟ) หรือแก๊สไฮโดรเจน (ติดไฟได้)
แม้เป็นสิ่งใกล้ตัวที่ดูเหมือนไม่มีอันตราย แต่อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ยังไม่ประสีประสา ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ!
คุณคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะคะ
ที่มา : sg.theasianparent.com
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
8 ของอันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่คุณอาจคาดไม่ถึง
เตือนภัยคุณแม่! เชื้อโรคอันตรายกับเครื่องเล่นยอดฮิตของเด็ก ๆ
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย