ยูโด (Judo) ศิลปะการต่อสู้แห่งความคิด และพัฒนาจิตใจสำหรับเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยูโด (Judo) ศิลปะและการต่อสู้ในแบบฉบับญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับความสวยงามของท่วงท่า และจิตใจของผู้ที่ฝึก ด้วยเหตุนี้นอกจากความแข็งแรงของร่างกายแล้ว ยังสามารถพัฒนาความคิดความรู้ได้ด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีความเหมาะสมต่อทุกคน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่กำลังหารูปแบบการป้องกันอยู่ในตอนนี้ ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้ข้อมูลของยูโด และประโยชน์ที่จะได้รับกัน

 

ยูโดคืออะไร เหมาะกับเด็กอย่างไร

ยูโด เป็นหนึ่งในศิลปะการป้องกันตัวจากประเทศญี่ปุ่น โดยถือเป็นกีฬาด้วยเช่นกัน หากใครนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงกีฬาที่เน้นจับทุ่ม และการแต่งกายคล้ายกับเทควันโดนั่นเอง โดยจุดประสงค์หลัก ๆ ของการฝึกยูโด คือ การป้องกันตัวด้วยมือเปล่า จากคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธ แน่นอนว่าสามารถฝึกได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ นอกจากนี้การให้ลูกเรียนรู้ศิลปะการป้องกันตัวไว้บ้าง สามารถส่งผลดีต่อเด็กได้ในอนาคต ไม่เพียงแค่นั้นประเทศญี่ปุ่นมีความพิถีพิถันในการทำสิ่งต่าง ๆ จุดเด่นตรงนี้เองก็ได้รับการถ่ายทอดมาสู่ยูโดเช่นกัน

 

วิดีโอจาก : IMAC Dojo

 

รูปแบบทั้ง 3 แบบของยูโด

ยูโดนั้นไม่ได้มีความโดดเด่น หรือความสำคัญเพียงแค่การจับทุ่มเท่านั้น แต่ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ในการแข่งขัน หรือฝึกฝนในแต่ละครั้งด้วย ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  • นาเงวาซา (Nagewaza) : เน้นการจับทุ่มเป็นหลัก มีท่าทุ่มพื้นฐานอยู่ทั้งหมดถึง 12 ท่า โดยจะแยกประเภทยิบย่อยออกตามอวัยวะที่ใช้ในการทุ่มได้แก่ การทุ่มด้วยมือ, สะโพก, สีข้าง, หลัง, ไหล่ และการปัดขา
  • กะตะเมวาซา (Katamawaza) : เป็นเทคนิคการกอดรัดมีจุดประสงค์เพื่อให้หายใจไม่ออก ด้วยการจับยึด และการล็อกข้อต่อ ใช้ได้ขณะอยู่บนพื้น โดยหากคู่ต่อสู้ทนไม่ไหวก็สามารถยอมแพ้ได้ โดยเทคนิคจะถูกแบ่งออกอีก 3 ประเภท ได้แก่ โอไซโคมิวาซา (Osaekomiwaza), ชิเมวาซา (Shimewaza), และคันเซทสึวาซา (Kansetsuwaza)
  • อาเตมิวาซา (Atemiwaza) : เทคนิคการชก, ทุบ และถีบ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคู่ต่อสู้ให้เกิดอาการบาดเจ็บ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย เป้าหมายในการฝึกเพื่อป้องกันตัว จะไม่มีการจัดการแข่งขันใด ๆ เกี่ยวกับเทคนิคนี้เพื่อความปลอดภัยของนักกีฬา

 

สำหรับความชำนาญในกีฬาชนิดนี้ จะถูกแบ่งออกเป็นสายด้วยเช่นกัน คือ ระดับคิว (Kyu) คือนักเรียนระดับก่อนสายดำ และระดับดั้ง (Dan) ที่ถือว่ามีความสามารถสูงแล้ว โดยการแบ่งสายจะใช้สีต่าง ๆ เช่น ขาว, เขียว,ฟ้า, น้ำตาล, ดำ และแดง แต่หลักการใช้สีไหนทดแทนระดับไหนนั้นไม่สามารถจำแนกได้ตายตัว เนื่องจากขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ ว่าจะกำหนดแบบไหน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประวัติของยูโด

เกิดขึ้นในช่วงปี 1871 ของประเทศญี่ปุ่น โดย "คาโน จิโกโร่" อาจารย์สอนยิวยิตสู โดยชายผู้นี้มีความตั้งใจที่จะคิดค้นศิลปะการป้องกัน ที่สามารถให้ได้มากกว่าผลแพ้ชนะจากการต่อสู้ เขาต้องการเสริมคุณค่าทางจิตใจ และเสริมบุคลิกภาพของผู้ฝึกฝนให้มากยิ่งขึ้น คาโนจึงตัดสินใจนำจุดเด่นของยิวยิตสูในแต่ละสำนักในเวลานั้นมาพัฒนาต่อยอด จนกลายเป็น ยูโด ในที่สุด เมื่อผู้คนเริ่มรู้จักกันมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศในปี 1912

 

สำหรับในประเทศไทยนั้นใน พ.ศ. 2450 ได้มีคนญี่ปุ่นเข้ามาทำงานที่บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ทำให้เริ่มมีคนรู้จักศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายช่วง พ.ศ. 2455 และต่อยอดมาจนถึงในปัจจุบันอย่างที่เราได้เห็นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : เทควันโด กีฬาสุดฮิตดีต่อลูกอย่างไร? เรียนเทควันโดได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากยูโด

ประโยชน์ข้อแรกที่เด็กจะได้รับ แน่นอนว่าต้องเป็นการใช้กล้ามเนื้อ ส่งเสริมสุขภาพของลูก ๆ ให้แข็งแรงเติบโตได้สมวัย นอกจากข้อดีในจุดนี้แล้ว การฝึก ยูโด ยังมีข้อดีอย่างมากในแง่ของการพัฒนาด้านความคิด และส่งผลต่อจิตใจเด็ก ๆ ได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ที่น่าสนใจ ได้แก่

 

  • มีสมาธิ และควบคุมอารมณ์ : ยูโด เป็นการต่อสู้ที่ต้องใช้ความตั้งใจอย่างมาก ในแต่ละการตัดสินใจสามารถส่งผลแพ้-ชนะได้ทันที ดังนั้นการจะทำอะไรต้องคิดไตร่ตรอง มีสมาธิ และคอยสังเกตสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เพื่อให้เกิดการพลิกแพลงจากเสียเปรียบเป็นได้เปรียบอีกครั้ง นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นศิลปะการต่อสู้ คู่ซ้อมก็ต้องเป็นบุคคลจริง ๆ ในจุดนี้จะสามารถทำให้เด็กสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากต้องท่องไว้เสมอว่าจะแพ้ หรือชนะนี่ก็เป็นเพียงการฝึกซ้อมเท่านั้น
  • ความเชื่อมั่นในตนเอง : ไม่ว่าจะฝึกการป้องกันในรูปแบบไหนก็ตาม เด็ก ๆ จะต้องมีความมั่นใจในตนเอง เพื่อให้มีความกล้า และมั่นใจในการฝึกฝน หากไร้ความมั่นใจจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าหากเด็กได้ฝึก ยูโด ก็จะได้ฝึกความมั่นใจด้วยในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็ก ทั้งในตอนนี้ และในอนาคตของเขา
  • ยอมรับในความผิดพลาด : การฝึก หรือการแข่ง แน่นอนว่าต้องมีผู้แพ้-ผู้ชนะ จากการต่อสู้ หากตนเองมีความผิดพลาดในด้านต่าง ๆ หรือตัดสินใจไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้เด็กได้รับความพ่ายแพ้ ในจุดนี้เองคงทำอะไรไม่ได้ นอกจากการยอมรับกับสิ่งที่ตนเองทำ ตลอดทั้งชีวิตคงไม่มีใครชนะมาทั้งเส้นทาง ดังนั้นความพ่ายแพ้ ความล้มเหลว และความผิดหวังสามารถเกิดขึ้นได้มากกว่า 1 ครั้ง หากเด็กได้รับรู้ในจุดนี้ และสามารถรับมือลุกขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง ถือเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมที่เด็ก ๆ จะได้รับ
  • การป้องกันตัวในอนาคต : การป้องกันตัวนั้นมีหลายรูปแบบ สำหรับยูโดก็คล้ายกับมวย หรือเทควันโด ที่ได้รับความนิยมพอสมควร ในส่วนที่ว่าคล้ายนี้คือการฝึกนั้นอาจไม่ได้ผลในทันที อาจยังไม่สามารถนำไปใช้จริงได้ แน่นอนว่าต้องฝึกจนกว่าจะมีความชำนาญมากขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถมั่นใจได้ ในอนาคตเมื่อเด็กได้เรียนรู้มากขึ้น ประกอบกับร่างกายที่แข็งแรงขึ้นศิลปะการป้องกันชนิดนี้จะมีประโยชน์ต่อลูกแน่นอน

 

การฝึกยูโดนั้นมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาร่างกายไปพร้อม ๆ กับจิตใจ และพื้นฐานการนำไปใช้อย่างมีประโยชน์ ผู้ปกครองจึงต้องดูแลลูกของตน และมั่นใจว่าเด็ก ๆ ไม่ได้ฝึกแล้วนำไปใช้ในทางที่ผิดแต่อย่างใด

 

บทความที่น่าสนใจ

ฝึกทำ "เงามือ" ศิลปะที่กำลังจางหาย แต่มีเสน่ห์ต่อเด็ก

4 เมนูเส้นบะหมี่ หอม อร่อย มีประโยชน์สำหรับเด็ก

แบบฝึกหัดฟรี !! คัดลายมือ ภาษาอังกฤษ ด้วยชุดคำศัพท์สำหรับลูกน้อย

 

ที่มาข้อมูล : marumura ,2 ,wikipedia

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon