โศกนาฏกรรมของหนูน้อย Joel กับการเปลี่ยนวิธีนั่งคาร์ซีทของเด็ก

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่ยังจับลูกนั่งคาร์ซีท (Car seat) โดยหันหน้าทางเดียวกับคนขับควรอ่านเรื่องนี้ค่ะ โศกนาฏกรรมของหนูน้อย Joel ที่เปลี่ยนวิธีนั่ง Car seat ของเด็กและทารกไปตลอดกาล

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โศกนาฏกรรมของหนูน้อย Joel กับการเปลี่ยนวิธีให้เด็กเล็กนั่งคาร์ซีท

จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงวิธีนั่งคาร์ซีทของเด็กและทารก เริ่มต้นขึ้น เมื่อ Joel เด็กน้อยวัย 18 เดือนกับแม่ของเขาประสบอุบัติเหตุรถยนต์ในปี 2551 ณ ตอนนั้นกุมารแพทย์ประจำตัวของ Joel ได้บอกว่าสามารถให้หนูน้อยนั่งบนคาร์ซีทโดยหันหน้าทางเดียวกับคนขับได้ และในตอนนั้นการให้ลูกนั่งคาร์ซีทหันไปทางเดียวกับคนขับดูเหมือนเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ทำกันมากมาย

แม้แต่องค์กรกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ยังได้ระบุไว้ ณ ตอนนั้นเช่นกันว่า “เด็กอายุ 12 เดือน หรือ เด็กที่หนักมากกว่า 20 ปอนด์ขึ้นไป สามารถใช้คาร์ซีทแบบ Front Facing (หันหน้าทางเดียวกับคนขับ) ได้”

เมื่อนั่งบนรถยนต์ คุณแม่ของ Joel ได้ให้ลูกชายนั่งคาร์ซีทแบบหันไปทางเดียวกับคนขับด้วยเช่นกัน ในวันที่เกิดอุบัติเหตุ รถยนต์ชนกับต้นไม้เข้าอย่างรุนแรง จนบริเวณศีรษะและคอของ Joel ได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก แรงชนทำให้กระดูกสันหลังของ Joel แยกออกจากกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสที่คอของหนูน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งที่คุณแม่ของ Joel ทำตามคำแนะนำของกุมารแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยให้ลูกนั่งคาร์ซีทแบบหันหน้าทางเดียวกับคนขับ แต่ยังเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงกับเด็กน้อยได้ คุณตาของ Joel จึงตัดสินใจศึกษาเรื่องนี้อย่างหนัก และทำให้เขาพบว่า

• น้ำหนัก 25% ของน้ำหนักตัวทั้งหมดของเด็กเล็ก จะอยู่ที่ศีรษะ (ขณะที่ผู้ใหญ่ศีรษะจะหนักเพียง 6% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด) ทำให้คอของเด็กจะต้องรับภาระหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการติดตั้งคาร์ซีทแบบ Front Facing หรือหันไปทางเดียวกับคนขับ จะทำให้เมื่อเกิดการชนด้านหน้ารถยนต์ ร่างของเด็กจะถูกรั้งให้ติดกับเบาะไว้โดยคาร์ซีท แต่ศรีษะเด็กซึ่งมีน้ำหนักถึง 25% ของร่างกาย จะไม่มีอะไรฉุดรั้งไว้ โมเมนตัมของรถจะยังคงฉุดให้ศรีษะพุ่งต่อไปยังข้างหน้า และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้กระดูกเคลื่อนอย่างรุนแรง หรือคอหักได้ทันที (สูตรโมเมนตัม P = มวล x ความเร็ว)
• แค่ศีรษะเคลื่อนอย่างรุนแรงในเพียง 1/4 นิ้ว อาจทำให้เด็กเป็นอัมพาต หรือ เสียชีวิตได้
• 75% ของเด็กที่นั่ง Car seat แบบ Rear Facing (หันหลังให้คนขับ) จะมีโอกาสได้รับบาดเจ็บน้อยว่าการนั่งแบบ Front Facing (วิจัยและตีพิมพ์โดย AAP)
• นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก และ ฟินแลนด์ แนะนำให้ติดตั้ง Car seat แบบ Rear Facing และกำหนดให้เด็กต้องนั่งจนกว่าจะอายุ 4 ปี
(ขอบคุณและเนื้อหาข้อมูลทั้งหมดในส่วนนี้จาก https://rugdek.com/rear-facing-car-seat/)

ชมวิดีโอที่คุณตาของ Joel ทำไว้ที่หน้าถัดไป >>>

คุณตาของ Joel ได้ทำการเรียกร้องไปหลายครั้ง จนในปัจจุบัน องค์กรกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ได้เปลี่ยนคำแนะนำการใช้ Car seat และตีพิมพ์ผลการศึกษาเรื่อง Car seat กับ ความปลอดภัยของเด็กฉบับใหม่ในหัวข้อ “Car seats: นั่งหันหลังคนละทางกับคนขับช่วยกันภัยได้ดีที่สุด” ขึ้นมา โดยในผลการศึกษาดังกล่าว มีใจความโดยสรุปดังนี้
• การใช้ Car seat แบบนั่งหันหลังคนละทางกับคนขับ จะทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่า หรือได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าการใช้ Car seat แบบนั่งหันไปทางเดียวกับคนขับมากถึง 75%
• เนื่องจากการนั่ง Car seat แบบนั่งหันหลังคนละทางกับคนขับจะช่วยป้องกันส่วนศีรษะ คอ และ กระดูกสันหลังของเด็กได้ดีกว่าเมื่อเกิดการชน เนื่องจากการนั่งหันหลังคนละทางกับคนขับ จะช่วยกระจายแรงชนออกไปได้ทั้งร่างกาย
• นอกจากนี้เด็กหรือทารกควรนั่ง Car seat แบบนั่งหันหลังคนละทางกับคนขับไปจนถึงอายุ 2 ปีด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กรณีหนูน้อย Joel นั้นนับว่าโชคดี เพราะเขาอาการดีขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว หลังจากรับการรักษาและฟื้นฟูคอกับช่วงแขนไป ส่วนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่สนใจเรื่อง Car seat กับ ความปลอดภัยของเด็ก เพิ่มเติม ก็สามารถรับชมวิดิโอที่คุณตาของ Joel ทำขึ้นมาได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team