โรคดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง โรคอันตรายที่มักถูกหลายคนมองข้าม!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคดีซ่าน ที่เมื่อได้ยินแล้ว หลายคนคงจะนึกถึงอาการ ตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่มีลักษณะตาเหลือง ตัวเหลือง แล้วจะต้องเป็นโรคดีซ่านเสมอไป มาทำความรู้จัก โรคดีซ่าน โรคอันตรายที่หลายคนมักมองข้าม

 

โรคดีซ่านคืออะไร?

โรคดีซ่าน (Jaundice) เป็นโรคที่มีอาการป่วยที่เยื่อบุตาขาว ผิวหนังของผู้ป่วยจะกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ภาวะตัวเหลืองตาเหลือง” มีสาเหตุมาจากปริมาณสารบิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ที่อยู่ในกระแสเลือด มีมากเกินไป อาจเกิดจากสาเหตุของการเจ็บป่วยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว มักเกิดจากระบบการทำงานของตับ น้ำดี และเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่เกิดการทำงานผิดปกติ

 

โรคดีซ่านเกิดจากอะไร?

ดีซ่านเกิดจากความผิดปกติของสารบิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารสีเหลือง ที่ทำให้เกิดอาการตาเหลือง ตัวเหลือง โดยปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีการสลายตัว และมีการเกิดเซลล์ใหม่มาแทนที่ สารบิลิรูบินนี้ มีหน้าที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเก่า เกิดการสลายตัว โดยจะถูกขับออกไปตามท่อน้ำดี และกระแสเลือด ลำเลียงไปตามอวัยวะต่าง ๆ ทำให้โรคดีซ่าน สามารถพบความผิดปกติของสีของของเสีย ที่ถูกขับออกจากร่างกาย ทั้งปัสสาวะ และอุจจาระ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุขอโรคดีซ่าน มักพบบ่อยในความผิดปกติของระบบน้ำดี โรคตับอักเสบ โรคไข้ทัยฟอยด์ โรคตับแข็งจากพิษสุราเรื้อรัง โรคมะเร็งตับ โรคมาลาเรีย และโรคเลือดต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน

  • โรคติดเชื้อในตับ เช่น โรคฉี่หนู โรคไวรัสตับอักเสบ เอ บี และ ซี
  • โรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรคไข้มาลาเรีย ที่มีสาเหตุมาจากเม็ดเลือดแดงแตก
  • โรคตับอักเสบจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค ยาปฏิชีวนะบางชนิด
  • โรคตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตนเอง
  • โรคจากความผิดปกติของน้ำดี เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับอ่อน เป็นต้น
  • โรคทางเลือดบางชนิด เช่น โรค G6PD และ ธาลัสซีเมีย

 

บางกรณีพบว่าดีซ่านในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากการพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และอวัยวะของทารก อาจยังไม่เติบโตแข็งแรงได้เต็มที่ อาการของดีซ่านในทารก อาจหายไปภายในสองสัปดาห์ แต่หากมีอาการนานเกินไป ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทันที

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคดีซ่านมีกี่ชนิด?

โรคดีซ่าน สามารถแบ่งตามตำแหน่งของการเกิด ดังนี้

  • ดีซ่านที่เกิดก่อนการเข้าสู่ตับ

เป็นภาวะการเกิดดีซ่าน ก่อนสารบิลิรูบินจะถูกลำเลียงไปตามกระแสเลือด ไปที่ตับ เช่น เกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด อย่างโรคไข้จับสั่น โรคโลหิตจางชนิดต่าง ๆ

  • ดีซ่านที่เกิดในตับ

เป็นภาวะดีซ่านที่เกิดขึ้นภายในตับ เกิดจากความผิดปกติที่เกิดจากการเสียหายภายในตับ เช่น โรคตับแข็ง มะเร็งตับ ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำให้ตับไม่สามารถสังเคราะห์สารบิบิรูบิน แล้วขับออกได้ตามปกติ

  • ดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ

เป็นภาวะดีซ่านที่เกิดจากการ ไม่สามารถลำเลียงสารบิลิรูบินไปสู่ลำไส้ได้ เช่น มีนิ่ว หรือ เนื้องอก ในอวัยวะที่เกี่ยวข้อง หรือ มะเร็งตับอ่อน ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคดีซ่านมีอาการอย่างไร?

โรคดีซ่าน ที่นอกจากจะสังเกตได้จากอาการตาเหลือง ตัวเหลือง แล้วยังสามารถสังเกตได้จากอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ดวงตาและผิวหนังมีสีเหลือง
  • อุจจาระมีสีซีดลง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดช่วงชายโครงด้านขวา
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ท้องบวม ขาบวม
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • มีอาการคันตามตัว 

 

การวินิจฉัยโรคดีซ่าน

1. การตรวจเลือด

เป็นการตรวจการทำงานของตับ ด้วยการตรวจเลือด เพื่อทำการตรวจวัดระดับเอนไซม์ และโปรตีนในเลือด ซึ่งตับที่ถูกทำลาย จะเกิดความเสียหาย และจะปล่อยเอนไซม์ เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้โปรตีนในเลือดลดลง

 

2. การตรวจปัสสาวะ

เป็นการตรวจเพื่อวัดระดับ สารยูโรบิลิโนเจน ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่ไปขัดขวางการทำงานของสารบิลิรูบินในระบบย่อยอาหาร ซึ่งปริมาณที่มากเกินไป จะแสดงถึงภาวะการเกิดโรคดีซ่าน และการวัดสารบิลิรูบิน จะพบในปัสสาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเท่านั้น

 

3. การฉายภาพรังสี

เป็นการตรวจหาดีซ่าน ที่มีข้อสงสัยว่าเกิดจากตับ หรือ เกิดจากการอุดกั้นของทางเดินน้ำดี ทำให้เห็นภาพที่ผิดปกติภายในตับ หรือ ระบบน้ำดี ผ่านการฉายภาพรังสี ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์ การทำซีทีสแกน และการทำเอ็มอาร์ไอ

 

4. การตรวจชิ้นเนื้อตับ

วิธีนี้จะเป็นการตรวจหาโรค ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับแข็ง หรือโรคมะเร็งตับ โดยมักจะใช้การเอาเข็มเจาะ เอาชิ้นเนื้อที่ตับไปในตรวจใจห้องแล็บ เพื่อหาความผิดปกติในเซลล์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. การส่องกล้องผ่านทางปาก

เป็นการส่องกล้อง เพื่อตรวจบริเวณท่อน้ำดีของตับ โดยการฉีดสี และเอกซ์เรย์ผ่านกล้อง

การรักษาโรคดีซ่าน

การรักษาโรคดีซ่าน แพทย์มักทำการรักษาตามโรคที่เป็นต้นเหตุ เพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดโรค รวมถึงอันตรายแทรกซ้อน ซึ่งจะพิจารณาตามชนิดที่เป็นลักษณะของการเกิด ดังนี้

  • ดีซ่านที่เกิดก่อนการเข้าสู่ตับ

การรักษาโรคดีซ่านที่เกิดก่อนเข้าสู่ตับ จะเน้นการป้องกัน ไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิดการสลายตัวมากเกินไป เพื่อลดปริมาณสารบิลิรูบินในเลือด ซึ่งอาจต้องรักษาด้วยการให้ผู้ป่วยเติมเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง และให้ยารักษาแก่ผู้ป่วยที่เลือดมีภาวะติดเชื้อ เช่น โรคมาลาเรีย

 

  • ดีซ่านที่เกิดขึ้นภายในตับ

การรักษาดีซ่านที่เกิดขึ้นในตับ จะเป็นการเน้นการรักษา ฟื้นฟู เซลล์ตับที่ถูกทำลายไป และป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ในรายที่ป่วยจากการติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องรักษาด้วยการใช้ยา ส่วนในรายที่ตับมีความเสียหายอย่างรุนแรง อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ปลูกถ่ายตับใหม่ ส่วนสาเหตุอื่น ที่มีผลต่อตับ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถรักษา และป้องกันได้ด้วยการแก้ไขสาเหตุต้นตอ คือ การลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

 

  • ดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ

โรคดีซ่านที่เกิดหลังออกจากตับ มักมีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดแก้ไขระบบทางเดินของน้ำดี ถุงน้ำดี และตับอ่อน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการอุดตัน ของท่อน้ำดี

 

วิธีการป้องกันโรคดีซ่าน

  • ดูแลสุขอนามัยในการรับประทาน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ ซึ่งเป็นสาเหตุของพยาธิใบไม้ในตับ สาเหตุหนึ่งของมะเร็งทางเดินน้ำดี
  • รักษาความสะอาดอยู่เสมอ
  • ลด หรือ เลิก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ชา 
  • เลิกสูบบุหรี่ และยาสูบอื่น ๆ
  • ควบคุมน้ำหนักตัว และระดับไขมันในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในทางเดินน้ำดี
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบ
  • ระวังอย่าปล่อยให้ตนเองเครียดจนเกินไป

 

โรคดีซ่าน ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวหากรู้เท่าทัน ดังนั้นใครที่เป็นกลุ่มเสี่ยง มีพฤติกรรมเสี่ยง และกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคหรือไม่ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

 

ที่มาข้อมูล : pobpad siamhealth

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง เกิดจากอะไร? อาการนี้ที่แม่ต้องรู้

ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง!

บทความโดย

Waristha Chaithongdee