เม็ดขนุนต้ม อาหารเพิ่มน้ำนม แม่ให้นมลองกินกันดู ช่วยเพิ่มน้ำนมไหลปี๊ด ๆ แก้ปัญหาแม่มีน้ำนมน้อย ให้ลูกได้กินนมแม่เต็ม ๆ
เม็ดขนุนต้ม อาหารเพิ่มน้ำนม จริงหรือ ? เรามาทำความรู้จักอาหารนี้กัน
สมัยก่อนแม่คนไหนเคยกินเมล็ดขนุนต้มบ้างคะ จัดได้ว่าเป็นเมนูวัยเด็ก ของกินเล่นขบเคี้ยวแสนอร่อยที่ทำได้ง่าย ๆ มีประโยชน์ ไม่ต้องไปซื้อขนมถุงให้เปลือง มาวันนี้ จากของกินเล่นอร่อย ๆ ก็กลายมาเป็น อาหารเพิ่มน้ำนม ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ให้มากขึ้น แถมยังทำเมนูต่าง ๆ ได้หลากหลายอีกด้วยนะ
เมล็ดขนุนต้มช่วยเพิ่มน้ำนม
ประโยชน์ของ เมล็ดขนุนต้ม หรือ เม็ดขนุนต้ม
เมล็ดขนุนต้ม หรือ เม็ดขนุนต้ม อาหารเพิ่มน้ำนม เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการเพิ่มน้ำนม เอามาต้มใส่เกลือนิดหน่อย ทานเล่นเปล่า ๆ หรือจะใส่น้ำขิง ทานแบบขนุนต้มน้ำขิง เพิ่มพลังการผลิตน้ำนม ก็เป็นไอเดียที่ดี ขอแนะนำให้แม่ให้นม เอาเมล็ดขนุนต้มกินเป็นขนมทุกวัน วันละ 1 ครั้ง 7-10 วัน นะคะ
สรรพคุณของ เมล็ดขนุนต้ม หรือ เม็ดขนุนต้ม : ช่วยบำรุงน้ำนม ทำให้น้ำนมมีมาก บำรุงประสาท เพราะมีคุณค่าทางสารอาหาร ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินบีหนึ่ง ฟอสฟอรัส เหล็ก
ที่มา : https://www.facebook.com/Thaibf
เม็ดขนุนอาหารที่มีแคลอรี่สูง
เพจเคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว ได้โพสต์ถึงเม็ดขนุนต้ม ว่า เม็ดขนุนนั้นจัดว่าเป็นอาหารที่มีแคลอรี่สูงตามแบบฉบับของอาหารคาร์บ แป้งส่วนใหญ่ในเม็ดขนุนต้มนั้นเป็นอะไมโลสและมีเส้นใยและโปรตีนสูง (10-12%) จึงจัดว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชั้นดี ในเม็ดขนุนยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ (antioxidants) หลายๆชนิดที่เป็นสารประกอบพอลิฟีนอล (Polyphenolic compounds) อยู่ด้วย เม็ดขนุนต้มนั้นสามารถทำให้ความอิ่มค่อนข้างยาวนาน เนื่องจากว่ามีค่าดัชนีน้ำตาลค่อนข้างต่ำ (Low glycemic index) จนบางครั้งเรียกว่าเทียบเท่ากับธัญพืชชั้นดีเลยทีเดียว
วิธีปรุงเม็ดขนุน
- เม็ดขนุนนั้นได้จากการปลิ้นเมล็ดจากเนื้อขนุนแล้วก็นำมาต้มกับน้ำประมาณ 30-45 นาทีก่อนที่จะเติมเกลือละลายลงไปแช่สักพักเพื่อให้ความเค็มของเกลือนั้นกำซาบเข้าไป ส่งผลทำให้มีรสชาติเค็มปะแล่ม ๆ
- การต้มเม็ดขนุนนั้น ไม่ควรเติมเกลือไปแต่แรกตั้งแต่การต้มใหม่ ๆ เนื่องจากว่า จะทำให้เสียเวลาต้มกันยาวนานก่อนที่เค้าจะสุกและมีผิวสัมผัสที่ค่อนข้างร่วนได้
- พอต้มเสร็จแล้วก็ควรผึ่งแห้งทั้งร้อน ๆ เพื่อให้เปลือกนั้นแห้งและน้ำระเหยหนีจนเปลือกร่อนเสียก่อน ไม่ควรนำมาแช่น้ำปกติหลังต้ม เพราะ จะทำให้เปลือกที่หุ้มเม็ดขนุนยากจะแกะออก
ที่มา : https://www.facebook.com/textile.phys.and.chem
หากคุณแม่เบื่อที่จะกินเม็ดขนุนต้ม หรือเมล็ดขนุนต้ม แบบเดิม ๆ ก็สามารถนำไปทำอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ผัดเผ็ดใส่เม็ดขนุน แกงเม็ดขนุน พะแนงเม็ดขนุน หรือทำเป็นของหวานอย่าง แกงบวดเม็ดขนุน และเม็ดขนุนเชื่อม สำหรับสูตรอาหารจากเม็ดขนุนหรือเมล็ดขนุน แม่ ๆ ลองหาในอินเตอร์เน็ตได้เลยค่ะ มีเพียบ รับรองว่า มีเมนูเม็ดขนุนใหม่ ๆ ไว้กินเพิ่มน้ำนมอย่างแน่นอน
นอกจากเมล็ดขนุนแล้ว เรามาดูสรรพคุณในส่วนอื่น ๆ ของขนุนกัน
สรรพคุณของขนุน
- ช่วยบำรุงโลหิต ทำให้เลือดเย็น (แก่นขนุนหนังหรือขนุนละมุด, ราก, แก่น)
- ขนุนมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง ชูหัวใจให้สดชื่น (เนื้อหุ้มเมล็ดสุก, เนื้อในเมล็ด, ผลสุก, เมล็ด)
- ช่วยบำรุงร่างกาย (เมล็ด)
- ขนุนหนังเป็นผลไม้ที่มีวิตามินอีสูงติด 10 อันดับแรกของผลไม้ และยังมีวิตามินซีสูงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ผลสุก)
- ขนุนมีประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยมีผลงานวิจัยของประเทศศรีลังกา ที่ได้ทำการทดลองในผู้ป่วยเบาหวานและในหนูทดลอง ซึ่งผลการทดลองพบว่า สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลการทดลองยังได้ทำการเปรียบเทียบกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวาน ซึ่งก็คือยา Tolbutamide และได้ผลสรุปว่าสารสกัดจากขนุนสามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายา Tolbutamide ภายในเวลา 5 ชม. สำหรับวิธีนำมาปรุงเป็นยาก็ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้ใบขนุนแก่ 5-10 ใบ นำมาต้มในน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนานประมาณ 15 นาที แล้วนำมาดื่มก่อนอาหารเช้า-เย็น (ใบ)
- ช่วยระงับประสาท (ใบ)
- ช่วยแก้โรคลมชัก (ใบ)
- ใบขนุนละมุด นำไปเผาให้เป็นถ่านผสมกับน้ำปูนใสใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู และเป็นหูน้ำหนวก (ใบขนุนละมุด)
- ใบขนุนใช้ต้มดื่มช่วยแก้อาการท้องเสียได้ (ใบ, ราก)
- เมล็ดช่วยแก้อาการปวดท้อง (เมล็ดขนุน)
- ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เนื้อหุ้มเมล็ด, ผลสุก)
- ช่วยสมานลำไส้ (แก่น)
- เม็ดขนุน มีสารพรีไบโอติก หรือสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่ทนต่อการย่อยของกระเพาะอาหาร และการดูดซึมของลำไส้เล็กตอนบน ซึ่งช่วยดูดซึมแร่ธาตุอย่างแคลเซียม เหล็ก สร้างสารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยไม่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรคแต่อย่างใด (เมล็ด)
- ไส้ในของขนุนละมุด ใช้รับประทานช่วยแก้อาการตกเลือดในทวารเบาของสตรีที่มีมากไปให้หยุดได้ (ไส้ในขนุน)
- แก่นและเนื้อไม้ของต้นขนุน นำมาใช้รับประทานช่วยแก้กามโรค (แก่นและเนื้อไม้)
- ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
- ใช้แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ใบ, ราก)
- ช่วยรักษาแผลมีหนองเรื้อรัง (ยาง, ใบ)
- ช่วยสมานแผล (แก่น)
- ใช้ทาแผลบวมอักเสบ (ยาง)
- ช่วยแก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่เกิดจากแผลมีหนองที่ผิวหนัง (ยาง)
- ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่วยในการจับกลุ่มอสุจิ เม็ดเลือดแดง แบคทีเรีย สารในของเหลวของร่างกาย ช่วยยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว
ที่มา : medthai
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ