ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือลูกเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?

ช่วงเวลานี้หลาย ๆ ประเทศพากันรณรงค์ไม่ให้มีการแกล้งเพื่อนในโรงเรียน หลังจากที่มีข่าวมากมายว่าเด็กที่โดนแกล้งเครียดจนส่งผลต่อสุขภาพจิตจนมีบางคนถึงขั้นฆ่าตัวตาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือลูกเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?

ลูกโดนเพื่อนแกล้ง หรือลูกเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?

ลูกโดนแกล้งหรือเป็นคนชอบแกล้งเพื่อนรึเปล่า?

บทความนี้อยากให้พ่อแม่ของเด็กทั้ง 2 ฝ่ายได้อ่าน ไม่ใช่เพียงแค่พ่อแม่ของเด็กที่โดนแกล้งว่าจะช่วยลูกอย่างไร แต่รวมทั้งพ่อแม่ของเด็กที่ชอบแกล้งเพื่อน เพื่อจะได้ปรับพฤติกรรมของลูกให้ดีขึ้น เราไม่ต้องการให้เด็กคนไหนโตขึ้นไปเป็นคนเห็นแก่ตัวชอบแกล้งคนอื่น ไม่ว่าจะในโรงเรียน สถานที่ทำงาน หรือที่ใดก็ตาม

ทำไมต้องรณรงค์ไม่ให้เกิดการแกล้งกันล่ะ?

หลายคนอาจจะคิดว่าเด็กในโรงเรียนก็มีการแกล้งกันมาแต่ไหนแต่ไร ตอนที่เราเป็นนักเรียนก็มีกลุ่มเด็กที่ชอบแกล้งคนอื่น และมีเด็กที่โดนแกล้งเป็นธรรมดา แต่สำหรับเด็กสมัยนี้ การแกล้งไม่ได้กระทำโดยเด็กเพียงคนเดียวหรือ 2-3 คน และไม่ใช่เพียงแค่การพูดล้อ ชกต่อย รีดไถเงินเท่านั้น เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปไกล เด็กสมัยนี้มีการแกล้งกันทางสังคมออนไลน์ ซึ่งหลาย ๆ ครั้ง เราไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ไม่รู้ว่าใครเอาข้อความมาลงประจานล้อเลียนเพื่อน และการแพร่กระจายของคำด่าทอหรือการล้อเพื่อนก็ไปไกลได้อย่างรวดเร็ว ตอนนี้คนที่แกล้งเพื่อนไม่ได้มีแค่คนเดียวหรือกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่อาจจะเป็นเด็กทั้งโรงเรียน แน่นอนเด็กที่โดนแกล้งจะทุกข์ทรมานกว่าเด็กที่โดนแกล้งสมัยก่อนมาก แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแกล้งกันด้วยวิธีไหน พฤติกรรมนี้จำเป็นต้องหยุด!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทำไมต้องรณรงค์ไม่ให้เกิดการแกล้งกันล่ะ?

ทำไมเด็กถึงแกล้งเพื่อน?

– ไม่ชอบเพื่อนคนนั้น

– รู้สึกว่าการแกล้งเพื่อนคือความเพลิดเพลิน – ในหลาย ๆ วัฒนธรรม คนอาจหัวเราะจากการเห็นความเจ็บปวดของคนอื่น เช่น ในการ์ตูน Tom and Jerry เมื่อเจ้าเหมียวโดนหนูฟาดเข้าที่หน้า หลายคนก็หัวเราะเห็นเป็นเรื่องตลก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ไม่เคยใส่ใจในความรู้สึกของคนอื่น – เรื่องนี้พ่อแม่ต้องช่วยสอน

– ขาดความรักความอบอุ่นจากคนในครอบครัว จึงแสดงพฤติกรรมรุนแรงออกมา

– โดนผู้ใหญ่หรือคนอื่น ๆ แกล้งมาก่อน ทำให้เป็นคนเก็บกด ต้องไปแกล้งคนอื่นที่อ่อนแอกว่า

พ่อแม่จำเป็นต้องสังเกตลูกของท่านเองว่ามีนิสัยชอบเบ่งใส่เพื่อนหรือไม่ เด็กหลายคนทำตัวแตกต่างกันมากเวลาอยู่ที่บ้านและที่โรงเรียน บางคนอาจจะเกเรมาก แกล้งเพื่อนตลอดเมื่ออยู่ที่โรงเรียน แต่พอกลับบ้านมาเป็นเด็กเรียบร้อย หรือบางคนก็อาจจะตรงกันข้าม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรามีวิดีโอที่อยากให้ดู ถึงแม้จะเป็นภาษาอังกฤษ แต่คิดว่าน่าจะเข้าใจได้ไม่ยาก

คุณควร

– ทำความรู้จักกับเพื่อน ๆ ของลูกบ้าง ให้ลูกชวนเพื่อนมาบ้านบ้าง เพื่อคอยสังเกตอาการของลูกเวลาอยู่กับเพื่อน

– คุยกับครูที่โรงเรียนอยู่เสมอ

– คอยให้ความรักความเอาใจใส่ลูก ไม่ให้มีใครแกล้งลูกหรือใช้ความรุนแรงกับเด็ก เพราะเด็กจะไปรุนแรงใส่คนอื่นต่อ

– สังเกตพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของลูก ว่ามีการไปลงข้อความล้อเลียนหรือด่าทอเพื่อนคนอื่นหรือไม่

– อย่าคิดเข้าข้างลูกตัวเองอย่างเดียว เพราะเด็กก็จะพูดเข้าข้างตัวเองเสมอ พฤติกรรมการแกล้งเพื่อนนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และหากปล่อยไป เด็กก็จะทำตัวเป็นคนที่น่ารังเกียจของสังคม หรือมีอนาคตอยู่ในเรือนจำ (นี่เป็นเรื่องซีเรียส)

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สำหรับพ่อแม่ของเด็กที่โดนเพื่อนแกล้งบ่อย ๆ

สำหรับพ่อแม่ของเด็กที่โดนเพื่อนแกล้งบ่อย ๆ

หลาย ๆ ครั้ง ลูกของคุณ โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย จะไม่บอกว่าโดนเพื่อนแกล้งบ่อย ๆ เพราะการบอกว่าโดนเพื่อนแกล้งแสดงถึงความอ่อนแอ คุณจำเป็นต้องสังเกตอาการ ดังนี้

– แยกตัวออกจากเพื่อน

– มีความเครียด กังวล หงุดหงิดง่าย

– ก้าวร้าวเวลาอยู่ที่บ้าน

– ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

– ฝันร้าย

– ทานอาหารเยอะ หรือน้อย ผิดปกติ

– ไม่อยากไปโรงเรียนและผลการเรียนแย่ลง

– ไม่อยากร่วมสังคมเลย ไม่ไปไหนกับเพื่อน

– หากโดนแกล้งผ่านสังคมออนไลน์ (Cyber bullying) จะไม่อยากใช้มือถือหรือเทคโนโลยีใด ๆ เลย

– มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

ไม่อยากร่วมสังคมเลย ไม่ไปไหนกับเพื่อน

สิ่งที่คุณควรทำ

– คุยกับลูกอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคอยถามลูกว่าที่โรงเรียนเป็นยังไงบ้างบ่อย ๆ

– ช่วยลูกแก้ปัญหา บอกลูกว่าต้องทำยังไง โดยให้สมมุติเหตุการณ์ขึ้นมาซ้อมกันไว้

– ใช้เทคโนโลยีสังคมออนไลน์ไปกับลูก (ถ้าเป็นการโดนแกล้งผ่านสังคมออนไลน์)

– ให้ลูกหาเพื่อนที่ดีไว้เยอะ ๆ

– บอกลูกให้คอยช่วยเพื่อนคนอื่นที่โดนแกล้ง เวลาเราโดนแกล้งเขาจะได้ช่วยเรา แต่อย่าส่งเสริมให้ลูกเป็นคนไปแกล้งคนอื่น!

– คุยกับครูบ่อย ๆ คอยบอกให้ครูที่โรงเรียนหมั่นสังเกต ป้องกันการกลั่นแกล้งของนักเรียน

พญ. ชาคริยา ธีรเนตร

ส่วนหนึ่งบทความนี้รวบรวมมาจากการบรรยายภาษาอังกฤษที่จัดทำโดย International Parenting Network โดยพญ. ชาคริยา ธีรเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ พัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เลี้ยงลูกด้วยความเข้าใจ และมีขอบเขต ประสบการณ์เลี้ยงลูก ฉบับแม่ออม ปริณดา 

มุมมองการเลี้ยงลูก แบบหมอ ๆ จากคุณแม่นุ่น เป็นหมอทั้งบ้าน จัดสรรเวลา ให้ลูกยังไง

7 วิธี เลี้ยงลูกในช่วง Covid-19 เลี้ยงลูกยังไงให้มีความสุขในช่วงไวรัสระบาด