ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ เจ็บท้องน้อย ปวดจี๊ด จะเป็นอันตรายหรือไม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการเจ็บบริเวณท้องน้อย ขณะตั้งครรภ์ หรือ ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งการปวดบริเวณท้องน้อย แบบจี๊ด ๆ หน่วย ๆ  อาการปวดนี้มักจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มคุณแม่ที่มักจะเกิดอาการดังกล่าวในช่วงไตรมาสแรก เป็นเพราะสาเหตุอะไร แล้วอาการดังกล่าว จะเป็นสัญญาณอันตรายถึงโรคร้ายหรือไม่ แล้วเราจะสามารถรักษาอาการนี้ให้หายได้อย่างไร มาดูกันค่ะ

 

 

ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ เป็นเพราะอะไร?

ปวดอุ้งเชิงกรานปวดท้องจี๊ด ๆ ท้องน้อย ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ จะอยู่บริเวณใต้สะดือ ซึ่งเป็นที่อยู่ของอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ มดลูก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ และช่องคลอด ซึ่งอาการปวดตรงช่วงท้องน้อยนั้น จะเป็นอาการปวดแบบหน่วง ๆ หรือปวดแบบจี๊ด ๆ คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน โดยอาการปวดดังกล่าว จะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ และจะค่อย ๆ อาการปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะหายไปเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก

 

 

คนท้องปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์

อาการปวดอุ้งเชิงกราน ขณะตั้งครรภ์ ปวดท้องจี๊ด ๆ  ปวดหน่วงมดลูกตั้งครรภ์ ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ ท้องแล้วปวดท้องน้อย ที่เกิดกับคนท้อง อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. ปวดท้องน้อยหน่วง ๆ การเปลี่ยนแปลงของมดลูก

เมื่อตั้งท้อง มดลูกของคุณแม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเกิดการเกร็งตัว เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเด็กทารก ซึ่งคุณแม่หลาย ๆ ท่านมักจะรู้สึกปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่สอง อาการ ปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ ดังกล่าวก็จะหายไป ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลใจ เพราะอาการปวดที่เกิดจากการที่มดลูกขยายตัว เกิดขึ้นได้กับคนท้องทุกคน

 

2. ปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ เสี่ยง ท้องนอกมดลูก

ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่รู้สึกปวดท้องน้อย หรือ ปวดท้องจี๊ด ๆ ที่ข้างใดข้างหนึ่งอย่างรุนแรง ปวดแบบเฉียบพลัน และปวดมากถึงขนาดจะเป็นลม พร้อม ๆ กับมีเลือดไหลในช่องคลอดกะปริบกะปรอย ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพราะอาการเหล่านี้ อาจบ่งบอกได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

โดยทั่วไปแล้ว ปวดท้องน้อยจี๊ด ๆ  ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ อาการปวดนี้ จะเกิดจากการที่ตัวอ่อน ได้ไปฝังตัวอยู่นอกโพรงมดลูก หากปล่อยไว้จะทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตนอกมดลูกได้ จนอาจทำให้อวัยวะนั้นฉีกขาด มีเลือดออกในช่องคลอด และเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ซึ่งคนที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศ อุ้งเชิงกรานอักเสบ เคยเข้ารับการผ่าตัดทางช่องท้อง เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน รวมทั้งคนที่ชอบสูบบุหรี่ เคยใช้ถุงยางคุมกำเนิด และคนที่ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงท้องนอกมดลูกมากกว่าคนอื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง : เบื่อมาก!! ปวดหลังปวดท้อง หนาวใน ไม่มีนมให้ลูก ขอเคล็ดลับ ฟื้นฟูร่างกายแม่ ด่วน!

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ปวดหน่วงมดลูกตั้งครรภ์ อาจนำไปสู่แท้งลูก

ปวดอุ้งเชิงกรานขณะตั้งครรภ์ เป็น ๆ หาย ๆ ตั้งครรภ์ คุณแม่ที่แท้งลูก จะมีเลือดหรือมูกปนเลือด ไหลออกมาทางช่องคลอด จะรู้สึกปวดท้องน้อย ปวดท้องจี๊ด ๆ  ปวดหลังอย่างมาก รวมทั้งน้ำหนักตัวลด มดลูกแข็งตัวหรือบีบตัวบ่อย ท้องมีขนาดเล็กลง หรือท้องไม่โตขึ้นเลย นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตึงคัดเต้านม เป็นต้น ซึ่งภาวะแท้งบุตรมักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ประมาณ 4 – 20 สัปดาห์ ปวดท้องน้อยขณะตั้งครรภ์ 4 เดือน หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ ให้รีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน

 

4. ปวดท้องหน่วง ๆ ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ภาวะแทรกซ้อนของ อุ้งเชิงกรานอักเสบ

ปวดท้องน้อยด้านขวา จี๊ด ๆ ตั้งครรภ์ โรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรืออุ้งเชิงการอักเสบ สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องหรือเหมาะสม โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่มักพบจากโรคนี้ มีดังต่อไปนี้

 

  • โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยบางคนอาจเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบ ไม่รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือมีคู่นอนที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่ได้รับการตรวจ หรือรักษา หรืออาจจะเกิดจากกรณีที่รังไข่ หรือท่อรังไข่ เคยอักเสบแล้วติดเชื้ออีก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะใช้ชีวิตได้ยากขึ้น เพราะอาจต้องรับมือกับอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น นอนไม่หลับ เป็นซึมเศร้า เป็นต้น ซึ่งการรับประทานยาแก้ปวดอย่างยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน จะช่วยบรรเทาอาการได้เบื้องต้น แต่หากรับประทานแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและทำการรักษา

 

  •  ฝี

โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ อาจทำให้เกิดฝีได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งฝีมักจะขึ้นที่บริเวณท่อนำไข่และรังไข่ โดยผู้ป่วยที่เป็นฝีจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และในบางกรณี อาจต้องผ่าตัดเพื่อระบายน้ำหนองออกจากฝี

 

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบและเป็นฝีในท่อนำไข่ อาจมีบุตรได้ยากขึ้น เนื่องจากไข่จะไม่สามารถผ่านเข้าไปในมดลูกได้ หากได้รับการรักษาล่าช้า ก็จะยิ่งทำให้มีลูกยากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายขาดจากโรค สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้ตามปกติ ซึ่งโรคนี้ จะสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อคุณแม่ ปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่มีอาการปวดท้องน้อย คนท้องเจ็บท้องน้อย ปวดท้องหน่วง ๆ ตั้งครรภ์อ่อน ๆ แนะนำให้ดูแลตัวเองด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

  • ให้นอน หรือนั่งพักทันที เมื่อมีอาการปวดท้องน้อย และยกขาสูง เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น เพราะบางครั้ง อาการปวดท้องน้อย ก็เกิดจากการยืนหรือเดินมากเกินไป 
  • ออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการเดินเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ และเล่นโยคะสำหรับคนท้อง เพื่อช่วยให้หน้าท้องและหลังแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดีขึ้น   
  • ไม่ออกแรงยกของหนัก จามแรง ๆ หรือเอี้ยวตัวหยิบของระยะไกล เพราะจะทำให้หน้าท้องเกร็ง จนรู้สึกปวดท้อง
  • ในขณะที่นอน ให้วางหมอนหนุนท้องและขาเอาไว้ เพื่อช่วยพยุงน้ำหนัก และทำให้ผ่อนคลายมากขึ้น
  • ใช้หมอนหลาย ๆ ใบหนุนหลังในขณะที่กำลังนั่ง
  • ใช้มือลูบหน้าท้อง การลูบหน้าท้องจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดีมาก ๆ โดยก่อนลูบให้นำมือสองข้างมาถูกกันจนรู้สึกอุ่น ๆ ก่อน แล้วมาลูบหน้าท้องเบา ๆ จนอาการปวดทุเลาลง

 

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์ทันที

  • ปัสสาวะแสบขับ ไม่สุด ปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะ
  • มีอาการคันบริเวณช่องคลอด
  • ตกขาวมีกลิ่น หรือสีที่แปลกไปจากเดิม
  • นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก
  • ปวดหลังมาก
  • เป็นตะคริว
  • มีอาการชาปลายมือหรือปลายเท้า
  • จุกแสบลิ้นปี่ หรือมีอาการแสบร้อนที่อก หรือลำคอหลังรับประทานอาหารหรือเวลานอน

 

ทำไมคุณแม่ผ่าคลอดยุคนี้ ถึงไม่ต้องกังวลเรื่องสุขภาพของลูกผ่าคลอดมากจนเกินไป เข้ามาอ่าน หรือแชร์ประสบการณ์ของเหล่าคุณแม่ผ่าคลอดด้วยกันได้ที่ คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club)

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการปวดท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

ปวดท้องด้านซ้ายระหว่างตั้งครรภ์ เกิดจากสาเหตุ อันตรายไหม?

ปวดท้องหลังคลอด ปวดมดลูกหลังคลอดเกิดจากอะไร มีวิธีลดอาการปวดไหม

ที่มา : pobpadhealth.kapook

บทความโดย

Khunsiri