ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม
ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม ลูกป่วยทั้งที พ่อแม่มักจะสงสารลูก ไม่อยากเก็นลูกต้องมาเจ็บมาป่วยแบบนี้นานๆ อยากให้ลูกหายป่วยเร็วๆ โดยเฉพาะหวัด เพราะว่าโรคหวัดมักเป็นหนึ่งในอาการที่ลูกน้อยป่วยบ่อยมาก และก็เป็นนานกว่าจะหาย บางทีก็มีอาการไข้ร่วมด้วยอีก แล้วแบบนี้พ่อแม่ต้องทำอย่างไรให้ลูกหายป่วย
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นหวัด
พ่อแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกป่วยเป็นไข้หวัดหรือไม่ ให้ดูจากอาการไอ จาม และน้ำมูกไหล โดยเฉพาะน้ำมูกค่ะ หากน้ำมูกเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว หรือเป็นแห้งเป็นสีเหลือง สีเทา เป็นหวัดนานกว่า 1 สัปดาห์ ไม่หายสักที บางคนเป็นไข้ร่วมด้วยค่ะ และคอยดูว่าเด็กมีอาการเซื่องซึมหรือไม่ ทานอาหารบ้างหรือเปล่า หรือว่ามีอาการเบื่ออาหาร เป็นต้นค่ะ
ลูกเป็นหวัดอาบน้ำสระผมได้ไหม
เวลาที่ลูกป่วย ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม พ่อแม่คงกังวลว่าลูกจะอาบน้ำได้หรือเปล่านะ กี่วันถึงจะหาย เด็กยางคนที่แข็งแรงหน่อยแปปเดียวก็หายแล้ว แต่กับเด็กบางคนที่ป่วยง่าย ป่วยแต่ละครั้งก็ใช่เวลานานหลายวันหรือหลายสัปดาห์เลยทีเดียว โดยเฉพาะหวัดที่มักจะใช้เวลานานกว่าจะหายด้วย จากเพจของคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ได้อธิบายไว้ว่า เวลาที่ลูกเป็นหวัด พ่อแม่สามารถอาบน้ำให้ลูกได้ค่ะ แต่ไม่ควรให้ลูกอาบน้ำนานๆ หรือเล่นน้ำนานๆ เพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมค่ะ
ลูกเป็นหวัดอาบน้ำได้ไหม หากลูกเป็นไข้หวัดอยู่ พ่อแม่อาจใช้วิธีการเช็ดตัวด้วยการใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิธีการเช็ดตัวก็ให้เช็ดตัวย้อนทิศทางการไหลเวียนเลือด ด้วยเน้นเอาผ้าชุบน้ำแล้วเอามาวางไว้บริเวณซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ ทิ้งไว้ราวๆ 10-15 นาทีเพราะจะทำให้ช่วยดึงเอาความร้อนในร่างกายของตัวลูกน้อยออกมาได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ และในระหว่างที่คุณแม่ทำการเช็ดตัวลูกแนะนำให้ปิดพัดลมหรือปิดแอร์ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่หนาวสั่นค่ะ เช่นเดียวกันพ่อแม่สามารถให้ลูกอาบน้ำได้แต่อย่านาน ส่วนการสระผมถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยงไปก่อน
ลูกป่วยเป็นหวัดควรดูแลอย่างไร
อาการของโรคหวัดมักะหายไปเองภายในไม่เกิน 7-10 วัน แต่หากลูกมีอาการอื่นร่วมด้วยควรรีบไปหาหมอ เช่น ไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ไอไม่หยุด หายใจลำบาก ซึม ไม่ทานนมหรือไม่อยากอาหาร และอาเจียน สำหรับวิธีการดูแลเด็กที่ป่วย มีดังต่อไปนี้
- ให้ลูกน้อยจิบน้ำบ่อย ๆ อาจเป็นน้ำอุ่น หรือน้ำมะนาวผสมเจือจาง
- กินยาลดน้ำมูกเท่าที่จำเป็น เช่น หากน้ำมูกเริ่มลดลงก็หยุดได้ เพราะยิ่งกินนานเสมหะจะเหนียว ทำให้เสลดอุดทางเดินหายใจได้
- กรณีที่เป็นเล็ก อายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้ที่ดูดน้ำมูกร่วมกับการหยดน้ำเกลือ ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรใช้ลูกยางดูดน้ำมูกออกไป แต่ถ้าลูกยางมีขนาดใหญ่เกินไปอาจใช้กระบอกฉีดยาได้
- กรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 4 เดือนขึ้นไป อาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการไข้จากหวัดได้ แต่ไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไปมาใช้เอง คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง
- หากลูกมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ไออย่างต่อเนื่อง หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น อาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคปอดบวมได้ จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หากเด็กมีอาการดังกล่าว
- ให้ลูกนอนในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี ควรทำห้องให้ชื้น หรือตั้งอ่างไว้ใต้เครื่องปรับอากาศเพื่อให้น้ำระเหย จะทำให้ลูกหายใจได้คล่องขึ้น
- ยกศีรษะลูกให้สูงเวลานอนโดยใช้หมอนหนุนใต้ที่นอน เพื่อช่วยให้ลูกหายใจสะดวกขึ้น
- ใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น ยูคาลิปตัส หรือ เมนทอล หยดไว้ข้างหมอนหรือบนเสื้อผ้าของลูก เพื่อช่วยให้ลูกหายใจได้คล่องขึ้นตอนนอน
ที่มา: pobpad
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ล้างจมูก วิธีล้างจมูกให้ลูก ลูกป่วยภูมิแพ้ เป็นหวัด มีน้ำมูก ล้างจมูกให้ลูกโล่ง ช่วยให้ทารกหายป่วยไว
โรคในทารกแรกเกิด โรคที่พบบ่อย ทารก 0-1 ปี ปัญหาทารกแรกเกิดที่พบบ่อย การแก้ไขเบื้องต้น
8 เทคนิคสยบ เด็กงอแง อาละวาด เอาแต่ใจ