เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่

แม่สงสัยเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่ แม่ต้องยื่นยังไง พ่อยื่นแทนได้ไหม มีเงื่อนไขอย่างไร แล้วจะได้เงินส่วนไหนบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่

คำถามที่แม่ ๆ ถามกันบ่อย คือ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรคือตัวเดียวกันหรือไม่ ขอตอบตรงนี้เลยว่า อยู่คนละส่วนกันค่ะ แล้วก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันด้วย

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด มีเงื่อนไขว่า เด็กที่มีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ต้องเป็นเด็กสัญชาติไทย บิดาและ/หรือมารดามีสัญชาติไทย อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน และไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

นั่นหมายความว่า ต้องไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม

ครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน

หมายถึง ครัวเรือนที่สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 3,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน หรือต่ำกว่า 36,000 บาท ต่อคน ต่อปีโดยนํารายได้ของสมาชิก ทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจํานวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว ซึ่งรวมเด็กแรกเกิดด้วย

สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุน ปีงบประมาณ 2560

หญิงตั้งครรภ์ต้องมีกําหนดคลอดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 สามารถยื่นลงทะเบียนไว้ก่อนได้ (หากการคลอดบุตรในภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ให้ถือว่าสิทธิ์ที่ลงทะเบียนไว้ถูกระงับไปโดยปริยาย)

รับลงทะเบียนตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2559 เป็นต้นไป จะสิ้นสุดการลงทะเบียนวันที่ 30 กันยายน 2560 ไม่รับลงทะเบียนย้อนหลัง ให้ลงทะเบียนตามระยะเวลาที่กําหนดเท่านั้น

สถานที่รับลงทะเบียน

  • ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนสำนักงานเทศบาลหรือที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบล
  • เมืองพัทยา : ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียน ณ สำนักงานเขต

เอกสารหลักฐานประกอบการลงทะเบียน มีดังนี้

  1. แบบลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ฯ (แบบ ดร. 01)
  2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (แบบ ดร. 02)ที่ได้รับการรับรองแล้ว
  3. สำเนาบัตรประจําตัวประชาชนของหญิงตั้งครรภ์หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ
  4. สำเนาเอกสารแสดงการฝากครรภ์หรือ สําเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
  5. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด (ยื่นหลังคลอด)
  6. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย (กรณีประสงค์รับเงินผ่านบัญชีธนาคาร)

การจ่ายเงิน 600 บาท จะเริ่มจ่ายเมื่อใด

เด็กที่เกิดปีงบประมาณ 2560 จะได้รับเงิน 600 บาท ตั้งแต่เดือนที่เกิดเป็นต้นไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

* เด็กที่ได้รับสทธิ์เงินอุดหนุนจะได้รับเงินอุดหนุน ตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี (36 เดือน)

ข้อมูลเพิ่มเติม : หากหญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรแล้ว ปรากฏว่าเป็นลูกแฝด จะได้รับสิทธิ์เท่าจานวนของเด็กที่เกิดมา

 

อ่านเงื่อนไข เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม หน้าถัดไป

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สิทธิประกันสังคม

แม่ท้องหรือคุณแม่ตั้งครรภ์ จะได้รับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ด้วยการจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร ในกรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

ผู้ประกันตนหญิง หรือคุณแม่ตั้งครรภ์

เบิกกรณีคลอดบุตรจะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 13,000 บาทต่อครั้ง เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (คิดจากฐานค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ฐานสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

ทั้งนี้ การใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

แต่หากมีอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ต่อมาแท้งบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรได้ เนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ไม่ว่าทารกจะมีชีวิตรอดหรือไม่ถือเป็นกรณีคลอดบุตร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ผู้ประกันตนชาย หรือสามี

สามารถเบิกค่าคลอดบุตรให้ภรรยาได้ แต่ต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร โดยผู้ประกันตนชายจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรจำนวน 13,000 บาท และถ้าสามีภรรยาอยู่กินกันโดยเปิดเผย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยในการยื่นคำขอให้ใช้หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสแทนทะเบียนสมรส ในกรณีที่สามีเป็นผู้ประกันตนและมีภรรยาเพียงคนเดียว

อ่านเพิ่มเติม เช็คเลย! เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้ เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร

สิทธิประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร

หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

  • หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
  • สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน

เงื่อนไขที่ได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น)
  • ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

การหมดสิทธิรับเงินกรณีสงเคราะห์บุตร

  • เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์
  • บุตรเสียชีวิต
  • ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ไขข้อข้องใจกันไปแล้วว่า เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดกับเงินสงเคราะห์บุตรนั้นเป็นคนละส่วนกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปดูเงื่อนไขและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้านล่างค่ะ

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

กองทุนประกันสังคม กรณีสงเคราะห์บุตร

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พ่อกับแม่ใครมีสิทธิในตัวลูกมากกว่ากัน

เบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม ได้มั๊ยถ้าพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียน??!! ฟังชัดๆ จากประสบการณ์คุณแม่

บ้านไหนมีหนี้เตรียมเฮ! รัฐเปิด คลีนิกแก้หนี้ ช่วยปลดหนี้สูงสุด 2 ล้าน!

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya