เด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอดนั้น ฉลาดกว่าจริงหรือไม่ เรามาดูกันเลย
โดยปกติผู้หญิงท้องจะคลอดลูกเองตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีอีกหนึ่งวิธี คือ การผ่าคลอด (Caesarean Section หรือ C-Section) โดยการผ่าคลอดจะเกิดขึ้นในกรณีที่สภาพร่างกายของผู้เป็นแม่ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลอดเองตามธรรมชาติ จึงต้องมีการผ่าคลอดเพื่อรักษาชีวิตของเด็กไว้ และเพื่อความปลอดภัยของผู้เป็นแม่ หรือคุณแม่อาจตัดสินใจเลือกทำการผ่าคลอดได้ด้วยตนเองภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์
การผ่าคลอด ทำอย่างไร ?
การผ่าคลอด เป็นการทำคลอดด้วยการผ่าตัดบริเวณหน้าท้อง แพทย์จะกรีดผ่านชั้นผิวหนังเหนือหัวหน่าวลงไป เมื่อผิวหนังเปิดจึงผ่าตัดส่วนที่เป็นมดลูกแล้วนำทารกออกมาโดยแพทย์จะประคองนำส่วนหัวของเด็กออกมาก่อน
ในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะให้ยาชากับผู้เป็นแม่แล้วกั้นผ้าม่านบังตั้งแต่ช่วงล่างของลำตัวลงไป ตลอดการผ่าตัดคุณแม่จะรู้สึกตัวแต่ไม่รู้สึกเจ็บปวด คุณแม่จะได้เห็นวินาทีที่ลูกน้อยออกมาจากครรภ์ และขั้นตอนการผ่าตัดทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที-1 ชั่วโมง
ทำไมต้องผ่าคลอด ?
คุณแม่บางท่านเลือกที่จะผ่าคลอด เพราะสามารถวางแผนเตรียมการล่วงหน้ากับสูติแพทย์ได้ การผ่าตัดจะเป็นไปตามขั้นตอน ลดความเสี่ยงจากอันตรายไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ดึงตัวเด็กออกมาทางช่องคลอด ลดผลข้างเคียงจากการคลอดตามธรรมชาติ และยอมเจ็บปวดด้วยแผลผ่าตัดแทนการทนเจ็บปวดจากการเบ่งคลอดเอง
อีกกรณี คือ แพทย์ลงความเห็นว่าคุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องผ่าคลอด ทั้งผ่าคลอดที่วางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า และผ่าคลอดด้วยความจำเป็นที่เด็กต้องคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
- ปากมดลูกไม่เปิดหรือเปิดน้อย
- คุณแม่อุ้มท้องเด็กมากกว่า 1 คน
- ขนาดและท่าของเด็กในท้องไม่เอื้อต่อการคลอดตามธรรมชาติ เช่น เด็กหมุนตัวเอาส่วนเท้าหรือก้นมาอยู่ที่ปากมดลูก
- เด็กในท้องอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตราย เช่น ขาดออกซิเจน สัญญาณชีพจรไม่คงที่
- มีเส้นเลือดหรือก้อนเนื้ออุดตันบริเวณช่องคลอด
- ภาวะรกเกาะต่ำ รกไม่เคลื่อนไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการคลอด
- ภาวะสายสะดือย้อย หรือสายสะดือโผล่
- คุณแม่มีปัญหาสุขภาพ ป่วยด้วยโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย เช่น โรคหัวใจ การติดเชื้อ HIV
ทุกวันนี้ยังไม่มียืนยันอย่างเป็นทางการถึงเรื่องดังกล่าวว่า ลูกที่เกิดจากการผ่าคลอดนั้น จะฉลาดกว่าลูกที่เกิดจากการคลอดธรรมชาติ เพียงแต่ที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยออกมาว่าการผ่าคลอดนั้นอาจจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กทารก และอาจทำให้เด็กมีสมาธิสั้นซึ่งจะส่งผลทำให้เด็กไม่สามารถทำอะไรให้เสร็จสมบูรณ์ได้ อีกทั้งเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นจะทำตามคำสั่งหรือประมวลข้อมูลได้ลำบากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
โปรตีนที่มีชื่อว่า Ucp2 มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการทางสมองและควบคุมระบบปราสาทนั้นสามารถสร้างมาได้จาก ฮิปโปแคมพัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมอง และเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะเป็นสมองที่เกี่ยวกับระบบความจำและพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งโปรตีนชนิดนี้จะมีอยู่ในเด็กที่คลอดตามธรรมชาติมากกว่าเด็กผ่าคลอดครับ
ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ
ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก
การผ่าคลอดอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีกว่าการคลอดธรรมชาติสักเท่าไร เพราะเด็กที่เกิดจากการผ่าคลอดอาจมีปัญหาด้านสุขภาพหลายอย่างตามมาภายหลังได้ เช่น
1.ปัญหาทางการหายใจ
การผ่าคลอดอาจทำให้เด็กแรกเกิดไม่สามารถปรับการหายใจให้ปกติได้ ซึ่งเกิดจากการที่ไม่สามารถรีดน้ำอยู่ที่ในปอดออกได้หมด จึงทำให้หายใจเร็ว แพทย์ต้องเพิ่มออกซิเจน เพื่อช่วยในการหายใจ
2.เสี่ยงต่อโรคหอบหืด
มีข้อมูลยืนยันจากการวิจัยในบางประเทศเช่นเนเธอร์แลนด์และนอร์เวย์ ว่าเด็กที่เกิดจากการผ่าคลอด มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหอบหืดในอนาคต แบคทีเรียบางชนิดถูกพบในลำไส้ของเด็กหลังการผ่าคลอดซึ่งอาจจะนำไปสู่อาการแพ้และโรคหอบหืดได้
3.ปัญหาเรื่องการกินนมแม่
ปัญหาเรื่องการกินนมเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กที่เกิดจากแม่ผ่าคลอด บางครั้งยาที่ใช้ในการผ่าตัดนั้นอาจส่งผลทำให้ลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการดูดนมแม่ได้ครับ
ความเสี่ยงจากการผ่าคลอดที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กมีอะไรบ้าง ติดตามต่อหน้าถัดไปครับ
4.เด็กเจ็บป่วยง่าย
เด็กที่เกิดจากการผ่าคลอดจะไม่ได้สัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในช่องคลอดของแม่ ในระยะยาวจะทำให้เด็กป่วยง่าย
ข้อดีของการผ่าคลอด
ในปัจจุบัน เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากอีกทั้งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับวิธีการคลอด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการคลอดธรรมชาติหรือการผ่าคลอดนั้น ต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งข้อดีของการผ่าคลอดอาจมีดังนี้
- คุณแม่สามารถกำหนดวันและเวลาที่ชัดเจนในการคลอดได้
- ไม่ต้องรอให้ปวดท้องคลอดก็สามารถผ่าตัดคลอดได้
- เจ็บปวดในระหว่างการคลอดน้อยกว่าการคลอดธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ การผ่าคลอดมีความปลอดภัยขึ้นมาก ซึ่งหากคุณต้องผ่าคลอดจริงๆ ก็อาจขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยได้ครับ
ความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการผ่าคลอดต่อคุณเเม่
การผ่าคลอดเป็นการผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ใกล้เคียงกับมดลูกได้ ดังนี้
- ร่างกายอ่อนเพลียจากการเสียเลือดมาก การผ่าตัดจะทำให้เสียเลือดมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ
- ผลกระทบจากยาชา ในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาชา เช่น อาการปวดหัวรุนแรงหลังฟื้นตัวหลังการคลอด
- การอักเสบและติดเชื้อ ทั้งการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด และบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เป็นไข้ มีกลิ่นเหม็นออกมาจากช่องคลอด และเจ็บปวดขณะปัสสาวะ
- การเกิดแผลหรือการบาดเจ็บที่อวัยวะใกล้เคียง เช่น การเกิดแผลที่กระเพาะปัสสาวะ
- การเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขาหรืออวัยวะบริเวณกระดูกเชิงกราน เพื่อป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะคอยกระตุ้นให้คุณแม่ลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถหลังคลอด ซึ่งจะทำให้กระเทือนต่อแผลผ่าตัด สร้างความเจ็บปวดหลังยาชาหมดฤทธิ์
- เพิ่มความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป รอยแผลผ่าตัดบริเวณมดลูกอาจฉีกขาด เสี่ยงต่อการเกิดมดลูกแตกในขณะตั้งครรภ์
ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่คลอดออกมา พบว่าทารกที่คลอดโดยการผ่าคลอดก่อนอายุครบ 39 สัปดาห์ มักมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เกิดภาวะหายใจเร็วใน 2-3 วันแรกที่คลอด หรือภาวะกดการหายใจในทารกแรกคลอดที่จะทำให้เด็กหายใจลำบาก และเด็กมีความเสี่ยงที่จะเกิดบาดแผลจากการผ่าตัดได้เช่นกัน
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น แพทย์แผนปัจจุบันได้พัฒนาปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายจากการผ่าคลอด อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้น การคลอดเองตามธรรมชาติก็ยังคงเป็นวิธีการคลอดที่ปลอดภัยกว่าสำหรับแม่และเด็ก นอกจากจะมีปัจจัยอื่นที่สนับสนุนให้คุณแม่คลอดด้วยการผ่าคลอด
ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือการปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อยู่เสมอทั้งก่อนและหลังการคลอด เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและลูกรัก
The Asianparent Thailand
เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา momjunction.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
อุ้มลูกอยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้ ใบเตย อาร์สยาม มีอาการ เบบี้บลู หลังคลอดน้องเวทย์มน
บทสวดมนต์คนท้อง คนท้องสวดมนต์ ให้ลูกปลอดภัยตอนคลอด